เปิดแนวรุกตลาดสินค้าอาหารและเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพในเวียดนาม


ประเทศเวียดนาม เป็นหนึ่งในสมาชิกอาเซียนที่น่าสนจาก จากจำนวนประชากรที่สูงถึง 89 ล้าน และมีอัตราการเติบโตทางเศรษกิจที่ก้าวกระโดด ส่งผลให้ผู้บริโภคในประเทศเวียดนามมีกำลังในการซื้อเพิ่มมากขึ้น  

ในด้านบริโภคนั้นประเทศเวียดนาม ให้ความสำคัญกับสินค้าเพื่อสุขภาพมากขึ้น สังเกตได้จากการนำเข้ากลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพเติบโตขึ้นมากกว่าร้อยละ 13 ต่อปี นับจากปี 2552 เป็นต้นมา สถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม จึงได้ศึกษาแนวโน้มการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพในเวียดนามและแนวทางการเจาะตลาด รวมทั้งข้อเสนอแนะจากนักธุรกิจไทยในเวียดนามและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อภาคอุตสาหกรรมในการนำข้อมูลเพื่อประกอบการกำหนดแนวทางเพื่อรุกตลาดเวียดนามและเตรียมรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ได้อย่างเข้มแข็ง

โดยศักยภาพตลาดเวียดนามในอาเซียนนั้น ถือได้ว่าเป็นกลุ่มตลาดขนาดใหญ่ แต่มีกำลังในการซื้อขนาดกลาง ในปี 2013 ประเทศเวียดนามนำเข้าสินค้าจากประเทศอินเดียสูงสุด ที่ 18.2% และส่งออกสินค้าไปสหรัฐอเมริกา สูงสุดที่ 19% ทั้งนี้สินค้าไทยที่ส่งออกไปประเทศเวียดนามมากที่สุดเป็นเครื่องดื่ม สุรา และน้ำส้มใสชู รวมมูลค่ากว่า 7,249.81 ล้านบาท โดยพฤติกรรมส่วนใหญ่ของผู้บริโภคชาวเวียดนาม นิยมบริโภคอาหารเช้าและกลางวันนอกบ้าน ส่วนมื้อเย็นนิยมปรุงรับประทานเองที่บ้าน  ด้านเครื่องดื่ม มีความนิยมดื่มนมเป็นเครื่องดื่มหลักมากขึ้น สำหรับคนยุคใหม่นิยมดื่มชาพร้อมดื่ม และเครื่องดื่มที่ให้พลังงาน ส่วนแนวโน้มด้านพฤติกรรมผู้บริโภค ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ ผลิตภัณฑ์ที่มีน้ำตาลต่ำ ไขมันต่ำ ผลิตภัณฑ์ free from เช่น ปราศจากคลอเรสเตอรอล น้ำตาล และไขมัน เป็นต้น สินค้าเหล่านี้มีแนวโน้มที่ผู้บริโภคจะหันมาให้ความสนใจเป็นอย่างมาก การเติบโตของตลาดอาหารและเครื่องดื่มในเวียดนาม เติบโตร้อยละ 15 ต่อปี ตลาดอาหารเพื่อสุขภาพเติบโตเฉลี่ย 17% และตลาดเครื่องดื่มสุขภาพเติบโตเฉลี่ย 23%

