SME กับการสร้างความแข็งแกร่งในการปฏิบัติงาน : ดร.เรวัตร์ ชาตรีวิศิษฏ์


SMEกับสร้างความแข็งแกร่งในการปฏิบัติงาน และส่งเสริม ให้เกิดความร่วมมือ บรรลุการเป็นผู้นำ ในด้านความพึงพอใจของลูกค้า และในด้านสัดส่วนการตลาด โดยกำหนดให้ความปลอดภัยเป็นกิจกรรมที่สำคัญที่สุด ของกิจกรรมรากฐานของธุรกิจ และสร้างสังคมที่มีคุณภาพโดยการทำกิจกรรมที่มีคุณค่าเพื่อสังคม

 

การบริหารงานของ SME ต้องใช้การบริหารงานง่าย ๆ  คือ“PDCA” : Plan-Do-Check-Act หมายความว่า ทุกขั้นตอนการผลิตต้องมีการวางแผนการดำเนินงาน การตรวจสอบ และนำไปสู่การปรับปรุงมาตรฐานใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้น และมีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง แต่จุดเด่นของการดำเนินงานอยู่ที่ระบบที่ถูกออกแบบให้ทุกคนตระหนักถึงหลักการบริหารดังกล่าว ซึ่งในสายการผลิตนั้น   พนักงานจะมีการตรวจสอบคุณภาพงานกำกับการ ทำงานทุกขั้นตอน และนำ PDCA มาใช้อย่างจริงจัง

SME WAY คืออะไร

 

สำหรับแนวคิด SME Way หมายถึง ปรัชญาการทำงาน พฤติกรรมนิยม และวัฒนธรรมการทำงานขององค์กรการปลูกฝังจนให้กลายเป็น DNA ของพนักงานทุกคน ประกอบด้วย 2 เสาหลัก คือ “การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง” และ “การยอมรับนับถือซึ่งกันและกัน” ไม่เคยพึงพอใจ ไม่หยุดนิ่งอยู่กับที่ และปรับปรุงธุรกิจเสมอ โดยการผลักดันความคิดและความพยายามอย่างดีที่สุด เคารพบุคลากรและเชื่อว่าความสำเร็จของธุรกิจสร้างขึ้นจากความพยายามของทุกคนและการจัดการทีมงานอย่างดี และคาดหวังว่าสมาชิกทีมงานในทุกระดับจะใช้คุณค่าสองอย่างดังกล่าวนี้ ในการทำงานและการมีปฏิสัมพันธ์แต่ละวัน

 

บริษัทและองค์กรของSME หมายถึง

1.    ปรัชญาการทำงานร่วมกันขององค์กร

2. พฤติกรรมนิยมที่ปฏิบัติร่วมกันในองค์กร

3. วัฒนธรรมองค์กร

 

การกำหนด SME WAY นี้มีที่มาจากการที่ผู้บริหารบริษัทเกรงว่าความเป็นเจ้าของและผู้บริหารมีรากฐานมาจากการคิดค้นและปรับปรุงอย่างต่อเนื่องจะหายไป จึงต้องจัดทำคัมภีร์ในการทำงานขึ้นมา เพื่อสร้างพฤติกรรมนิยมในองค์กร ให้เป็นปรัชญาการทำงานของผู้บริหารและพนักงานทุกคนในองค์กรของ SME โดยที่ยึดหลักการผลิตโดยไม่มีของเหลือ หลักการนี้มีจุดประสงค์คือผลิตเฉพาะสินค้าที่ขายได้เท่านั้น โดยจะผลิตสินค้าคุณภาพดี และผลิตสินค้าด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่า   เป็นการลดต้นทุนในการผลิต โดยมองว่าการผลิตโดยมีสินค้าใน Stock ถือว่าเป็นต้นทุน จึงต้องผลิตโดยไม่ให้มี Stock เหลือ เพื่อให้เป็นการผลิตโดยไม่มีต้นทุน  หลักการดังกล่าวทำให้ SMEมีต้นทุนการผลิตต่ำ โดยจะใช้วิธีการหลัก ๆ คือ

 

– Just-In-Time คือ ทันเวลาพอดี หมายถึงทำงานให้พอดีเวลา วางแผนให้ดี เตรียมการให้พอดี

 

– JIDOKA คือ การควบคุมตัวเองโดยอัตโนมัติ หมายถึง ในทุก ๆ กระบวนการต้องมีการควบคุมคุณภาพ เนื่องจากในการผลิตต้องเอาใจใส่ ได้ใจพนักงาน(หากมี) หากพนักงานผลิตในจุดของตนเองไม่ทันกับการไหลของสายพานการผลิต ก็สามารถหยุดสายพานการผลิตได้เพื่อทำให้ทัน แต่การหยุดสายพานการผลิตจะก่อให้เกิดการสูญเสีย ดังนั้น จึงต้องมีระบบการควบคุมเพื่อไม่ให้เกิดการผิดพลาดที่จะนำไปสู่การหยุดสายพานการผลิต

 

– พยายามไม่ให้เกิดเหตุแห่งการลดคุณภาพ ทั้งนี้ สาเหตุที่ทำให้คุณภาพในการผลิตลดลงมาจาก 3 สาเหตุ คือ

1.    MUDA คือ การเคลื่อนไหวของพนักงานประกอบที่ไม่เกิดคุณค่า หมายถึง การที่พนักงานมี การเคลื่อนไหวที่ทำให้เสียเวลาในการทำงาน ตัวอย่างในระบบราชการไทย เช่น การทำบัตรประจำตัวประชาชน ที่เจ้าหน้าที่จะต้องเคลื่อนที่จากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งในแต่ละขั้นตอน ทำให้เสียเวลา เรียกว่าเกิด MUDA

2.  MURI คือ การรับภาระเกินความสามารถของบุคคลและอุปกรณ์

3.  MURA คือ แผนการผลิตหรือปริมาณการผลิตที่ไม่สม่ำเสมอ

 

หลักสำคัญของ SMEWAY  มีหัวใจสำคัญ 5 ประการ ที่ถือเป็น DNA ของพนักงาน ทุกคน ได้แก่      

  1. ความท้าทาย (Challenge)
  2. ไคเซ็น (Kaizen)
  3. เก็นจิ เก็นบุตซึ (Genchi Genbutsu)
  4. การยอมรับนับถือ (Respect)
  5. การทำงานเป็นทีม (Teamwork)

 

ซึ่งจะกล่าวในตอนต่อๆไป  โปรดติดตามครับ…