เชื่อมโยงข้อมูลองค์ความรู้ สู่การสร้างนวัตกรรมสำนักงาน ชลประทาน ที่ 14


บุคคล ชลประทาน ตัวตนคนทำงาน…เอกพงษ์ ฉิ้มพงษ์

เอกพงษ์ ฉิ้มพงษ์

ถ้ามีข้อมูลและองค์ความรู้ เวลาทำงานก็จะสามารถนำออกมาใช้งานได้ทุกเมื่อ หนึ่งในประโยคที่น่าสนใจของ เอกพล ฉิ้มพงษ์ หัวหน้าฝ่ายบริหารจัดการน้ำสำนักงาน ชลประทาน ที่ 14 นักรวบรวมข้อมูลและองค์ความรู้ด้านน้ำชลประทานมาสร้างนวัตกรรมชลประทาน และ เป็นแนวทางในการจัดสรรน้ำให้แก่พี่น้องเกษตรกรพื้นที่ 4 จังหวัดภาคใต้

การทำงานที่ซึมซับจากคุณพ่อ นายเอกพล เล่าว่า หลังจากจบการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาครุศาสตร์อุตสาหกรรม วิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ตนได้เริ่มต้นทำงานที่ บริษัท ไทยโอบายาชิ มีหน้าที่ดูแล ควบคุมงานก่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรม ทำได้ 2 ปีก็ได้เดินตามความฝันเมื่อครั้งเยาว์วัย นั่นคือ การรับราชการที่กรมชลประทาน เฉกเช่นเดียวกับคุณพ่อ

“คุณพ่อผมเป็นนายช่างชลประทาน ก็จะมาเล่าเรื่องการทำงานให้ฟังอยู่ตลอด โดยท่านปฏิบัติงานที่โครงการชลประทานในพื้นที่ภาคใต้ สมัยเด็กเมื่อปิดเทอมช่วงปี 2512 ผมก็จะติดตามไปเห็นการทำงานของท่าน ที่จำได้ดีคือโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาระโนด – กระแสสินธ์ จังหวัดสงขลา ทำให้ได้เห็นถึงความยากลำบากในการทำงานและความยิ่งใหญ่ของเครื่องจักรเครื่องมือที่กรมชลประทานใช้ในการพัฒนาโครงการ ก็เลยมีความรู้สึกว่าเมื่อเป็นผู้ใหญ่อยากทำงานในสังกัดกรมชลประทาน” สร้างนวัตกรรมบริหารจัดการน้ำ

ก้าวแรกในกรม ชลประทาน ของนายเอกพลเริ่มต้นขึ้น

ในปี 2532 ที่ฝ่ายออกแบบเขื่อน 2 สำนักออกแบบวิศวกรรมและสถาปัตยกรรมเป็นการออกแบบเขื่อนขนาดกลางในพื้นที่ภาคอีสาน และ ลงพื้นที่ไปดูว่าเขื่อนที่ออกแบบนั้นมีประสิทธิภาพหรือไม่ เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาปรับปรุงการออกแบบในครั้งต่อไปก่อนจะย้ายมาที่สำนักพัฒนาแหล่งน้ำ 5 ต่อมาในปี 2541

ได้มีโอกาสเข้ามาดูแลเรื่องแผนงานงบประมาณด้านก่อสร้าง และงานพัฒนาแหล่งน้ำโครงการขนาดเล็กใน 14 จังหวัดภาคใต้ กระทั่งปี 2546 – ปัจจุบัน นายเอกพลได้รับบทบาทหัวหน้าฝ่ายบริหารจัดการน้ำ สำนักงานชลประทานที่ 14 ทำหน้าที่บริหารจัดการน้ำใน 4 จังหวัดภาคใต้ ได้แก่ เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และระนอง

ตลอดระยะเวลาเกือบ 30 ปี ที่ทำงานภายใต้สังกัดกรมชลประทาน เขาเล็งเห็นอยู่เสมอถึงความสำคัญในการสั่งสมองค์ความรู้เพื่อใช้ประโยชน์ในการ ทำงาน โดยให้ความสำคัญในเรื่องการติดตามข้อมูลสถานการณ์น้ำ รวมทั้งคิดค้นนวัตกรรมต่าง ๆ มากมาย เช่น การรายงานสถานการณ์น้ำผ่านเว็บไซต์การพัฒนาแอปพลิเคชันแสดงสถานการณ์น้ำรายวัน ซึ่งได้ร่วมจัดทำให้แก่สำนักงานชลประทานที่ 14 ทำให้เจ้าหน้าที่สามารถบริหารจัดการน้ำได้รวดเร็ว ฉับไว และมีประสิทธิภาพ ขณะเดียวกันในเรื่องน้ำท่วม น้ำแล้ง ก็ได้มีการนำข้อมูลที่นายเอกพลรวบรวมมาใช้ในการคาดการณ์และติดตามสถาน การณ์น้ำล่วงหน้า เพื่อพร่องน้ำในอ่างเก็บน้ำล่วงหน้าไว้รองรับในช่วงฝนตกหรือในช่วงปริมาณน้ำมาก

