วันพฤหัสบดี, กันยายน 19, 2567

4 สตาร์ทอัพระบบจัดการร้านอาหาร ตัวช่วยที่ทำให้คุณบริหารธุรกิจได้ง่ายขึ้น

by Anirut.j, 17 กันยายน 2567

ธุรกิจร้านอาหาร แม้จะเปิดง่าย แต่ดำเนินการยาก สิ่งสำคัญที่สุดคงหนีไม่พ้นการคำนวณต้นทุนที่กลายเป็นปัญหา และอุปสรรคสำคัญ เพราะหากบริหารจัดการไม่ดี อาจส่งผลกระทบต่อกำไร-ขาดทุนได้ ซึ่งเรื่องเหล่านี้ต้องให้ความสำคัญ มองข้ามไปไม่ได้

ดังนั้น การใช้ระบบจัดการที่เป็นเทคโนโลยีจะช่วยให้การทำงานง่ายขึ้น และมีประสิทธิภาพ แม่นยำมากขึ้น รวมถึงมีฐานข้อมูลของลูกค้าที่สามารถต่อยอดไปสู่การตลาดที่ตอบโจทย์ได้อีก

Smartsme จะพามา 4 สตาร์ทอัพระบบจัดการร้านอาหาร ตัวช่วยที่ทำให้คุณบริหารธุรกิจได้ง่ายขึ้น

Easy restaurant

Easy restaurant อยู่ในแวดวงมา 17 ปี ทำธุรกิจเกี่ยวกับระบบ POS ของร้านอาหาร และร้านสะดวกซื้อ ที่ตอบโจทย์ ครอบคลุมคนทำธุรกิจนี้ โดยแบรนด์มีทั้งระบบหน้าบ้าน และหลังบ้าน สามารถบริหารจัดการได้อย่างทั่วถึง แม้จะมีร้านอาหารหลายสาขาก็ตาม ซึ่งสามารถซิงค์ข้อมูลระหว่างกันได้

 

Easy restaurant

Easy restaurant

 

สำหรับบริการหรือฟีเจอร์ของ Easy restaurant มีครบวงจรเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็น
Inventory Management: จัดการและควบคุมคลังสินค้า, รับเข้า เบิกออก โอนย้าย ตรวจนับสต๊อกสินค้า, เปรียบเทียบต้นทุนและซัพพลายเออร์, กำหนดจุดสั่งซื้อและจุดรับสูงสุด

POS Cashier: เปิดโต๊ะ, รับออเดอร์, สั่งพิมพ์ QR Order, รับชำระเงิน, พิมพ์ใบเสร็จ, ออกใบกำกับภาษี, ส่งรายงานไปยังห้องครัว, ดูและสรุปยอดขาย

Kitchen Display Sytem: แสดงรายการออเดอร์ลูกค้าแยกตามสเตชันครัว, กรุ๊ปรวมรายการอาหารที่ไม่เหมือนกัน, เช็คเกอร์ช่วยจัดการออเดอร์ก่อนเสิร์ฟ

Online Report: รายงานยอดขายออนไลน์, ตัวอย่างสรุปรายงาน ดูผ่านมือถือ แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ ได้จากทุกที่

Central Management: จัดการข้อมูลส่วนกลางจากระบบเดียว, ดูรายงานต่าง ๆ, เชื่อมต่อและทำงานระหว่างสาขา, บริหารงานหลายแบรนด์

Easy Self Order/Payment (รูปแบบคีออส): สั่งอาหารและชำระเงินด้วยตัวเอง, ส่งออเดอร์ไปยังห้องครัวอัตโนมัติ, เชื่อมต่อกับระบบหลังบ้าน

สำหรับจุดเด่นของ Easy restaurant คือการอยู่ในแวดวงธุรกิจนี้มาเป็นระยะเวลานาน ทำให้ได้รับการไว้วางใจจากลูกค้ามากกว่า 14,000 ราย โดยแบรนด์มีการพัฒนาฟีเจอร์ใหม่ ๆ อยู่ตลอด ตลอดจนบริการหลังการขายที่มีทีมงานคอยซัพพอร์ต ให้คำปรึกษาในเรื่องต่าง ๆ ตลอดเวลาที่ลูกค้ามีปัญหา โดยซอฟต์แวร์ของ Easy restaurant เหมาะกับร้านอาหารทุกสเกลทั้งขนาดเล็ก ขนาดกลาง ขนาดใหญ่ สามารถรองรับได้หมด

