การเมืองพ่นพิษฉุดเศรษฐกิจไทย ในขณะที่โลกเริ่มกระเตื้อง


โลกฟื้นตัว

คุณปารีณา พ่วงศิริ ผู้ชำนาญการงานวิจัยเศรษฐกิจและตลาดทุน ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า ภาวะเศรษฐกิจขณะนี้เป็นที่น่าติดตามอย่างยิ่ง สำหรับค่าเงินและอัตราดอกเบี้ย รวมไปถึงแนวโน้มเศรษฐกิจโลกในปัจจุบันว่า มีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่แตกต่างกัน ซึ่งจะเห็นได้ว่าช่วงนี้ประเทศจีนและสหรัฐฯมีพัฒนาการที่แตกต่างกันไป โดยสหรัฐฯเริ่มส่งสัญญาณที่ดีขึ้น หลังจากเศรษฐกิจชะลอลงตามภาวะอากาศหนาวเย็น จึงทำให้กิจกรรมเศรษฐกิจบางอย่างต้องชะงัก สำหรับปัจจัยบวกของเศรษฐกิจสหรัฐฯเพิ่มมากขึ้น เช่นอัตราการจ้างงาน และอัตราการใช้กำลังผลิตที่กลับมาอยู่ในระดับสูง นอกจากนี้ผลประกอบของบริษัทในสหรัฐฯปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องเป็นแรงหนุนให้มีการขยายการลงทุนได้ในระยะต่อไป ประกอบกับการรัดเข็มขัดการใช้จ่ายรัฐบาลที่เคยเป็นตัวฉุดเศรษฐกิจ ก็ปรับลดลงหลังการเจรจางบประมาณที่ผ่านพ้นไปเมื่อต้นปี ทำให้รัฐบาลสามารถใช้จ่ายได้มากขึ้น

ส่วนทางด้านประเทศจีน มีสัญญาณชะลอลงโดยเฉพาะการผลิตและการส่งออก ขณะที่ช่วงปลายปี 2013 ค่อยๆปรับตัวดีขึ้น พอช่วงต้นเดือน กุมภาพันธ์ หดตัวถึง 18% ทำให้ทางตลาดมีความกังวลมากขึ้น โดยผู้ดำเนินการนโยบายของ ในช่วงปีนี้มีการเน้นยำเรื่องเศรษฐกิจหลายครั้ง ตั้งแต่ปี 2013 ถึงปี 2014 นี้ ประมาณเดือนกุมภาพันธ์ผู้กำหนดนโยบาย มีการส่งสัญญาณค่าเงินหยวนอ่อนค่าหลายวัน อย่างไรก็ตามสุดสัปดาห์นี้มีการเปิดเสรีค่าเงินเพิ่มมากขึ้น ขณะที่แต่ก่อนค่าเงินจีนมีการให้เคลื่อนไหวในหนึ่งวัน 1% เท่านั้น แต่กลับเพิ่มขึ้นเป็น 2% หากปีนี้จีนเน้นการปฏิรูปเป็นส่วนสำคัญ อาจทำให้เศรษฐกิจมีการขยายตัวเพิ่มมากขึ้น ผู้ประกอบการที่มีธุรกรรมกับจีนควรคิดประมาณการเศรษฐกิจใหม่ในช่วงระยะนี้

ส่วนประเทศยูโรโซนนั้น หลังจากวิกฤติเศรษฐกิจยูโรโซนยังไม่ได้กลับมาเห็นกันก่อนเกิดเศรษฐกิจ เรื่องแรก  เป็นการส่งผ่านนโยบายการเงิน ถึงแม้จะพยายามผ่อนคลายการเงินอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำแล้ว แต่ทว่า การส่งผ่านการเงินไปภาคเศรษฐกิจจีนยังไม่เกิดขึ้น การปล่อยสินเชื่อยูโรโซนนั้นยังติดลบอยู่ตลอดทั้งปี 2013 และในปี 2014  และเศรษฐกิจยูโรโซนอาจแบ่งได้ 2 ขั้วคือ เศรษฐกิจที่เยอรมันและผรั่งเศษ การทรงตัวยังไม่ได้ติดลบมากเท่าไรนัก  สำหรับการปล่อยสินเชื่อยังติดลบอยู่เกือบ 10%  แม้ยุโรโซนจะมีการใช้ค่าเงินแบบเดียวกันคือ เงินยูโร อัตราดอกเบี้ยเดียวกัน คือ ECD เป็นผู้ตั้งนโยบายการดำเนินแต่ละประเทศ แต่ภาวะแวดล้อมยังต่ำอยู่ ทั้งยังมีการใช้อัตราดอกเบี้ยระดับเดียวกัน แต่ดอกเบี้ยแต่เศรษฐกิจที่ได้รับต่างกัน อย่างประเทศกรีซนี้อัตราดอกเบี้ยปรับลดลง ในขณะที่ของประเทศเบลเยียมยังสูงกว่า อีกทั้งยูโรโซนยังมีอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำมาก ถ้าหากเอาอัตราเงินเฟ้อไปผูกอัตราดอกเบี้ย จะคำนวณมาได้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง การที่อัตราเงินเฟ้ออยู่ในภาวะที่ต่ำมากนั้น ทำให้ยูโรโซนดูตึงมากขึ้น จะเห็นได้ว่าแม้ดอกเบี้ยอยู่ในระดับที่สูงเมื่อเทียบกับเงินเฟ้อหรือค่าเสื่อมของเงินจริงๆ อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงต่ำในปี 2012 จะปรับสูงขึ้นมาอีกปี 2014 นี้

