ผ่าแนวคิดสู้โควิด พร้อมส่งต่ออาชีพสู่ชุมชน ของธุรกิจแม่ไก่ค้าส่ง


แม้เหตุการณ์วิกฤติในห้วงเวลาต่างๆ จะส่งผลกระทบต่อผู้คนมากมาย อาจมีทั้งล้มลง และถอดใจยอมละทิ้งความฝันไม่ไปต่อ แต่ในทางกลับกัน ผู้ที่พร้อมเผชิญหน้า พร้อมเรียนรู้และปรับตัว กลับลุกขึ้นมาเปลี่ยนปัญหาให้กลายเป็นโอกาสใหม่ได้อย่างน่าชื่นชม จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ขอพาทุกคนไปเรียนรู้แนวคิดและมุมมองดีๆ ของผู้บริหารบริษัท แม่ไก่ กรุ๊ป ที่สามารถเปลี่ยนสถานการณ์ยากลำบากให้เป็นพลัง พร้อมส่งต่อความคิดบวกสู่คนรอบข้าง และสังคม

เฮียไก่ ธนพล โวหารบัณฑิตย์ และเจ๊ไก่ กรรณิการ์ สิริทรัพย์เพิ่มโชค สองหัวเรือใหญ่ของ แม่ไก่ กรุ๊ป เล่าว่า ด้วยพฤติกรรมผู้บริโภคยุคนี้ที่ต่างต้องการความสะดวกสบาย และรวดเร็ว บวกกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 จึงต้องปรับตัวจากเดิมที่เน้นการขายสินค้ากลุ่มไส้กรอกรูปแบบต่างๆ ผ่านระบบโรงงาน สู่ตัวแทนจำหน่าย มาปรับรูปแบบธุรกิจใหม่ให้สอดรับกับผู้บริโภคมากขึ้น ด้วยการส่งต่อธุรกิจแฟรนไชส์ ซึ่งมีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย เรียกได้ว่าเป็นศูนย์รวมของสตรีทฟู้ด ให้เข้าถึงร้านค้า ตลาดนัด และแหล่งชุมชนต่างๆ

 

จากเดิมบริษัทจะเน้นไปที่ผลิตภัณฑ์หลักอย่างไส้กรอกอีสานแม่ไก่ ปัจจุบันเราได้พัฒนาสินค้าใหม่ๆ ออกมามากมาย เช่น ลูกชิ้น หมูปิ้ง ปูอัด ฮอทด็อก และสินค้าอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับสตรีทฟู้ด เพื่อเกิดการสร้างงานสร้างอาชีพกระจายไปยังชุมชนต่างๆ เรามองว่าธุรกิจเราเป็นรูปแบบโรงงาน ถ้าเรามีศักยภาพพอที่จะช่วยเหลือธุรกิจเล็กๆ อย่าง SMEs ได้ เราก็อยากเป็นพี่เลี้ยงทางธุรกิจเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนซึ่งกันและกัน บวกกับช่วงเวลานี้ การจะใช้เงินลงทุนทีละมากๆ ก็อาจเป็นเรื่องยากมากสำหรับ SMEs ซึ่งสินค้าเรามีมาตรฐาน ขายส่งในราคาโรงงาน และยังเป็นสินค้าที่เข้าถึงง่ายต่อผู้บริโภคยุคนี้ เราจึงสามารถช่วยต่อยอดให้ผู้ประกอบการรายเล็กได้

‘การทำธุรกิจอาหารทุกวันนี้ แค่อร่อย คุณภาพดี และสะดวกอย่างเดียวไม่ได้ เราจึงต้องพัฒนาให้เป็น Multi-Functional ในราคาค้าส่งที่สามารถควบคุมต้นทุนได้ ซึ่งต้องมาพร้อมกับระบบการบริหารจัดการที่ดีด้วย’

วันนี้เราได้นำระบบการบริหารจัดการมาใช้เป็นหัวใจหลักในการทำธุรกิจ จากเมื่อก่อนที่จะเน้นไปที่การชูเรื่องสินค้านำ ผ่านระบบตัวแทนจำหน่าย ซึ่งเราควบคุมมาตรฐานสินค้าได้ก็จริง แต่เราควบคุมการบริหารจัดการต่อจากนั้นไม่ได้ โดยหลังจากปรับรูปแบบธุรกิจมาเป็น ‘แม่ไก่ค้าส่ง’ เราก็นำระบบการบริหารจัดการมาใช้กับทุกขั้นตอนการทำงาน ตั้งแต่ระบบการผลิต พนักงาน การจัดซื้อ โลจิสติกส์ แฟรนไชส์ ไปจนถึงระบบการขายผ่านออนไลน์-ออฟไลน์ ซึ่งการวางระบบให้ได้มาตรฐานก็เพื่อส่งต่อให้แบรนด์ ‘แม่ไก่ค้าส่ง’ มีความแข็งแรงมากขึ้นในอนาคต และเกิดความเชื่อมั่นไว้วางใจจากผู้บริโภคในวงกว้าง

 