ตัวอย่างแบรนด์ร้านอาหารที่ใช้ระบบนี้ เช่น Santa Fe, Kamu, สุกี้ตี๋น้อย, CHAO DOI, ทองสมิทธ์, ปังสยาม, ชงเจริญ เป็นต้น

Food Market Hub

Food Market Hub ระบบจัดการธุรกิจร้านอาหาร และเครื่องดื่มสมัยใหม่ หลังบ้านทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น การจัดซื้อ, การติดต่อหลายซัพพลายเออร์สั่งซื้อวัตถุดิบได้ในที่เดียว เหล่านี้ตัวระบบสามารถซัพพอร์ตให้ได้ ซึ่งข้อมูลจะมีความเชื่อมโยงกัน ทำให้คนทำธุรกิจร้านอาหารรู้ต้นทุน

 

Food Market Hub

Food Market Hub

 

สำหรับ ฟีเจอร์ของ Food Market Hub มีดังต่อไปนี้

1.แพลตฟอร์มการสั่งซื้ออัตโนมัติและการอนุมัติหลายระดับ

2.การจัดการสต๊อก รู้ได้ทันทีเมื่อคลังสินค้าเหลือน้อย

3.การจัดการการผลิต สามารถติดตามวัตถุดิบในแต่ละวันได้

4.ทำงานร่วมกับระบบ POS และบัญชี

5.การจัดการสูตรอาหาร คิดต้นทุนอาหาร และแสดงค่าใช้จ่ายอย่างละเอียด

6.รายงานสินค้าคงคลังที่มีประสิทธิภาพ ตรวจสอบทุกการเคลื่อนไหวของสต๊อก

Food Market Hub เหมาะกับร้านอาหารทุกขนาดตั้งแต่ร้านขนาดเล็กไปจนถึงธุรกิจแฟรนไชส์ขนาดใหญ่ที่จะเข้ามาช่วยแก้ปัญหาในเรื่องของการคิดต้นทุนเปลี่ยนจากความวุ่นวายให้กลายเป็นเรื่องที่มีประสิทธิภาพ โดยผู้ประกอบการสามารถเช็กราคาต้นทุนวัตถุดิบได้เลย เช่น รับ “ไข่” มาแต่ราคาปรับขึ้น ตัวระบบจะสะท้อนต้นทุนให้อัตโนมัติว่าเมนูอาหารจานนั้นราคาสูงขึ้นด้วย ทำให้สามารถติดตามราคาต้นทุนแบบเรียลไทม์ได้เลย

ตัวอย่างแบรนด์ร้านอาหารที่ใช้ระบบนี้ เช่น KFC, Pizza Hut, พาสต้าอาม่า, อ้วนนะ, FRESH ME เป็นต้น


HatoHub

HatoHub แพลตฟอร์มที่รวม 3 ระบบ ประกอบด้วย Order Management + CRM + Data Analytics ไว้ในที่เดียว ทำให้ผู้ประกอบการร้านอาหารรู้จักลูกค้ามากยิ่งขึ้นจากเก็บ และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคโนโลยีระดับโลก ช่วยลดต้นทุน ลดค่าใช้จ่ายพนักงาน รวมถึงสร้าง Branding ของธุรกิจให้มีความเป็นมืออาชีพมากขึ้น

 

HatoHub

HatoHub

 

ฟีเจอร์หลักของ HatoHub แบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลัก ๆ

1.Hato CRM: ระบบวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้า สามารถวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้าเฉพาะกลุ่ม ทำให้เข้าใจ และทำการตลาดได้ตรงใจกลุ่มลูกค้า, สร้างระบบสมาชิกผ่าน Line OA

2.Hato Dine-in: พนักงานสามารถรับออเดอร์และจัดการออเดอร์ได้ด้วยตนเอง, ลูกค้าสแกน QR Code สั่งอาหารได้เอง, ชำระเงินด้วยตนเอง, เก็บ Data/ข้อเสนอแนะของลูกค้า

