เศรษฐกิจฝืดเคืองทำความสุขประชาชนลดลง คนหันควบคุมค่าใช้จ่ายกันมากขึ้น


สวนดุสิตโพลทำการสำรวจหัวข้อเรื่อง อยู่อย่างไร? ให้มีความสุขในยุคเศรษฐกิจฝืดเคือง โดยเป็นผลมาจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยจนส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของประชาชนที่ต้องดิ้นรนทำมาหากินเพื่อให้ตัวเอง และครอบครัวอยู่รอด

โดยการสำรวจในครั้งนี้เป็นการถามความคิดเห็นของประชาชนจากกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,374 คน ซึ่งทำการสำรวจผ่านช่องทางออนไลน์ ตั้งแต่วันที่ 1-6 พฤศจิกายน 2563 มีบทสรุปออกมาดังต่อไปนี้

1.ภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน มีผลทำให้ความสุขของประชาชนเพิ่มขึ้นหรือลดลง

  • ร้อยละ 62.66 ลดลง
  • ร้อยละ 34.72 เท่าเดิม
  • ร้อยละ 2.62 เพิ่มขึ้น

2.ปัจจัยอะไรที่ส่งผลต่อความสุขของประชาชน

  • ร้อยละ 79.85 มีรายได้เพียงพอ
  • ร้อยละ 74.41 สุขภาพแข็งแรง
  • ร้อยละ 67.72 การงานมั่นคง
  • ร้อยละ 66.54 ครอบครัวอบอุ่น
  • ร้อยละ 58.31 สังคมปลอดภัย

3.ประชาชนมีวิธีสร้างความสุขให้ตนเองในยุคเศรษฐกิจฝืดเคืองได้อย่าไร

  • ร้อยละ 70.80 ต้องลด/ควบคุมค่าใช้จ่าย
  • ร้อยละ 50.99 ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง
  • ร้อยละ 47.25 หาทางเพิ่มรายได้
  • ร้อยละ 40.06 ทำงานอดิเรกที่ชอบ
  • ร้อยละ 39.10 ออกกำลังกาย

4.มาตรการใดของภาครัฐที่จะช่วยให้ประชาชนมีความสุขมากขึ้น

  • ร้อยละ 63.81 ลดค่าสาธารณูปโภค
  • ร้อยละ 52.68 ชดเชยรายได้
  • ร้อยละ 44.05 พักชำระหนี้
  • ร้อยละ 36.03 โครงการคนละครึ่ง
  • ร้อยละ 33.46 เลื่อนชำระและลดหย่อนภาษี

ผลการสำรวจที่ออกมาจะเห็นได้ว่าความสุขของประชาชนส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจอย่างเห็นได้ชัด นั่นหมายความว่าหากเศรษฐกิจดีประชาชนก็จะมีความสุข ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของรัฐบาลในการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อก่อให้เกิดการจับจ่ายใช้สอย เพราะหากประชาชนยังต้องควบคุม-ลดค่าใช้จ่าย เพื่อดำเนินชีวิตจะเป็นเครื่องสะท้อนให้เห็นว่าการแก้ปัญหาของรัฐบาลยังไม่ประสบความสำเร็จ