AI

มองความพร้อมของประเทศไทย กับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี AI ในองค์กร

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA (เอ็ตด้า) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ร่วมกับ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จัดแถลงผลการศึกษาความพร้อมในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI)สำหรับบริการดิจิทัลอย่างมีธรรมาภิบาล เผย 5 ด้านสำคัญที่ใช้ในการประเมินความพร้อมขององค์กร และนำไปสู่แนวทางการส่งเสริมให้เกิดการประยุกต์ใช้งานเทคโนโลยีในภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม ที่สอดคล้องกับบริบทของประเทศไทย พร้อมเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากทุกภาคส่วน ได้ร่วมให้ข้อคิดเห็นในประเด็นต่างๆ

 

มองความพร้อมของประเทศไทย กับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี

 

ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด ที่ปรึกษาอาวุโส ETDA กล่าวว่า ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI เป็นเทคโนโลยีที่มีบทบาทต่อทุกกิจกรรม ทั่วโลกต่างให้ความสำคัญและเร่งพัฒนานโยบายเพื่อขับเคลื่อนเรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง โดยประเทศไทยเอง วันนี้เรามี “แผนปฏิบัติการด้านปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (พ.ศ. 2565- 2570)” ที่เป็นกรอบในการดำเนินงานของทุกภาคส่วนเพื่อส่งเสริมให้ประเทศเกิดประยุกต์ใช้  อย่างมีประสิทธิภาพ สู่การยกระดับเศรษฐกิจดิจิทัลและคุณภาพชีวิตของประชาชน ผ่านยุทธศาสตร์ที่สำคัญ 5 ด้าน ครอบคลุมทั้งเรื่อง หลักจริยธรรมและธรรมาภิบาล  การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน, การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม, การเพิ่มศักยภาพของคนและ การส่งเสริมให้เกิดการประยุกต์ใช้งาน เป็นต้น ดังนั้น ETDA ในฐานะหน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญในการร่วมผลักดันให้คนไทยเกิดการประยุกต์ สอดคล้องตามหลักจริยธรรมและธรรมาภิบาล จึงได้ร่วมกับ สวทช. โดย เนคเทค เดินหน้าโครงการศึกษาความพร้อมในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ สำหรับบริการดิจิทัลอย่างมีธรรมาภิบาล เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ถึงสถานการณ์ความพร้อมของการประยุกต์ใช้ ใน 10 กลุ่มอุตสาหกรรม ในมิติที่สอดคล้องตามยุทธศาสตร์ 5 ด้านข้างต้น ซึ่งจะเป็นข้อมูลสำคัญที่ช่วยสะท้อนสถานะความพร้อมของการประยุกต์ ในประเทศได้อย่างชัดเจนมากที่สุด เพื่อให้ทุกภาคส่วนได้เล็งเห็นถึงโอกาสหรืออุปสรรคที่จะนำไปต่อยอดและใช้กำหนดนโยบาย แผนการดำเนินงาน ตลอดจนแนวทางปฏิบัติ รวมถึงมาตรฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อส่งเสริม สนับสนุนให้ทุกภาคทั้งภาครัฐและเอกชนเกิดประยุกต์ ในทุกกิจกรรมอย่างเหมาะสม มีประสิทธิภาพ สอดคล้องตามหลักธรรมาภิบาล เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลของประเทศ ตอบโจทย์ “แผนปฏิบัติการด้านปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติ” มากที่สุด

ดร.กัลยา อุดมวิทิต รักษาการผู้ช่วยผู้อำนวยการ สวทช. รายงานว่า การศึกษาครั้งนี้ได้มีการดำเนินการรวบรวมข้อมูลจาก 3 ส่วนด้วยกัน คือ การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้แทนหน่วยงาน/ องค์กรที่มีบทบาทสำคัญ การประชุมรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และการสำรวจโดยใช้แบบสอบถาม เพื่อนำข้อมูลที่ได้ทั้งหมดมาประกอบการวิเคราะห์และจัดทำเป็นข้อเสนอแนะมาตรการเพื่อเตรียมความพร้อมต่อไป จากการศึกษาพบว่า องค์กร/หน่วยงานในประเทศไทย ได้เริ่มมีการใช้แล้ว และมีแนวโน้มใช้งานมากขึ้น ตัวอย่าง เช่น ในกลุ่มการเงินและการค้า มาช่วยตรวจสอบข้อมูล ยืนยันตัวตน แนะนำผลิตภัณฑ์ทางการเงิน การอนุมัติสินเชื่อ และประเมินความเสี่ยง ในกลุ่มการแพทย์และสุขภาวะ มาช่วยตรวจสอบความครบถ้วนของเครื่องมือผ่าตัด และช่วยในการวินิจฉัยและตัดสินใจของแพทย์