 สถานณ์การบริโภคอาหาร และเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพในเวียดนาม กระแสใส่ใจดูแลสุขภาพถูกกล่าวถึงมากขึ้นโดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่นจะนิยมดื่มเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพเป็นอย่างมากกลุ่มอาหารและเครื่องงดื่มเพื่อสุขภาพในเวียดนามที่มีศักยภาพ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพที่มีการขยายตัวสูงจะอยู่ในกลุ่มของอาหารเช้าจากธัญพืช ผลิตภัณฑ์โยเกิร์ต ผสมเนื้อผลไม้ ว่านหางจระเข้ และ Probiotic ผลไม้แปรรูป ผลิตภัณฑ์มีส่วนผสมจากพืชสมุนไพร ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมและเครื่องดื่มสำหรับเด็ก ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพที่เป็นตลาดขนาดใหญ่ มีการขยายตัวสูงจะอยู่ในกลุ่มน้ำผลไม้พร้อมดื่ม ชาพร้อมดื่มและชาชงสมุนไพร ทั้งนี้เครื่อมดื่มเพื่อสุขภาพที่ถูกวางจำหน่ายมากขึ้นและมีแนวโน้มที่ดี เป็นสินค้าจำพวก นมถั่วเหลือง เครื่องปรุงแต่งกลิ่นรสเติมสารอาหาร และเครื่องดื่มจากสมุนไพร ช่องทางในการวางจำหน่ายสินค้าเพื่อสุขภาพ ควรเป็นธุรกิจขขายตรง เพราะผู้ขายสามารถแนะนำสินค้ากับผู้บริโภคได้โดยตรง เนื่องจากสินค้าเพื่อสุขภาพ ร้านขายยา เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้ผลิตภัณฑ์ และร้านสะดวกซื้อ ซื่งมีสินค้ไทยวางขายอยู่เกือบถึง 75% และไม่จำเป็นต้องเป็นสินค้าระดับพรีเมี่ยม หากแต่ผู้ประกอบการควรวางขายสินค้าให้ถูกพื้นที่ โดยแบ่งออกเป็นเวียดนามเหนือ และเวียดนามใต้ ในเขตเวียดนามเหนือนิยมเชื่อมั่นจากยุโรปมากกว่า สินค้าไทยจึงไม่ค่อยได้รับความนิยมมากนัก หากเทียบกับเวียดนามใต้ ซึ่งยกให้สินค้าไทยเป็นสินค้าระดับพรีเมียม สำหรับคู่แข่งทางการค้าในอนาคต คือ ผู้ผลิตที่เป็นชาวเวียดนามเองจะมีความได้เปรียบในด้านต้นทุนการผลิต และไม่มีการควบบคุม และการแข่งขันกับสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ เช่นญี่ปุ่น เกาหลีใต้ มาเลเซีย และจีน ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ราคาสินค้า เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สำคัญในการกำหนดสภาพการแข่งขัน เนื่องจากตลาดเวียดนามเป็นตลาดที่แข่งขันสูง การวิจัยทางการตลาดก็เป็นสิ่งสำคัญในการดำเนินงานของผู้ประกอบการ ที่สำคัญไปไม่น้อยกว่ากันคือ การค้นหาคู่ค้าที่ดี ผ่านคนรู้จักในพื้นที่ที่ไว้ใจได้ นอกจากนี้คือการทำกิจกรรมพิเศษทางการตลาด การให้ความรู้ และการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่ผลิตภัณฑ์

จากผลวิจัยของสถาบัน พบว่า ผู้บริโภคจากโฮจิมินห์ และฮานอย ให้ความสนใจในผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มสุขภาพพร้อมดื่ม ที่มีสรรพคุณบำรุงร่างกาย และสมองร้อยละ 25.2  32.0 ตามลำดับ  บุคคลที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพพร้อมดื่ม คือตนเองร้อยละ 35.1 และรองลงมาคือ พ่อ แม่ร้อยละ 21.7 ด้านรสชาติมาเป็นอันดับหนึ่งในการเลือกซื้อคือร้อยละ 4.1 ต้องมีรสชาติที่ดี ร้อยละ 3.85 ผลิตภัณฑ์ต้องมีการวิจัยและการรับรองคุณภาพที่เชื่อถือได้ ร้อยละ 3.79 ให้คุณค่าทางโภชนาการสูงและในด้านสื่อ ชาวเวียดนามค่อนข้างให้ความสำคัญกับการโฆษณา หากผู้ประกอบการมีการนำสินค้ามาลงโฆษณาก็จะได้รับความน่าเชื่อถือไปจากผ้บริโภคชาวเวียดนามได้โดยง่าย โดยสื่อโทรทัศน์จะได้รับความน่าเชื่อถือสูงสุดร้อยละ 27.2-25.5 รองลงมาเป็นพนักงานขาย 22.6  ตามาด้วยสื่อออนไลน์ 14.1

 นอกจากนี้ ผู้บริโภคเพศหญิง ให้ความสำคัญกับผลิตภัณฑ์ที่ดีต่อสุขภาพและความงามเป็นอย่างยิ่ง แต่สำหรับผู้ชาย โดยรวมแล้วจะมองหาผลิตภัณฑ์ที่ดื่มแล้วช่วยให้ร่างกายแข็งแรง ลดอาการร้อนใน ให้พลังงาน และผลิตภัณฑ์ที่สร้างภาพลักษณ์ถึงความเป็นชาย

