Startup Corner ตอนที่ 5 : 5 ขั้นตอนวิธีตรวจสอบ Startup Idea ของเราว่า Work หรือไม่


พงศ์พีระ ชวาลาธวัช

เมื่อตอนที่แล้วเราคุยกันไปในเรื่องของวิธีการหาไอเดียใหม่ ๆ ซึ่งผมเข้าใจว่าเพื่อนๆ คงหาไอเดียมาได้เยอะแยะ แต่ว่าไอเดียไหนละที่เป็นไอเดียที่ถูกต้อง และสามารถเอามาทำ Startup ได้ ปกติแล้วผมจะแบ่งวิธีทดสอบไอเดียเป็นสามส่วน ซึ่งวันนี้จะว่าในส่วนแรกก่อน และ ตอนต่อไปจะตามด้วยส่วนที่ 2 และ 3 ครับ

อ่าน Startup Corner ตอนที่ 4

ส่วนแรก คือการถามจากตัวเอง ซึ่ง อ้างอิงจากประสบการณ์และความรู้ส่วนตัว ส่วนนี้จะเป็นส่วนที่เราจะมาคุยกันในวันนี้

ส่วนที่สอง คือการใช้ Tool ทางการตลาดและเศรษฐศาสตร์ เข้ามาดูความเป็นไปได้เช่น BCG Tool, Porter Tool และ Kotler Tool เป็นต้น

ส่วนที่สาม คือส่วนที่ไม่เคยทำให้ผมผิดหวังเลยคือ การออกไปหาความจริงในตลาดเชิงการวิจัยแบบคุณภาพและปริมาณ แต่ใน Startup เราจะใช้วิธี LEAN Validation กันเพื่อ Validate ดูว่าถ้าธุรกิจจากไอเดียของคุณมันขึ้นจริงแล้วจะมีใครมาใช้บริการมันไหม เมื่อมีการเปิดบริการขึ้นมาจริง ๆ ส่วนนี้เรียกว่าเป็นด่านสุดท้ายก่อนจะทำธุรกิจใด ๆ เลยน่ะครับ

มาถึงส่วนแรกกันครับ เวลาผมคิดไอเดียอะไรได้เข้ามาในหัวผม ผมจะถามตัวเองอยู่ 5 ข้อต่อไปนี้ครับ