 

การศึกษาครั้งนี้ได้ใช้ดัชนีการวัด 5 ด้าน คือ 1. ด้านยุทธศาสตร์และความสามารถขององค์กร 2. ด้านข้อมูลและโครงสร้างพื้นฐาน 3. ด้านบุคลากร 4. ด้านเทคโนโลยี และ 5. ด้านธรรมาภิบาล ดำเนินการสำรวจหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน จำนวน 10 กลุ่ม ตามที่ระบุในแผนปฏิบัติการ ได้แก่ เกษตรและอาหาร การใช้งานและบริการภาครัฐ การแพทย์และสุขภาวะ อุตสาหกรรมการผลิต พลังงานและสิ่งแวดล้อม การศึกษา ท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ความมั่นคงและปลอดภัย โลจิสติกส์และการขนส่ง และการเงินและการค้า ซึ่งผลที่ได้จากการประเมินตามด้านต่างๆ จะนำไปสู่การแบ่งความพร้อมขององค์กรได้เป็น 4 ระดับ คือ ระดับ Unaware = ยังไม่มีความตระหนัก/ อยู่ในช่วงเริ่มต้นเรียนรู้, Aware = มีความตระหนักและเริ่มไปใช้งานแล้ว, Ready = มีความพร้อมในการนำไปใช้งาน และ Competent = มีความเข้มแข็งในการใช้งาน

 

สรุปผลการศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างที่ส่งแบบสอบถามทั้งสิ้น 3,529 ราย ในช่วงเวลา 60 วัน (เดือน พ.ค.- มิ.ย. 2566) ได้ข้อมูลกลับมาทั้งสิ้น 565 ราย พบว่า 15.2% ใช้งานแล้วในองค์กรแล้ว 56.65% มีแผนที่จะนำมาใช้ในอนาคต และ 28.15% ที่ยังไม่มีแผนที่ ดังนั้น จึงคาดการณ์ได้ว่าในอนาคตองค์กรในประเทศไทยจะมีนำมาประยุกต์ใช้เพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็วแน่นอน ทั้งนี้ องค์กรที่มีการประยุกต์ใช้งาน  มีเป้าหมายสำคัญ 3 อันดับแรก ได้แก่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตหรือการให้บริการขององค์กร เพื่อใช้ในการบริหารจัดการภายในองค์กร และ เพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่องค์กร

 

ผลการสำรวจยังพบว่า องค์กรที่มีการ มาใช้งานแล้ว มีความพร้อมเฉลี่ยอยู่ที่ 45.3% หรืออยู่ในระดับ “Aware” ซึ่งหมายถึง องค์กรมีความตระหนักถึงความสำคัญของเทคโนโลยีและเริ่มนำเทคโนโลยี มาประยุกต์ใช้ในองค์กร โดยเมื่อพิจารณาแยกลงไปในแต่ละด้าน (Pillar) พบว่า ด้านที่มีความเข้มแข็งมากที่สุด คือ ด้านข้อมูลและโครงสร้างพื้นฐาน (ประกอบด้วย รูปแบบและคุณภาพของข้อมูล และ โครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลที่จำเป็นต่อการใช้งาน) โดยมีคะแนนเฉลี่ยในด้านนี้อยู่ที่ 61.8% ซึ่งจัดอยู่ในระดับ “Aware” โดยกลุ่มที่มีความพร้อมอยู่ในระดับต้นๆ ได้แก่ กลุ่มการเงินและการค้า กลุ่มการใช้งานและบริการภาครัฐ และ กลุ่มการศึกษา ทั้งนี้ การที่หน่วยงานมีความพร้อมโดยเฉพาะในด้านข้อมูลสูง สาเหตุหนึ่งมาจากในห้วงเวลาที่ผ่านมา ประเทศไทยมีความตื่นตัวในเรื่องของ Big Data และเห็นความสำคัญของการนำข้อมูลมาวิเคราะห์ในมุมมองต่างๆ ตามที่องค์กรให้ความสนใจ สำหรับด้านที่มีคะแนนเฉลี่ยในระดับรองลงมาได้แก่ ด้านยุทธศาสตร์และความสามารถขององค์กร ด้านธรรมาภิบาล ด้านบุคลากร และด้านเทคโนโลยี ตามลำดับ

