ก่อนจะไปที่ การขายของออนไลน์ไม่จดทะเบียนการค้าได้หรือไม่ มาดูกันว่าการจดทะเบียนการค้า หรือ การจดทะเบียนพาณิชย์ ในปัจจุบันมีอยู่ 2 รูปแบบ คือ
1. ทะเบียนพาณิชย์ (บุคคลธรรมดา) กรณีที่มีเจ้าของคนเดียว ไม่มีหุ้นส่วน สามารถตัดสินใจเองได้คนเดียวทั้งหมด โดยส่วนใหญ่จะเป็นธุรกิจขนาดเล็ก ลงทุนไม่สูงมาก มีการบริหารจัดการง่ายๆ ซึ่งจะเสียภาษีจากการคำนวณภาษีหลังหักค่าใช้จ่ายแล้วเท่านั้น ข้อดีคือได้กำไรคนเดียวไปเต็มๆ แต่หากธุรกิจประสบปัญหาขาดทุนก็ต้องแบกรับภาระคนเดียวทั้งหมด
2. ทะเบียนนิติบุคคล มีลักษณะเป็นการร่วมทุน และจัดตั้งธุรกิจ ตั้งแต่ 2 คนขึ้นซึ่งทุกการดำเนินการทางกฎหมายจะเป็นไปในนามกิจการทั้งหมด แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
- ห้างหุ้นส่วนจำกัดสามัญ ไม่จำเป็นต้องเป็นนิติบุคคลก็ได้ โดยหุ้นส่วนจะไม่จำกัดความรับผิดชอบในหนี้สิน กำไรจะรวมตรงไปอยู่ที่รายได้ของ และไม่ต้องนำไปเสียภาษีกิจการ แต่อาจดำเนินกิจการไปด้วยความล่าช้า เพราะทุกหุ้นส่วนจะมีอำนาจบริหารร่วมกัน และต้องตัดสินใจเรื่องต่างๆร่วมกัน เมื่อหุ้นส่วนผู้ใดถึงแก่ความตายหรือลาออกจากห้างหุ้นส่วน หรือล้มละลาย สัญญาเข้าเป็นหุ้นส่วนเป็นอันสิ้นสุด
- ห้างหุ้นส่วนจำกัด ต้องจดทะเบียนนิติบุคคล โดยแบ่งความรับผิดชอบของหุ้นส่วนเป็น 2 ประเภท คือ ‘ผู้รับผิดชอบในหนี้สินแบบจำกัดความรับผิดชอบ’ ซึ่งจะไม่สามารถตัดสินใจในธุรกิจได้ เมื่อธุรกิจเจ๊ง เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้ใช้หนี้จากสินทรัพย์ส่วนตัว และ ‘ผู้ที่รับผิดชอบหนี้สินแบบไม่จำกัด’ ซึ่งจะมีสิทธิตัดสินใจเรื่องต่างๆ ได้ทั้งหมด แต่เมื่อหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดชอบ ตาย ลาออก หรือล้มละลาย ไม่ต้องเลิกกิจการ และเสียภาษีแบบนิติบุคคล หากขาดทุนจึงไม่ต้องเสียภาษี
- บริษัทจำกัด ต้องจดทะเบียนนิติบุคคล มีหุ้นส่วน 3 คนขึ้นไป แบ่งทุนเป็นหุ้นมีมูลค่าเท่า ๆ กัน ผู้ถือหุ้นจะรับชอบหนี้สินไม่เกินจำนวนเงินค่าหุ้นที่ค้างชำระ ซึ่งกิจการรูปแบบนี้ต้องมีการวางแผนที่ดี และมีความน่าเชื่อถือ
ซึ่งการจดทะเบียนการค้า หรือจดทะเบียนพาณิชย์ จะช่วยสร้างความเชื่อมั่นจากคู่ค้า และความน่าเชื่อถือทางธุรกิจได้ เกิดการคุ้มครองทางกฎหมาย ช่วยเข้าถึงสวัสดิการต่างๆจากทางภาครัฐฯ และที่สำคัญยังช่วยเข้าถึงสินเชื่อได้ง่ายขึ้น
สำหรับผู้ที่ต้องจดทะเบียนการค้า ก็คือคนที่ทำธุรกิจเกือบทุกชนิด แต่กรมธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ก็ได้แบ่งธุรกิจที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องจดทะเบียนการค้าไว้ 6 กลุ่ม ดังนี้
1. การค้าเร่ การค้าแผงลอย
2. ธุรกิจเพื่อการบำรุงศาสนาหรือเพื่อการกุศล
3. ธุรกิจของนิติบุคคลซึ่งมีพระราชบัญญัติ หรือพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งขึ้น
4. ธุรกิจของหน่วยงานทางราชการ
5. ธุรกิจของมูลนิธิ สมาคม สหกรณ์
6. ธุรกิจของกลุ่มเกษตรกร
ดังนั้นหากธุรกิจออนไลน์ของคุณไม่เข้าข่ายใน 6 กลุ่มธุรกิจนี้ ก็ต้องจดทะเบียนการค้า เพื่อเป็นการปฏิบัติตามกฎหมาย และช่วยเพิ่มโอกาสการเข้าถึงสวัสดิการต่างๆ ที่หลายหน่วยงานพร้อมมอบให้ เป็นการต่อยอดธุรกิจที่ยังยืนได้อีกทาง โดยสามารถเข้าไปจดทะเบียนการค้าแบบออนไลน์ได้ที่เว็บไซต์ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
สำหรับใครที่ต้องการต่อยอดโอกาสธุรกิจ มองหาคอนเน็กชั่น หรือสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ อย่าลืมแวะไปที่งาน Smart SME EXPO 2019 ในแนวคิด #ที่เดียวจบพบทางรวย 4-7 กรกฎาคม 2562 ฮอลล์ 7-8 อิมแพ็คอารีน่า เมืองทองธานี
โดยผู้เข้าชมจะได้พบกับการรวบรวมแนวคิดการทำธุรกิจไว้มากมาย อาทิ โซนธุรกิจสุขภาพ-ความงาม โซนธุรกิจอาหาร-เครื่องดื่ม โซนนวัตกรรม โซนแฟรนไชส์ โซนสถาบันการเงิน และโซนสนับสุนนการทำธุรกิจ SMEs
ลงทะเบียนเข้าร่วมงานก่อนใครได้ที่ expo.smartsme.co.th
อ่าน: 7 เหตุผล ทำไมคนทำธุรกิจควรมางาน Smart SME Expo 2019
ผู้ประกอบการที่สนใจร่วมออกบูธ สามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ 08-6344-5358 , 09-4915-4624