ไผ่ วัสดุทางเลือก เทรนด์วัสดุก่อสร้างในอนาคต


        ไผ่ วัสดุก่อสร้างที่อยู่คู่คนไทยมาช้านาน ในปัจจุบันมีการนำไผ่มาใช้ประโยชนน์น้อยลงกว่าสมัยก่อนมาก เนื่องจากมีวัสดุสังเคราะห์ต่าง ๆ เติบโตขึ้นมาแทนที่อย่างเยอะแยะมากมาย ซึ่งวัสดุสังเคราะห์ต่าง ๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้นมานั้นล้วนแล้วแต่ทำร้ายธรรมชาติ ส่งผลให้นักออกแบบและเจ้าของผลิตภัณฑ์ เริ่มมองหาวัสดุใหม่ ๆ ที่คงทนแข็งแรง และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ไผ่ จึงเป็น วัสดุทางเลือกในอนาคตที่ทั่วโลกกำลังจับตามอง ด้วยความคงทนแข็งแรง และมีความยืดหยุ่นสูงกว่าไม้ชนิดอื่น ๆ จึงส่งผลให้ไผ่สามารถนำมาประยุกต์ตามโครงสร้างต่าง ๆ ได้มากมาย รวมถึงสามารถปลูกทดแทนได้ภายระยะเวลา 3 ปี การดูแลก็ไม่ยากนัก

        โอกาสของผู้ประกอบการไทยอยู่ที่ ประเทศไทยมีไผ่พันธ์ท้องถิ่นกว่า 30 ชนิด ที่มีลักษณะ และความพิเศษแตกต่างกัน สามารถนำไปประยุกต์ได้หลากหลายรูปแบบ รวมถึงภูมิประเทศและสภาพอากาศของประเทศเอื้ออำนวยต่อผลผลิตของไผ่ ทำให้มีคุณภาพที่สามารถต่อสู้ในตลาดโลกได้ โดยข้อมูลอ้างอิงจาก OKMD ระบุว่า บริษัท อีโคแพลนเน็ต แบมบู ผู้ส่งออกไผ่รายใหญ่ของโลก คาดการณ์ว่า มูลค่าไผ่ในตลาดปี 2015 จะสูงถึง 2 หมื่นล้านดอลลาห์สหรัฐซึ่งนอกจากผู้นำอย่างจีนและอินเดียแล้ว ประเทศในแถบเอเชียตะวันออกอย่างฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย เวียดนาม พม่า และไทย ต่างมีโอกาสในตลาดสีเขียว

        สำหรับแนวทางการเติบโต คือการต่อยอดองค์ความรู้เดิมที่มีอยู่แต่เก่ามา เนื่องจากคนไทยมีความผูกพันธ์กับไผ่เป็นเวลาช้านาน และตามชนบทยังมีการอาศัยประโยชน์จากต้นไผ่อยู่มาก เช่นการสร้างบ้านเรือน เครื่องเรือน และข้าวของเครื่องใช้จากไผ่ เป็นต้น ดังนั้นผู้ประกอบการสามารถนำองค์ความรู้เหล่านี้มาต่อยอดการออกแบบดีไซต์เพื่อเพิ่มมูลค่า หรือแม้กระทั้งการถนอมอายุการใช้งานของไผ่ด้วยวิถีภูมิปัญญาไทย ที่มีความง่ายดาย แต่ได้ผลจริง ทั้งยังสอดคล้องกับธรรมชาติ และไม่ทำร้ายสิ่งแวดรอบ รวมถึงประหยัดต้นทุนได้อีกด้วย