ส่วนในประเทศญี่ปุ่นนี้ เดือนเมษายนจะมีการปรับอัตราภาษีการบริโภคจาก 5% เป็น 8% ญี่ปุ่นเพิ่งเริ่มฟื้นตัวการปรับภาษีขึ้น อาจทำให้การบริโภคปรับยอดลงมาได้ สำหรับช่วงปี 1997 ที่ผ่านมานั้น มีการปรับภาษีขึ้นมาแล้วจาก 3% เป็น 5% จึงบ่งบอกได้ว่าทางการบริโภคภาคเอกชนของญี่ปุ่น หลังจากนี้การบริโภคก็ปรับหดลงมา ส่วนหนึ่งมาจากการเร่งขึ้น เพราะผู้บริโภคต้องการหลีกเลี่ยงการจ่ายภาษีที่สูงขึ้นนั้นเอง  ในปี 1997 นี้ มีเงินเฟ้อสูงขึ้นเพียงระยะเดียว และต่อมาก็เข้าสู่ระยะเงินฝืด แต่ต่อไปหวังว่าเงินเฟ้อจะอยู่ในระดับสูงเท่าที่ญี่ปุ่นต้องการ

อีกทั้งในประเทศยูเครน สำหรับเรื่องเศรษฐกิจของสหรัฐฯและยูเคน การปรับเศรษฐกิจค่อนข้างดี สาเหตุเพราะเงินเฟ้ออยู่ในระดับไม่สูงเท่าไรนัก ทำให้มีการยืดหยุ่นนโยบายที่ใช้อยู่สามารถผ่อนคลายอย่างต่อเนื่องได้ แต่ระยะต่อไปหากสัญญาเงินเฟ้อปรับตัวขึ้นช่องว่างเหล่านี้ของธนาคารกลางก็จะหมดลง ผู้กำหนดนโยบายต้องปรับการเงินในตึงขึ้น

อย่างไรก็ตาม สำหรับตลาดเกิดใหม่โดยรวมนี้ ยังคงได้รับแรงกดดัน แม้จะไม่รุนแรงเทียบเท่ากับช่วงต้นปี  โดยที่ตลาดโลกจับตามองมากที่สุดในช่วงนี้คือ ความตึงเครียดระหว่างยูเครนและรัสเซีย อีกทั้งประเด็นการเมืองในหลายๆประเทศ ตลาดเกิดใหม่ตลอดปี 2014 อาจยังสร้างความผันผวนให้แก่การลงทุนในระยะต่อไปได้ คุณปารีณา พ่วงศิริ กล่าวทิ้งท้าย

 

การเมืองไม่นิ่ง ส่งผลเงินบาทอ่อนค่า

ด้านนายกอบสิทธิ์  ศิลปชัย ผู้บริหารงานวิจัยเศรษฐกิจและตลาดทุน ธนาคารกสิกรไทย ได้กล่าวในงานสัมมนาถึง “แนวโน้มเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทย”ว่า แนวโน้มอัตราแลกเปลี่ยนของไทยในช่วงไตรมาส 2 ปีนี้มีแนวโน้มอ่อนค่าลง เศรษฐกิจมีความผันผวน โดยคาดว่าค่าเงินบาทจะอยู่ในระดับเฉลี่ยที่ 33.50 บาท/ดอลลาร์ เนื่องจากเป็นช่วงที่บริษัทจดทะเบียนต่างๆ ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยทยอยจ่ายเงินปันผล ซึ่งมีผู้ถือหุ้นส่วนหนึ่งเป็นนักลงทุนต่างประเทศ โดยรวมแล้วคาดว่าจะต้องมีการจ่ายเงินปันผลประมาณ 9 หมื่นล้านบาท และจ่ายให้ชาวต่างชาติประมาณ 1,500 พันล้านบาท ดังนั้น จึงจะส่งผลลบต่อบัญชีเดินสะพัดของไทยและมีผลกระทบให้เงินบาทอ่อนค่าลงได้

