ผลสำรวจชี้ผู้สูงอายุไทยส่วนใหญ่มีเงินออมไม่เพียงพอใช้หลังเกษียณ


ประเทศไทยกำลังเดินเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ โดยที่มีอัตราคนอายุเกิน 60 ปี เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องเตรียมรับมือสถานการณ์ที่กำลังจะเกิดขึ้นในอีกไม่ช้านี้

หนึ่งในเรื่องที่ต้องเตรียมตัวกันตั้งแต่วันนี้ คือ “การวางแผนทางการเงิน” สำหรับไว้ใช้ในยามเกษียณอายุ โดยไม่ต้องเป็นภาระผู้อื่น อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่าคนไทยส่วนใหญ่ยังคงละเลยในเรื่องนี้ดูได้จากการศึกษาของศูนย์วิจัยธนาคารออมสินที่พบว่าผู้สูงอายุส่วนใหญ่ของไทยมีเงินออมไม่เพียงพอต่อการดำเนินชีวิตหลังเกษียณ

ทางศูนย์ฯ ได้จัดทำการสำรวจพฤติกรรมการออมของประชาชนฐานราก โดยเก็บกลุ่มตัวอย่างประชาชนที่มีรายได้ไม่เกิน 15,000 บาท จำนวน 2,186 ตัวอย่างทั่วประเทศ มีผลลัพธ์ดังต่อไปนี้

• ร้อยละ 61.6 ของกลุ่มตัวอย่างมีเงินออม ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2561 ที่อยู่ร้อยละ 32.2 โดยส่วนใหญ่ ของผู้ที่มีเงินออม

• ร้อยละ 79.9 มีการออมแบบรายเดือน จำนวนเงินออมเฉลี่ยอยู่ที่ 1,000 บาทต่อเดือน ถือว่าภาพรวมการเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 1 เท่าตัว แต่จำนวนเงินออมเฉลี่ยต่อครั้งลดลง

สำหรับวัตถุประสงค์การออมของประชาชนฐานราก

• ร้อยละ 87.5 ออมเพื่อใช้ยามฉุกเฉิน/เจ็บป่วย

นอกจากนี้ยังออมเพื่อเป้าหมายต่างๆ ได้แก่

• ร้อยละ 45.0 ออมเพื่อเก็บไว้ใช้ยามเกษียณ
• ร้อยละ 13.6 เป็นทุนประกอบ อาชีพ และเพื่อที่อยู่อาศัย
• ร้อยละ 12.3 ซื้อยานพาหนะ

รูปแบบการออมและการลงทุนของประชาชนฐานราก

• กลุ่มตัวอย่างลูกจ้างประจำจะออมกับหน่วยงาน/บริษัท เช่น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ/ประกันสังคม และฝากธนาคาร
• กลุ่มอาชีพอิสระจะฝากธนาคาร เก็บไว้ที่บ้าน และเล่นแชร์

อุปสรรคสำคัญที่ประชาชนฐานรากไม่สามารถออมเงินได้

• ร้อยละ 82.7 ไม่มีเงินเหลือไว้ออม
• ร้อยละ 55.5 มีเหตุจำเป็นต้องใช้เงิน
• ร้อยละ 28.0 มีภาระหนี้สิน

เงินสำรองของประชาชนฐานราก หากเกิดเหตุฉุกเฉินต้องหยุดงานหรือไม่มีรายได้

• ร้อยละ 33.7 ไม่มีเงินสำรองฉุกเฉินเลยซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มที่น่าเป็นห่วง
• ร้อยละ 33.3 มีเงินใช้จ่ายไม่เกิน 1 เดือน
• ร้อยละ 28.5 มีใช้จ่ายไม่เกิน 3 เดือน

หากมีเหตุฉุกเฉิน (ไม่มีรายได้) ประชาชนฐานรากจะทำอย่างไร ?

• ร้อยละ 83.4 เลือกที่จะขอยืมเงินจากคนในครอบครัว/ญาติ/คนรอบข้าง
• ร้อยละ 34.1 ขายทรัพย์สินของตนเอง
• ร้อยละ 33.1 จำนอง/จำนำทรัพย์สินของตนเอง