ด้านการเสวนาวิชาการ รุกตลาดอาหารและเครื่องดื่มเวียดนาม SME ไทยต้องเตรียมตัวอย่างไร ศักยภาพของประเทศเวียดนาม ประเทศเวียดนามนั้นเติบโตเร็วมากโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 7.7% อีกทั้งยังตั้งอยู่ใกล้ประเทศไทย แต่ถึงแม้จะเป็นคนเอเชียเหมือนกัน คนไทยและคนเวียดนามกลับมีความแตกต่างกันมาก ผู้ประกอบการไทยต้องระมัดระวังในการทำการค้ากับประเทศเวียดนามนาม ทั้งเรื่องรสชาติที่แตกต่างกัน และสมุนไพรก็แตกต่างกัน ถึงแม้จะเป็นเอเชียเหมือนกันแต่มีความแตกต่างกันสูง ดังนั้นเราควรหาข้อมูลเบื้องต้นหาทางว่าเรามีโอกาสไปอยู่จุดไหน และคู่แข่งเป็นอย่างไร มีการทำการตลาดแตกต่างกับเรามาน้อยแค่ไหน สำหรับคำถามที่ว่าเหตุใดต้องไปทำการค้าเครื่องดื่มสุขภาพที่ประเทศเวียดนาม เหตุผลหลักมาจากจำนวนประชาชนของเวียดนามที่ค่อนข้างสูง และตลาดใหญ่ คุณจันทรา พงศ์ศรี เจ้าของผลิตภัณฑ์ดีโด้ ให้ข้อมูลในแง่ของเครื่องดื่มสุขภาพว่า “เรามองว่าธุรกิจของเราค่อยข้างเติบโตขึ้น และแย่งพื้นที่ของธุรกิจเครื่องดื่มประเภทอื่น ๆ ได้ ถึงแม้เราจะมีส่วนผสมที่เป็นน้ำส้มแท้เพียงนิดเดียวก็ตาม แต่ด้วยกำลังการซื้อของคนเวียดนามเองค่อยข้างต่ำ ราคาสินค้าเราจึงเหมาะสม และคนเวียดนามมองว่าเป็นเครื่องดื่มที่ไม่ทำลายสุขภาพ จึงถือได้ว่าเป็นโอกาสที่ดี ส่วนด้านอินเทอร์เน็ตแพร่หลายมากในเวียดนาม และแพคเกจจิ้งที่แตกต่างจากสินค้าอื่น ๆ มีผลในการเลือกซื้อด้วย”  

ในด้านเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพของเวียดนามไม่ได้เหมือนประเทศไทย ในเวียดนามใส่เพียงแค่วิตามิน ไม่ต้อง 100 % ก็ถือว่าเป็นสุขภาพแล้วเหมือนกัน สุขภาพราคาถูกไปได้ดีในเวียดนาม หากราคาสูงมาก ๆ จะไม่สามารถสู้คู่แข่งได้ เนื่องจากผู้ประกอบการในเวียดนามมีต้นทุนในการผลิตที่ต่ำกว่า และราคาของสินค้าก็ไม่สูงจึงทำให้เป็นความท้าทายในการทำการตลาดในประเทศเวียดนาม ทั้งนี้พฤติกรรมของชาวเวียดนามมักดื่มน้ำชากับน้ำแข็ง ซึ่งรับประทานมาเป็นเวลานานมากแล้ว ชาวเวียดนามเป็นคนรักสุขภาพ นอนเร็ว ตื่นเช้า ออกกำลังกาย ความได้เปรียบของผู้ประกอบการไทยในเวียดนาม คือในขนาดที่ผู้ประกอบการเวียดนามไม่ทันเห็นช่องทางของตนเอง เราต้องมองเห็นพัฒนาการสินค้าและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ทั้งนั้นชาวเวียดนามค่อนข้างมีความสนใจในสินค้าไทยเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว แต่อาจจะไม่สามารถติดต่อทำการค้าได้ เนื่องจากเรายังไม่แสดงตัว ดังนั้นผู้ประกอบการจึงควรไปออกมหกรรมงานแฟร์บ่อย ๆ เพื่อแสดงสินค้าในมือตนเอง นอกจากนี้คุณกานต์ ชัยวานิชกิจ ในข้อมูลเสริมว่า “ในด้านการทำธุรกิจโดยการขายตรง โดยส่วนตัวผมคิดว่าทุกคนต้องเอาตัวเองเป็นหลัก โอกาสที่เราจะไปเลือกตัวแทนเองเป็นได้ค่อนข้างยากในฐานะ ธุรกิจ SMEs เพราะเงินทุนเราค่อยข้างต่ำ สำหรับโอกาสหลัก ๆ ผมแนะเป็นการค้าชายแดน ที่ชายแดนจะมีตัวแทนจำหน่าย และกระจายสินค้าไปยังประเทศเวียดนาม เป็นการลดต้นทุนได้ดีครับ”

สำหรับแนวทางในการกำหนดกลยุทธ์ด้านผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพในประเทศเวียดนามมาตรฐานในการผลิตถือเป็นสำคัญ ถึงแม้สินค้าจะไม่ได้ผลิตจากธรรมชาติล้วน แต่ความปลอดภัยของผู้บริโภคสำคัญอย่างยิ่ง ต่อมาคือรสชาติที่ถูกปาก และราคาที่ไม่แพง การทำวิจัยการตลาดถือเป็นส่วนสำคัญในการหาช่องทางการทำธุรกิจของผู้ประกอบการ เพื่อให้สามารถทำการประชาสัมพันธ์สินค้าได้สอดคล้องกับผู้บริโภคชาวเวียดนามให้ได้มากที่สุด และเพื่อให้เกิดการพัฒนาให้เติบโตก้าวกระโดด