ร่างกฏหมาย “รับผิดชอบสินค้าชำรุดบกพร่อง” มีเงื่อนไขอะไรที่คนทำธุรกิจต้องทำบ้าง
หลังจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 22 พ.ย.65 ได้ไฟเขียว (ร่าง) กฎหมายให้ผู้ประกอบการ “รับผิดชอบสินค้าชำรุดบกพร่อง” ให้กับผู้ซื้อสินค้า ดังนั้น Smarsme จะพามาดูรายละเอียดของ (ร่าง) กฎหมายดังกล่าวว่ามีอะไรบ้าง ธุรกิจไหนเข้าข่ายต้องปฏิบัติมาดูกัน ร่างกฎหมายดังกล่าว เป็นการกำหนด “ความรับผิดของผู้ประกอบการธุรกิจ” ในความชำรุดบกพร่องของสินค้าประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ รถยนต์ส่วนบุคคลและรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล รวมถึงสินค้าอื่นที่อาจกำหนดตามพระราชกฤษฎีกา โดยผู้ประกอบธุรกิจต้องรับผิดเพื่อความชำรุดบกพร่องของสินค้าอันเป็นเหตุให้เสื่อมราคาหรือเสื่อมความเหมาะสม ภายในระยะเวลา 2 ปี นับแต่วันส่งมอบสินค้า ไม่ว่าผู้ประกอบธุรกิจจะรู้ถึงความชำรุดบกพร่องของสินค้าหรือไม่ก็ตาม โดยกรณีสินค้าชำรุดบกพร่องภายใน 1 ปี นับแต่วันส่งมอบสินค้า ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าสินค้านั้น ชำรุดบกพร่องในเวลาส่งมอบสินค้า กรณีผู้ประกอบธุรกิจเป็น “ผู้ติดตั้งหรือประกอบสินค้า” หรือกรณี “ผู้บริโภคประกอบสินค้า-ติดตั้งตามคู่มือ” ที่ผู้ประกอบธุรกิจจัดให้ แต่คู่มือนั้นกำหนดวิธีติดตั้งหรือประกอบสินค้า “ไม่ถูกต้องหรือครบถ้วน” ผู้บริโภคสามารถดำเนินการได้ ดังนี้ – เรียกให้ผู้ประกอบธุรกิจซ่อมแซมสินค้า– เรียกให้ผู้ประกอบธุรกิจเปลี่ยนสินค้า– ขอลดราคาสินค้า หรือเลิกสัญญา การใช้สิทธิดังกล่าวไม่กระทบต่อสิทธิในการเรียกค่าเสียหายอื่นจากผู้ประกอบธุรกิจ และกรณีที่ “ทำข้อตกลงไว้ล่วงหน้า” ซึ่งแตกต่างจากที่ พ.ร.บ. นี้กำหนด และเป็นผลเสียต่อผู้บริโภคให้ถือว่าเป็นโมฆะ อย่างไรก็ตาม […]