 

AI

 

สำหรับองค์กรที่มีแผนจะนำมาใช้ในอนาคตหรือยังไม่มีแผนการมาประยุกต์ใช้ในองค์กร ได้ให้เหตุผลที่น่าสนใจ 3 อันดับแรก ได้แก่ 1. อยู่ในช่วงของการศึกษาหาข้อมูลเนื่องจากยังไม่ทราบว่าจะนำมาประยุกต์ใช้อย่างไร 3. ยังไม่มีความจำเป็นในการใช้ และ 3. องค์กรยังขาดความพร้อมในด้านต่างๆ เช่น โครงสร้างพื้นฐาน บุคลากร และงบประมาณ จากผลการสำรวจดังกล่าว นำมาสู่ข้อเสนอแนะเพื่อเตรียมความพร้อมในด้านต่างๆ ได้แก่

AI PEOPLE หรือ การพัฒนาทักษะ ในทุกระดับ เช่น ผลิต  Talent, ให้มี  Academy, พัฒนาหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง และพัฒนาคุณวุฒิวิชาชีพ

AI DATA & INFRA. หรือ การเตรียมความพร้อมข้อมูลและโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการใช้งาน เช่น สนับสนุนการทำ Data Governance สำหรับ พัฒนา Foundation  Model

AI GOVERNANCE หรือ ธรรมาภิบาล  เช่น หลักสูตร  Governance,  Governance Guideline และ พัฒนา  Risk Management Framework

AI INCLUSIVE หรือ การสร้างความตระหนักและสนับสนุนให้เกิดสภาพแวดล้อมที่รองรับการขยายตัว เช่น มีศูนย์บริการเฉพาะด้านเพื่อให้คำปรึกษา, ศูนย์ทดสอบและขึ้นทะเบียนนวัตกรรม และ การทำ  Readiness Measurement

ดร.ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ในฐานะผู้ช่วยเลขาคณะกรรมการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการด้านปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติฯ กล่าวว่า ผลการศึกษาครั้งนี้จะเป็นข้อมูลสำคัญในการสนับสนุนการจัดทำแผนการดำเนินการเพื่อส่งเสริมในระยะถัดไป (ปี 2567) ให้เป็นไปอย่างตรงเป้าหมายมากขึ้น ตามยุทธศาสตร์ทั้ง 5 ด้านในแผนฯ ได้แก่ 1. ด้านจริยธรรมและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง ที่มุ่งเน้นการสร้างความตระหนักและให้มีศูนย์บริการให้คำปรึกษาเฉพาะด้าน 2. ด้านโครงสร้างพื้นฐานและข้อมูลที่เน้นพัฒนา  Service Platform บนโครงข่าย GDCC ที่จะสนับสนุนภาครัฐและภาคธุรกิจมากขึ้น 3. ด้านการพัฒนากำลังคน เพื่อเพิ่มผู้เชี่ยวชาญและวิศวกรให้เพียงพอต่อการเติบโต 4. ด้านวิจัยและพัฒนา ด้วยการกำหนด Flagship Project ขึ้นทะเบียนผลงานนวัตกรรม และสุดท้าย 5. ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการใช้งาน ได้แก่ การร่วมขับเคลื่อน Tech. Startup เพื่อให้เกิดนวัตกรรมและการสร้างสรรค์งานบริการด้าน ในประเทศไทยให้เพิ่มขึ้น

อ่านคอนเทนค์เกี่ยวกับ AI อื่นๆ ในเว็บไซต์ คลิก 

โทรศัพท์ : 02 123 1234