นอกจากนี้ยังมีอีกหลากหลายนวัตกรรมจากฝีมือของ นายเอกพล ไม่ว่าจะเป็นวัตกรรมสร้างแบบจำ ลองเตือนภัยที่ลุ่มน้ำบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดย ใช้แอปพลิเคชันในลักษณะเป็น GIS จำลองพื้นที่การเกิดน้ำท่วม เพื่อประเมินและวางแนวทางพิจารณาเรื่องของการวางแผนงานบรรเทาทุกข์ผู้ประสบอุทกภัยนวัตกรรมการใช้ระบบโครงข่ายประสาทเทียมเพื่อคาดการณ์ปริมาณน้ำท่าล่วงหน้ารายวัน ในลุ่มน้ำคลองท่าตะเภา จังหวัดชุมพร ซึ่งสามารถประเมินน้ำท่าล่วงหน้า 1 – 2 วันทำให้ทราบว่าจะต้องเร่งการระบายน้ำในช่วงไหน จะได้ทันต่อเหตุการณ์หากมีอุทกภัยเกิดขึ้น

“จากประสบการณ์การทำงานที่ผ่านมาทำให้ผมมีข้อมูลที่เป็นประโยชน์มากมาย เมื่อนำข้อมูลเหล่านี้มาคิดวิเคราะห์เชื่อมโยงองค์ความรู้ทั้งหมดที่มีเข้าด้วยกันก็จะสามารถนำไปใช้แก้ปัญหาต่าง ๆ ที่กำลังเผชิญอยู่ได้”

สนองนโยบายรัฐ พัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนนายเอกพลบอกอีกว่า นอกจากการทำงานตามบทบาทหน้าที่หลักแล้ว ในช่วง 2 – 3 ปีมานี้ เรื่องการทำงานตามนโยบายของรัฐบาลไม่ว่าจะยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของประชาชน หรือ แม้แต่นโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เช่น เกษตรแปลงใหญ่ และ ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร เขาก็ได้ให้ความสำคัญเดินหน้าปฏิบัติตามอย่างต่อเนื่อง


“ยกตัวอย่าง การติดตามนายเฉลิมเกียรติคงวิเชียรวัฒน์รองอธิบดีฝ่ายวิชาการ กรมชลประทานในสมัยที่ท่านเป็นผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 14 ผมได้ลงพื้นที่ร่วมกับนายบ่อยครั้งเพื่อรับฟังปัญหาและความต้องการของประชาชน

หลังจากนั้นก็นำปัญหามาวิเคราะห์หาแนวทางแก้ไขและเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับภาคประชาชน เช่น โครงการเกษตรแปลงใหญ่ (ข้าว) ที่บ้านหนองเตียน อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี ก็ได้เข้าไปแนะนำช่วยเหลือเกษตรกรจัดหาน้ำสนับสนุน โดย ก่อสร้างสถานีสูบน้ำและระบบกระจายน้ำพร้อมทั้งแนวทางการบริหารจัดการโดยกลุ่มผู้ใช้น้ำ ซึ่งปัจจุบันดำเนินการแล้วเสร็จเป็นที่เรียบร้อย”

ส่วนเรื่องของศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร นายเอกพลเล่าว่า ได้ลงพื้นที่ไปตรวจเยี่ยมประธานและสมาชิกศูนย์เรียนรู้ฯ สอบถามปัญหาและประสานงานกับหน่วยงานราชการต่างๆ เพื่อการดำเนินการที่รวดเร็ว เช่น ประสานงานกับกรมพัฒนาที่ดินให้มาตรวจวัดคุณภาพดินว่ามีความเหมาะสมหรือไม่ขอเมล็ดพันธุ์พืชปรับปรุงดินมาให้เกษตรกร รวมทั้งสร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกรเพื่อยกระดับสู่การเป็น Smart Farmer มุ่งเน้น พัฒนาเกษตรกรให้มีความรู้ความสามารถในการแข่งขันการตลาด
รวมทั้งยังได้จัดเวทีเสวนาขยายผล

เชิญเจ้าหน้าที่กรมชลประทาน กลุ่มผู้ใช้น้ำมารับฟังและนำองค์ความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในพื้นที่ตนเอง ข้อมูลองค์ความรู้คือหัวใจของการทำงาน

ปัจจุบัน นอกจากการทำงานตามภาระหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายแล้ว นายเอกพล ยังมุ่งเน้นการถ่ายทอดองค์ความรู้วิธีการทำงาน
ความรับผิดชอบให้กับรุ่นน้อง ให้สามารถช่วยงานในภาพรวมของสำนักงานชลประทานที่ 14 สามารถมองภาพใหญ่ เข้าใจในนโยบายของผู้บริหาร เพราะ ในช่วงเวลาวิกฤตไม่สามารถรอได้ ต้องมีคนคิดที่วิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลทั้งระบบ และสามารถให้ขอ้ มูลกับผ้บูริหารเพื่อตัดสินใจได้ในเวลาที่รวดเร็ว เพื่อนำพากรมชลประทานให้เดินหน้า

เป็นองค์กรที่มีความมั่นคงด้านน้ำ สามารถให้บริการต่อประชาชนให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน

บุคคลชลประทาน อื่น>>> [คลิก]
ข้อมูลต่างๆของ กรมชลประทาน >>> [คลิก]