วิกฤตปลาทูไทย บทพิสูจน์การทำธุรกิจภายใต้หลัก ESG สู่อนาคตของท้องทะเลไทย
ปลาทูไทย มีลักษณะหางเหลืองอมเทา ไม่มีเส้นเป็นแถบดำที่ด้านหลังและกลางลำตัว ขาดโตเต็มวัยไม่เกิน 22 ซม. ถือเป็นปลาที่คนไทยรู้จักและบริโภคกันมายาวนาน ด้วยปริมาณที่เคยอุดมสมบูรณ์ในท้องทะเลไทยและความง่ายต่อการบริโภค ซึ่งปลาทูไทยไม่เพียงอยู่ในเมนูอาหารสดเท่านั้น แต่ยังถูกแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพื่อเพิ่มมูลค่าและสามารถเก็บรักษาได้นานขึ้น เช่น ปลาทูเค็ม ปลาทูต้มหวาน และน้ำพริกปลาทู อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันปลาทูกำลังเผชิญวิกฤตครั้งใหญ่ เนื่องจากปัจจัย ดังนี้ การจับปลาผิดวิธี – การจับปลาทูในช่วงวางไข่หรือปลาทูที่ยังไม่โตเต็มวัย รวมถึงการใช้อวนตาถี่ขนาดใหญ่ และการเปิดไฟล่อ ซึ่งมักใช้เพื่อจับปลากะตัก แต่ก็ทำให้ลูกปลาทูติดมาด้วย และนาความจริง เรือปั่นไฟเคยถูกห้ามใช้มาแล้วเมื่อปี 2526 ตามประกาศกระทรวงฯ แต่เมื่อปี 2539 กลับมีประกาศให้สามารถใช้วิธีการทำการประมงด้วยวิธีใช้แสงไฟล่อปลาได้เช่นเดิม จนส่งผลกระทบต่อสัตว์น้ำวัยอ่อน เหล่านี้ทำให้วงจรชีวิตของปลาถูกที่จะสามารถแพร่พันธุ์ได้ต่อไปกลับถูกขัดขวาง ส่งผลให้จำนวนปลาทูลดลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งร่างการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 ที่กำลังจะเกิดขึ้นนี้ ก็จะเป็นอีกบทพิสูจน์การขับเคลื่อนนโยบายความยั่งยืนทางทะเลของประเทศไทย การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ – สภาวะโลกร้อนที่ทำให้อุณหภูมิของน้ำทะเลที่สูงขึ้นส่งผลต่อแหล่งอาหารและการวางไข่ของปลาทู การทำลายแหล่งที่อยู่อาศัย – การขยายตัวของเมืองและอุตสาหกรรมทำให้พื้นที่ธรรมชาติของปลาทู เช่น ป่าชายเลนและปากแม่น้ำถูกทำลาย ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อระบบนิเวศในทะเลไทย สัตว์น้ำที่เคยพึ่งพาปลาทูเป็นอาหารเริ่มอพยพไปยังแหล่งอื่น ระบบนิเวศที่เคยสมบูรณ์จึงเสื่อมโทรมและต้องการการฟื้นฟูอย่างเร่งด่วน มลพิษทางทะเล – ขยะพลาสติกและมลพิษในทะเลส่งผลโดยตรงต่อคุณภาพชีวิตและจำนวนประชากรของปลาทู […]