3.Hato Delivery: สั่ง Delivery ผ่าน Line OA, ช่องทางชำระเงินที่หลากหลาย

จุดเด่นของ HatoHub จะเน้นเรื่องของ Data เป็นหลัก ทำงานบน cloud service ทำให้ระบบอัปเดตแบบเรียลไทม์ได้เลย โดยเหมาะกับร้านอาหารตั้งแต่ SME ไปจนถึง chain restaurant อย่างไรก็ตาม HatoHub มุ่งหวังที่จะเป็นส่วนหนึ่งสนับสนุนการทำธุรกิจร้านอาหารของ SME ที่ต้องการระบบจัดการร้านในราคาไม่แพง


ตัวอย่างแบรนด์ร้านอาหารที่ใช้ระบบนี้ เช่น BAR B Q PLAZA, สีฟ้า, MAGURO, กาแฟพันธุ์ไทย, Shinkanzen, สุกี้เรือนเพชร เป็นต้น

BISTODIO

“ขายดี แต่เจ๊ง” ทำร้อย-ขายหมดร้อย ขายยังไง ทำไมขาดทุน ปัญหาเหล่านี้ bistodia ช่วยคุณได้

Bistodia บริการเทมเพลตคำนวณต้นทุน ในรูปแบบขายขาด ผู้ประกอบการซื้อไปแล้ว สามารถใช้ได้ตลอดชีพ พร้อมกับอัพเดตระบบให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ โดยระบบสามารถคำนวณต้นทุนแฝงอย่างละเอียด ตัวอย่าง ผู้ประกอบการเปิดร้านอาหาร การคำนวณต้นทุนทั่วไปจะคำนวณที่วัตถุดิบ, บรรจุภัณฑ์, ค่าเช่า, ค่าจ้าง แต่จะลืมคำนวณเรื่องค่าเสื่อมราคาของโต๊ะ เก้าอี้ เหล่านี้ที่จะมีระยะเวลาการใช้งาน, ต้นทุนพลังงาน ทั้งแก๊ส เวลาทำอาหาร 1 ครั้ง ใช้ไปกี่บาท เหล่านี้เป็นเรื่องที่อาจจะถูกมองข้าม มองผ่านไป

 

BISTODIO

BISTODIO

 

เทมเพลต Bistodia จะคำนวณ 5 ต้นทุนสำคัญ ได้แก่

-ต้นทุนวัตถุดิบ/บรรจุภัณฑ์
-ต้นทุนค่าเช่า
-ต้นทุนค่าจ้าง
-ค่าเสื่อมราคา
-ต้นทุนพลังงาน


Mostview

ย้อนเส้นทาง Texas Chicken แบรนด์ไก่ทอดที่มี KFC เป็นคู่แข่งสำคัญ

เฟซบุ๊ก Texas Chicken Thailand ได้โพสต์ข้อความว่า ขอขอบคุณทุกท่านที่สนับสนุนและเป็นส่วนหนึ่งของความทรงจำที่ดีของ Texas Chicken ตลอด 9 ปีที่ผ่านมา เราดีใจที่มีโอกาสได้เสิร์ฟความสุขให้กับทุกท่าน

คำตอบอยู่ที่นี่! เพราะอะไร OR ถึงเลือกปิดกิจการ Texas Chicken

หลังจาก Texas Chicken แบรนด์ไก่ทอดสัญชาติสหรัฐฯ มีอันต้องปิดฉากธุรกิจกว่า 9 ปีในประเทศไทย เหลือไว้แค่เพียงความทรงจำ โดยทุกสาขาจะปิดตัวลงวันที่ 30 กันยายน 2567 นี้

เปิดแนวทางเอาตัวรอดของ SME ไทย ในสภาวะเศรษฐกิจผันผวน

ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ SCB EIC เผยถึงความท้าทายที่ทวีความรุนแรงขึ้นจากรอบด้านที่ผู้ประกอบการ SME ต้องเผชิญ ทั้งปัจจัยทางเศรษฐกิจ กำลังซื้อทั้งในและต่างประเทศที่เปราะบาง รวมถึงปัจจัยเชิงโครงสร้างจากพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป

เมืองหลวงควันและฝุ่นมากมาย รู้จัก “DustBoy” รางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม

ครั้งนี้เราขอพาไปรู้จักกับผลงาน “เครือข่ายเครื่องตรวจวัดคุณภาพอากาศ DustBoy สำหรับระบบเฝ้าระวัง PM2.5 ระดับชุมชน” ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่พัฒนาขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนมาช้านาน

SmartSME Line