‘เรามองว่าทุกอย่างเป็นเหมือนการเรียนรู้ เราก็เป็นหนึ่งคนที่เรียนรู้ไป พร้อมกับทำไป เพราะเราไม่ได้มีความกลัว เราเรียนรู้ตั้งแต่เริ่มทำ Business Model เพราะถ้ารอให้ร้านเสร็จก็คงไม่ได้ทำ พอทำไปเราก็ได้เห็นว่ามีปัญหาอะไรจะต้องปรับแก้บ้าง’

ก่อนที่เราจะมาปรับแก้เรื่องระบบอย่างจริงจัง เราไม่ค่อยได้ให้ความสำคัญกับการตลาดออนไลน์มากนัก เมื่อก่อนเวลาเราไปออกบูธตามงานต่างๆ เราก็เพียงแค่นำสินค้าไปขายแล้วให้คนลองชิม แต่ในวันนี้ เมื่อทุกอย่างเปลี่ยนไป ทำให้เราต้องใส่ใจทั้งการตลาดออนไลน์ และออฟไลน์มากขึ้น เพื่อให้แฟรนไชส์เราแข็งแรง และแฟรนไชส์ซีที่มาร่วมลงทุนกับเราเกิดความมั่นใจในแบรนด์ ถึงแม้ว่าจุดแข็งของเราคือเรื่องสินค้า แต่เรื่องระบบเราก็ต้องแก้ไข เราจึงต้องเรียนรู้อุปสรรคควบคู่กับการลงมือทำ ดีกว่ารอให้ครบ 100% แล้วค่อยทำ เพราะสุดท้ายตัวลูกค้าเองที่จะเป็นคนตอบว่าใช่หรือไม่ใช่ ดีหรือไม่ดี ไม่ใช่เราเป็นคนตอบ ซึ่งหลายคนมักติดที่ความคิดนี้ จึงพยายามทำสิ่งต่างๆ มามากมายโดยไม่พยายามเรียนรู้ลูกค้าเลย ว่าสิ่งที่เขาต้องการจริงๆ นั้นคืออะไร

 

 

‘สิ่งที่เป็นจุดเปลี่ยนของเรา เกิดจากในช่วงโควิด-19 ทำให้ลูกค้าของเราจากที่มีอยู่เดิม 100% ได้หายไปเกือบครึ่ง จากปัญหาด้านต่างๆ ที่ส่งผลกระทบตามมา’

โควิด-19 ทำให้ลูกค้าของเราหายไปเกือบครึ่ง แต่คนที่เหลืออยู่ เราพบว่าเขาเป็นคนเก่ง คนเจ๋งที่มีภูมิต้านทานแข็งแรง และเป็นนักกีฬามาราธอนที่มีความอึด เมื่อเจอวิกฤติหลายคนจะได้รู้ว่าคนที่รักคุณจริงๆ เหลือใครบ้าง และคนที่แข็งแกร่งทางด้านความคิดมีอยู่กับคุณจริงๆ กี่คน เราจึงไปสำรวจผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จเหล่านี้ว่าพวกเขาอยู่ได้ยังไง ส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นให้บริการที่ดีกับผู้บริโภคเป็นสิ่งสำคัญ และสามารถสร้างความมั่นใจให้ผู้บริโภคได้ โดยสินค้าต้องจัดเต็มหน้าร้านย่างสดใหม่ เน้นขายในสิ่งที่ลูกค้าเขาต้องการเท่านั้น และผักต้องสดสะอาด ซึ่งถือเป็นเสน่ห์ และการสร้างความประทับใจตั้งแต่แรกเห็นของธุรกิจสตรีทฟู้ด

‘ธุรกิจแฟรนไชส์ไม่ใช่การขายแบบ Hard Sale แต่เป็นเหมือนการทำธุรกิจแบบเพื่อน หรือการแต่งงานกัน เพราะเมื่อเราเรียนรู้ซึ่งกันและกันแล้วก็จะเกิดเป็นสังคมเล็กๆที่น่าอยู่’

การทำธุรกิจแฟรนไชส์คือการเรียนรู้ซึ่งกันและกันระหว่างแฟรนไชส์ซีกับแฟรนไชส์ซอว์ เพราะเมื่อเราเรียนรู้ซึ่งกันและกันแล้วก็จะเกิดเป็นสังคมเล็กๆที่น่าอยู่ เรามองว่าสิ่งที่เราทำเป็นจุดเล็กๆ แต่ต้องเริ่มก่อนเพื่อเกิดการต่อยอดกันไปเรื่อยๆ วันนี้เราอยากทำให้คนมีรายได้ อยากให้พนักงานของเรามีความสุข เพราะถ้าเราไม่สามารถเลี้ยงดูตัวเองได้ ก็ไม่สามารถช่วยคนอื่นได้ ซึ่งมันจะยั่งยืนมากกว่า มันเหมือนกับสังคมบ้านนอกตามต่างจังหวัด ที่เค้าจะส่งต่อการให้และรับต่อๆไป…ไม่สิ้นสุด

 

ธุรกิจแม่ไก่ค้าส่ง 02-100-1605 , 082-553-2896

www.maekai.co.th