ขณะที่ประเด็นเศรษฐกิจไทย มองว่าประเด็นการเมืองที่ยังไม่มีข้อสรุปได้ขณะนี้ได้ส่งผลต่อการพัฒนาของเศรษฐกิจมากขึ้นโดยเฉพาะแนวโน้มการลงทุนในระยะต่อไป ดอกเบี้ยนโยบายลดลงมา 2.0% เพื่อเป็นแรงหนุนเศรษฐกิจท่ามกลางความเปราะบาง มองว่าการปรับลดครั้งที่ผ่านมาน่าจะเป็นการปรับลดครั้งสุดท้าย และน่าจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับนี้จนถึงปลายปี โดยช่วงปลายปีนี้มีโอกาสปรับดอกเบี้ยมีความสมดุลจากประเด็นที่ผ่อนคลาย โดยเห็นโอกาสการปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นมาอยู่ที่ 2.25%ในช่วงปลายปี 2014

ด้านนายสมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ นักวิชาการอิสระทางด้านเศรษฐกิจ ได้กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยในปีนี้จะขยายตัวได้ประมาณ  2.5-3% เนื่องจากการมีรัฐบาลรักษาการที่ถือว่าเป็นปัญหาทางการเมืองจึงส่งผลให้การบริโภคและการลงทุนในภาครัฐ     เกิดการชะลอตัวจนถึงขั้นวิกฤต ซึ่งเป็นผลพวงจากปัญหาทางการเมืองในประเทศที่ยังคงยืดเยื้อและยังไม่มีวี่แววจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติสุข

ในขณะที่มองว่าการส่งออกของไทยในปีนี้จะขยายตัวได้ประมาณ 5-6% ภายใต้สมมติฐานค่าเงินบาทที่ 32 บาท ตามเป็นปัจจัยในด้านบวกบวกของเศรษฐกิจโลกที่คาดว่าจะฟื้นตัวดีขึ้นทั้งในภาคสหรัฐฯ ที่คาดว่าจะขยายตัวได้ถึง 3% สหภาพยุโรปจะขยายตัวได้ประมาณ 1% ญี่ปุ่นขยายตัว 1.5% และจีนขยายตัวได้ถึง 7.5%

อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจไทยในปีนี้ยังคงมีความเสี่ยงอยู่ คือ หากปีนี้เศรษฐกิจจีนเติบโตได้ไม่ถึง 7% จะมีผลกระทบหลายอย่างตามมาไม่เฉพาะแต่ในประเทศไทยเท่านั้น แต่รวมไปถึงอาเซียนด้วย โดยผลกระทบจะมีต่อทั้งภาคการส่งออก การท่องเที่ยว และการลงทุนในประเทศไทยอีกด้วย

“แต่ถ้าหากเศรษฐกิจจีนโตได้ต่ำกว่า 7% ผลกระทบก็อาจจะตามมา โดยเฉพาะภาคการส่งออกที่เราพึ่งพาจีนถึง 12% หากเศรษฐกิจโตช้าก็จะมีผลกระทบต่อการส่งออก การท่องเที่ยว และการลงทุนของอาเซียน แต่ ณ ตอนนี้จีนยังอยู่ในสภาวะเศรษฐกิจดีอยู่ แต่ก็อย่าพึ่งดีใจเกินไป ต้องติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง” นายสมชาย กล่าวทิ้งท้าย

ส่วนที่รัฐบาลประกาศยกเลิก พรก. การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน และกลับไปใช้ พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรนั้น ส่งผลดีในด้านจิตวิทยาที่จะช่วยส่งผลให้การท่องเที่ยวในไทยขยายตัวได้ดีขึ้น แต่ทั้งนี้ยังต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่งจึงจะเรียกความเชื่อมั่นกลับขึ้นมาได้อีกครั้งและควรมองว่าสิ่งที่รัฐบาลใหม่จะต้องเร่งดำเนินการ คือการฟื้นฟูสร้างความเชื่อมั่นของนักลงทุนให้กลับมาโดยเร็วที่สุด ซึ่งการใช้นโยบายการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย  โดยการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเหลือเพียงแค่ 2% นั้นยังเป็นการช่วยลดภาระหนี้สินของประชาชนได้เพียงในระดับหนึ่งเท่านั้น แต่ไม่ได้ช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนได้ เพราะสิ่งที่จะช่วยสร้างความเชื่อมั่นนักลงทุนคือการเมืองที่ต้องมีเสถียรภาพ และความสงบสุขของประเทศ

ส่วนทางด้านแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปีหน้า นายสมชาย มองว่า ผลกระทบจากการจัดทำงบประมาณปี 2558 ที่ล่าช้านั้น      ทางด้านเศรษฐกิจไทยหลังจากผ่านวิกฤติมามากมาย จนถึงปัจจุบันก็เติบโตเฉลี่ยเพียงปีละประมาณ 4% เท่านั้น ถือว่าต่ำสุดในอาเซียน รวมทั้งยังไม่มีการปรับโครงสร้างในการเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน และขาดการใช้นวัตกรรมใหม่ๆ ไม่ใช้สิทธิประโยชน์ในการเข้าร่วมใน (ASEAN Free Trade Area) ให้เต็มที่ ดังนั้น หากไทยต้องการที่จะแข่งขันในอนาคตก็ควร