  1. ไอเดียนี้ แก้ปัญหาอะไร ? แก้ปัญหาให้กับใคร ? ยกตัวอย่างเช่น ถ้าไอเดียผมคืออยากที่จะแก้ปัญหาการรอคิวเพราะผมเห็นว่าการฉีกตั๋วแล้วมานั่งรอหน้าร้านอาหารมันไร้สาระสิ้นดี ผมก็อาจจะทำ App ตัวนึงออกมาซึ่งคุณสามารถนัดคิวก่อนทำได้เลย ใช่ครับ ผมกำลังพูดถึงแอพ QueQ ที่เห็นการตามห้างซึ่งสามารถแก้ปัญหาได้จริง และเป็นไอเดียที่ดีจริง ๆ
  2. แล้วคิดไอเดียมาซะดิบดี แต่จะทำให้ไอเดียเป็นสินค้าจริงได้ยังไง โดยปกติแล้วถ้าไอเดียนั้นเป็นพวกเว็บ App หรือ โปรแกรมที่ดูไม่ยากจนเกินไปก็คงจะไม่มีปัญหาในเรื่องการผลิตเท่าไหร่นัก แต่ถ้าเป็นเทคโนโลยีชั้นสูงเช่น ถ้าผมเพ้อว่าผมมีไอเดียที่จะทำให้อีโบล่าหมดไปจากโลกนี้ คนทั่วโลกคงต้องถามว่า ทำอย่างไร
  3. จะมีกี่คนที่สามารถคิดไอเดียนี้ออกได้ แล้วทำไมถึงต้องเป็นเราที่สามารถแก้ปัญหานี้ได้ ในกรณีที่เป็น Application หรือ Web Platform นั้นเรื่องเทคโนโลยีการทำเว็บคงจะไม่ใช่เรื่องยาก แต่น่าจะหนักไปทางเรื่องการทำธุรกิจ เช่นถ้าเราเป็นคนที่ไม่เคยทำงานด้านบุคคลหรือพัฒนาทรัพยากรบุคคลมาเลยแต่วันหนึ่งเราคิดจะทำเว็บทางด้านการหางานขึ้นมา ซึ่งทุกวันนี้มีคนเอาไอเดียนี้มาคุยกับผมเดือนละครั้งปีนึง 12 เคสและ 12 เคสที่มาคุยกับผมก็ซ้ำในเรื่องไอเดียเกือบทั้งหมด ซึ่งผมก็จะให้คำแนะนำกลาง ๆ ไปว่าผมไม่มีปัญหากับเว็บหางานถ้าคุณมีประสบการณ์ตรงทำงานทางด้านนี้มาเพื่อต่อยอด เพราะอย่างน้อยความเสี่ยงของธุรกิจก็ลดลงไปได้เยอะ แต่ถ้าคุณเป็นเด็กจบใหม่ไม่รู้เรื่องอะไรเกี่ยวกับการสมัครงานแต่อยากทำเว็บสมัครงาน ผมจะบอกว่าไปหาไอเดียใหม่เถอะครับ ลองมามองในมุมเทคโนโลยีชั้นสูงแบบการสร้างวัสดุสังเคราะห์บ้างตัวผมเคยเข้าไปช่วยดูแลทีมประกวดทางธุรกิจทีมหนึ่งซึ่งตอนนี้ได้ชนะการประกวด Global Venture Labs Investment Competition ซึ่งเป็นการแข่งขันแผนธุรกิจระดับโลกที่ได้รับการยอมรับทั่วโลก ซึ่งในการแข่งขันนั้นผู้เข้าแข่งขันจะโดนถามคำถามเพื่อแก้ข้อสงสัยของคณะกรรมการ หนึ่งในคำถามนั้นคือคำถามที่แสนจะดูง่ายแต่ตอบยากสุดๆ นั้นคือ มีกี่คนที่ทำเทคโนโลยีนี้ได้ และทำไมต้องเป็นคุณ ทางทีมนิ่งไปประมาณ 3 วินาทีพองามแล้วชูมือ กางนิ้วออกมา 5 นิ้วพร้อมกับบอกว่า “ดูมือผมน่ะ 5 นิ้วนี่คือคน5คนในโลกที่ทำเทคโนโลยีตัวนี้อยู่ คนแรกคืออาจารย์ผมที่ MIT อีก3คนคือเพื่อนของผมซึ่งทำงานประจำร่ำรวยอยู่แล้วและคงไม่มาทำ Startup แบบผมเป็นแน่เพราะฉะนั้นสิทธิการในเปลี่ยนแปลงการใช้วัสดุที่สามารถรักษาโลกใบนี้ให้อยู่คู่กับเรายันรุ่นลูกของเรามันอยู่ในมืออีกข้างของผม” ทันใดนั้นห้องทั้งห้องก็เงียบสงัด พร้อมกับกรรมการสามคนที่นั่งหน้านิ่ง ๆ ชูมือให้เข้ารอบต่อไปได้ทันที
  4. เมื่อนำไอเดียเข้าตลาดแล้วคุณจะสามารถป้องกันตัวจากการรับน้องของคู่แข่งได้อย่างไร ลองคิดง่ายๆ ครับ วันนี้ถ้าผมทำเว็บหางาน จะมีซักกี่คนที่รอรับน้องผมอยู่ และสมมุติว่าผมมีประสบการณ์พอสมควรพร้อมกับรายชื่อของบริษัทลูกค้าบางส่วน แน่นอนว่าผมอาจจะรอดจากการรับน้องแต่ในระยะยาวผมอาจจะไม่รอดจากการทำ Promotion แข่งกับพี่ใหญ่ในวงการเดิมทั้งจาก Web และ Agency แต่ถ้าผมเข้าตลาดแล้วบอกว่าผมรับเฉพาะตำแน่งเดียวเลยคือ บุคลากรดูแลผู้สูงอายุและเด็ก เท่านั้นพร้อมรายชื่อของคนทำงาน พร้อมทีมที่สามารถเช็คประวัติอาญชากรรมแบบลึก พร้อมทีมฝึกอบรม พร้อมการรับประกันความพึงพอใจในทุกกรณี พร้อมทีมทำการตลาดที่สามารถสอดแทรกเข้าไปในทุกโรงพยาบาลและกลุ่มสุขภาพแม่และเด็ก ผมจะบอกว่าได้เลยว่าคุณคงไม่ได้อยู่ที่1ในวงการ ณ ตอนนี้ แต่คุณมีภูมิคุ้มกันที่มากพอที่จะอยู่ในวงการได้แล้ว
  5. จาก 4 ข้อข้างบนที่ผมให้เราลองใช้จิตนาการด้วยกัน คราวนี้ก็มาถึงขั้นตอนที่เราต้องเลิกมโนซักที ไม่ว่าผมจะเรียนสำนักไหนประเทศไทยเกี่ยวกับเรื่อง Startup หรือการตลาดนั้นความต้องการของลูกค้ากลุ่มเป้าหมายไม่เคยหลอกใครยกเว้นเราหลอกตัวเราเอง ซึ่งเราก็นิยมที่จะหลอกตัวเรากันซะเยอะ วิธีที่เราสามารถที่จะเช็คความต้องการคือต้องเช็คจากปากของลูกค้าโดยตรง หาไว้เลย 10-20 คนเป็นอย่างน้อย แล้วออกพูดคุยซักถามเลยว่าชอบสินค้าเราไหม ถ้ามีสินค้าและบริการนี้จริงจะต้องการซื้อหรือไม่ ทำไมถึงไม่อยากซื้อ แล้วเก็บข้อมูลไว้เพื่อการพัฒนาสินค้าและบริการในลำดับต่อไป
    ผมจะขออธิบายลึก ๆถึงการทำ Market Lean Validation ในตอนต่อไปเพราะจะค่อนข้างลึกและมีลำดับขั้นตอนการทำที่เป็นขั้นตอนที่ Startup ใช้กันมากในต่างประเทศและพิสูจน์แล้วว่าได้ผลเร็วและมีความผิดพลาดต่ำ และนี้ก็คงเป็นการก้าวเดินอีกขั้นของ Startup สำคัญที่ว่าวันนี้คุณได้เริ่มที่จะก้าวเดินไปกับเรารึยังครับ ?

www.facebook.com/thaistartupcafe

www.thaistartupcafe.com