วันพฤหัสบดี, กันยายน 19, 2567

น่าห่วง! 8 เดือนแรก ธุรกิจ SME ปิดกิจการ 10,000 ราย เหตุต้นทุนสูง-ขาดการใช้เทคโนโลยี

by Anirut.j, 18 กันยายน 2567

ดูเหมือนว่าด้วยปัจจัยหลาย ๆ ด้าน ทั้งภายในและภายนอกที่ถาโถมเข้ามาทำให้สถานการณ์ของธุรกิจ SME ไทย จะดูกลืนไม่เข้า คายไม่ออก และจำเป็นต้องได้รับการแก้ไข รวมถึงปรับตัวให้อยู่รอดต่อไป

ข้อมูลจากศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC) ระบุว่าความท้าทายของ SME ไทย ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ นับตั้งแต่การแพร่ระบาดของโควิด-19 จากแรงกดดันรอบด้านทั้งปัจจัยด้านเศรษฐกิจ, การแข่งขันที่ดุเดือด และการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้าง สอดคล้องกับข้อมูลอ้างอิงจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้ายอดตัวเลขการปิดกิจการธุรกิจ SME ในช่วง 8 เดือนแรกปี 2566 ที่มีราว 10,000 ราย ซึ่งภาคเหนือ และภาคอีสานเป็นภูมิภาคที่น่าเป็นห่วง มีความเปราะบางมากที่สุด

ด้านธุรกิจที่ปิดกิจการมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ อันดับ 1 ธุรกิจประมง ได้รับผลกระทบจากมาตรการ IUU ที่เข้มงวดเรื่องการจับสัตว์น้ำมากขึ้น อันดับ 2 ธุรกิจผู้ผลิตเหล็กและจำหน่ายเหล็ก ได้รับผลกระทบจากจีนเข้ามาตีตลาดในไทย และอันดับ 3 ธุรกิจโรงพิมพ์ ได้รับผลกระทบจากพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปรับชมผ่านออนไลน์มากขึ้น

นอกจากนี้ ผู้ประกอบการ SME ยังมีมุมมองเชิงลบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย เนื่องจากส่วนใหญ่เห็นว่ากำลังซื้อในประเทศยังเปราะบาง และมีความกังวลต่อปัญหาหนี้ครัวเรือนที่ยังอยู่ในระดับสูง อีกทั้ง อุปสรรคสำคัญในการดำเนินธุรกิจของ SME ไทย อันดับต้น ๆ คือ ต้นทุนการผลิตการดำเนินธุรกิจสูง ตามมาด้วย พฤติกรรม/ความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป, กลยุทธ์การตลาดเข้าถึงลูกค้าใหม่ ๆ ได้จำกัด, กระบวนการผลิต/การทำงาน ล้าสมัย ขาดการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีหรือเครื่องจักร, ห่วงโซ่อุปทาน/แหล่งวัตถุดิบที่ความไม่แน่นอนสูง, ผลกระทบจากกระแส ESG เช่น นโยบายสิ่งแวดล้อม, ขาดแคลนแรงงาน โดยเฉพาะแรงงานทักษะ และขาดอำนาจต่อรองกับคู่ค้า

อย่างไรก็ตาม ความเชื่อมั่นของ SME จะปรับตัวดีขึ้น หากภาครัฐ และภาคการเงิน เพิ่มบทบาทในการกระตุ้นเศรษฐกิจ ลดความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ และผ่อนคลายนโยบายทางการเงินลง รวมถึงนโนบายสนับสนุน SME เพื่อให้เติบโตอย่างแข็งแกร่ง เพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน โดยมุ่งเน้นไปที่การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี, การพัฒนาฝีมือแรงงานให้มีคุณภาพ และปริมาณที่เพียงพอต่อการพัฒนาสินค้าเพื่อตอบโจทย์ มีคุณภาพสูง ตลอดจนขยายฐานลูกค้าสู่ตลาดใหม่ ๆ ทั้งใน และต่างประเทศ

สุดท้ายคือแนวทางช่วยเหลือธุรกิจ SME ไม่ว่าจะเป็น โควตาการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการจาก SME ในท้องถิ่น, สิทธิการลดหย่อนภาษีจากการซื้อเครื่องจักรและรายจ่ายการอบรมแรงงาน, โครงการค้ำประกันสินเชื่อเพื่อการพัฒนาคุณภาพสินค้าและบริการ และการกระจายโครงการฝึกอบรมให้ความรู้ต่าง ๆ สู่จังหวัดเมืองรอง

ที่มา: SCBEIC

เรื่องที่เกี่ยวข้อง


Mostview

ย้อนเส้นทาง Texas Chicken แบรนด์ไก่ทอดที่มี KFC เป็นคู่แข่งสำคัญ

เฟซบุ๊ก Texas Chicken Thailand ได้โพสต์ข้อความว่า ขอขอบคุณทุกท่านที่สนับสนุนและเป็นส่วนหนึ่งของความทรงจำที่ดีของ Texas Chicken ตลอด 9 ปีที่ผ่านมา เราดีใจที่มีโอกาสได้เสิร์ฟความสุขให้กับทุกท่าน

คำตอบอยู่ที่นี่! เพราะอะไร OR ถึงเลือกปิดกิจการ Texas Chicken

หลังจาก Texas Chicken แบรนด์ไก่ทอดสัญชาติสหรัฐฯ มีอันต้องปิดฉากธุรกิจกว่า 9 ปีในประเทศไทย เหลือไว้แค่เพียงความทรงจำ โดยทุกสาขาจะปิดตัวลงวันที่ 30 กันยายน 2567 นี้

เมืองหลวงควันและฝุ่นมากมาย รู้จัก “DustBoy” รางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม

ครั้งนี้เราขอพาไปรู้จักกับผลงาน “เครือข่ายเครื่องตรวจวัดคุณภาพอากาศ DustBoy สำหรับระบบเฝ้าระวัง PM2.5 ระดับชุมชน” ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่พัฒนาขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนมาช้านาน

ไขกลยุทธ์ McDonald’s ทรานส์ฟอร์มธุรกิจ ทำตู้สั่งอาหาร สร้างทั้งรายได้-ประสบการณ์ลูกค้า

เมื่อพูดถึงแบรนด์ฟาสต์ฟู้ดที่ผู้คนทั่วโลกรู้จักกันเป็นอย่างดีอย่าง McDonald’s หากมองในแง่มุมของธุรกิจ หลายคนอาจมองว่านี่คือแบรนด์ที่ติดตลาดไปเป็นที่เรียบร้อย เพราะเมนูอย่างเบอร์เกอร์ ตลอดจนโปรโมชันต่าง ๆ ได้เข้าไปอยู่ในใจ

SmartSME Line