สำหรับประเทศสหรัฐอเมริกานั้น ภายหลังจาก Department of Commerce (DOC) ซึ่งเป็นหน่วยงานภาครัฐได้ทำการยกเลิกการพิมพ์เพื่อเผยแพร่จำนวนแฟรนไชส์ซีที่ทำระบบ แฟรนไชส์ในเศรษฐกิจไป นักวิจัยจึงเลือกใช้ข้อมูลที่หลากหลายของประเภทของระบบแฟรนไชส์ซอร์ เพื่อใช้ประมาณจำนวนของ แฟรนไชส์ซอร์ในสหรัฐอเมริกาขึ้นมาก่อน แล้วใช้จำนวนนั้นสรุปถึงการเติบโตของระบบแฟรนไชส์ในสหรัฐอเมริกาอีกที
ตัวแปรที่ทำการศึกษาก็คือ ผลต่างของจำนวนระบบแฟรนไชส์ที่ตั้งขึ้นมาใหม่ และที่ต้องออกไปจากธุรกิจแฟรนไชส์ (net effect of entry and exit) เป็นตัวเลขหลักเพื่อประเมินการเติบโตโดยรวม และเมื่อวิเคราะห์แล้วสรุปว่า การเติบโตของจำนวนระบบแฟรนไชส์ที่ตั้งขึ้นมาใหม่นั้นสามารถใช้เป็น indicator ของการเติบโตของธุรกิจระบบแฟรนไชส์โดยทั่วไปได้ นอกจากนั้นยังพบอีกว่ารูปแบบธุรกิจแบบระบบแฟรนไชส์มีการเติบโตเทียบเคียงได้กับประมาณการเติบโตของระบบเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาโดยรวม นอกจากนั้นแล้วยังสังเกตเห็นว่า มีแฟรนไชส์ซอร์ประมาณครึ่งหนึ่งของอัตราการออกจากระบบแฟรนไชส์เลิกกิจการไปเลย แต่อีกครึ่งหนึ่งยังคงทำธุรกิจอยู่ แต่ไม่ได้ทำระบบแฟรนไชส์อีกต่อไป นอกจากนั้นยังพบอีกว่ารูปแบบธุรกิจแบบระบบแฟรนไชส์มีการเติบโตเทียบเคียงได้กับประมาณการเติบโตของระบบเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาโดยรวม
ตัวแปรเดียวที่มีผลอย่างมากต่อการอยู่รอด (survival) ของการทำระบบแฟรนไชส์ก็คือ จำนวนปีที่บริษัทได้ดำเนินธุรกิจมาก่อนเริ่มต้นทำระบบแฟรนไชส์ ดังนั้นแฟรนไชส์ซอร์ควรลดโอกาสที่จะต้องออกจากอุตสาหรรมโดยการให้เวลามากขึ้นในการพัฒนา business concept ก่อนเริ่มทำระบบแฟรนไชส์ ดังนั้นแฟรนไชส์ซีจึงไม่ควรคาดหวังให้แฟรนไชส์ซอร์อยู่คอยดูแลอย่างใกล้ชิดไปตลอดอายุสัญญา ที่สำคัญแฟรนไชส์ซีควรทำ ก็คือการหาข้อมูลของแฟรนไชส์ซอร์ และระบบแฟรนไชส์ที่ตัวเขาสนใจให้เป็นที่แน่ใจได้ว่าแฟรนไชส์ซอร์นั้นจะดำเนินการในระยะยาว โดยล้วงให้ลึกถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับระบบแฟรนไชส์นั้นให้ได้มาก
จากมุมมองของแฟรนไชส์ซอร์พบว่าอัตราการออกจากระบบแฟรนไชส์ (Rate of exit) ที่สูงนั้นทำให้เราทราบว่ามีหลายบริษัทที่ล้มเหลวในการทำระบบแฟรนไชส์ และอีกหลายบริษัทเลือกที่จะหยุดทำระบบแฟรนไชส์หลังจากได้ลองทำอยู่เพียงไม่กี่ปี เป็นอัตราที่ค่อนข้างสูง แต่อัตราการออกจากระบบแฟรนไชส์ ดังกล่าวนั้นไม่เกี่ยวข้องกับอัตราการเติบโตอย่างมากของจำนวนรายของแฟรนไชส์ซอร์
ในกรณีที่บริษัทนั้นยังคงทำระบบแฟรนไชส์อยู่พบว่า การที่แฟรนไชส์ซีจะสำเร็จในธุรกิจนั้นขึ้นกับความสำเร็จของแฟรนไชส์ซอร์ไม่มากนัก แต่ในด้านดีของการที่แฟรนไชส์ซีลงทุนในระบบแฟรนไชส์ ก็คือมีโอกาสในการประสบความสำเร็จในธุรกิจมากกว่าการสร้างธุรกิจขึ้นมาใหม่เอง เพราะนำระบบทั้งหมดที่แฟรนไชส์ซอร์คิดมาใช้ รวมทั้งมีการสนับสนุนจากแฟรนไชส์ซอร์มาช่วยอีกแรง
ยังคงมีปัจจัยอื่นจึงควรได้รับการพิจารณาด้วยเพราะว่ามันกระทบถึงความสำเร็จในการทำระบบแฟรนไชส์ เช่น การสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ให้กับผลิตภัณฑ์ (Innovativeness of the products) การสนับสนุนจากแฟรนไชส์ซอร์ให้กับแฟรนไชส์ซี (the amount of support provided to franchisees) การมีสายป่านที่ยาวของเงินทุนที่จะทำธุรกิจของแฟรนไชส์ซอร์ เป็นต้นล้วนแล้วแต่เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของการทำระบบแฟรนไชส์ ซึ่งควรแก่การศึกษาเพิ่มเติม
…แล้วผมจะนำเสนอท่านในคราวต่อไปครับ……
ดร.พีระพงษ์ กิติเวชโภคาวัฒน์
ประธานที่ปรึกษา บริษัท บิสิเนส โค้ช แอนด์ คอนซัลติ้ง จำกัด