ภาพรวมตลาดธุรกิจแฟรนไชส์ในออสเตรเลีย รายงานโดย IBIS World ระบุว่า ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ตลาดธุรกิจแฟรนไชส์ในออสเตรเลียมีการขยายตัวระดับปานกลาง เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 3.4 ต่อปี แต่ในปี 2560-2561 ตลาดธุรกิจแฟรนไชส์จะขยายตัวร้อยละ 2.6 มีมูลค่าตลาด 178 พันล้านเหรียญออสเตรเลีย โดยธุรกิจแฟรนไชส์ที่มีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง ได้แก่
- ธุรกิจบริการดูแลผู้สูงอายุ (Aged-care services)
- บริการขนส่ง (Couier services)
- บริการด้านสุขภาพ (heatth serices)
- และธุรกิจค้าปลีกสินค้าอาหาร (food retail)
เนื่องจากขาวออสเตรเลียมีอายุยืนขึ้นทำให้มีจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น การเติบโตของตลาดซื้อขายสินค้าออนไลน์และการใส่ใจต่อสุขภาพของชาวออสเตรเสียประกอบกับปัจจัยทางเศรษฐกิจ เช่น การเติบโตของตลาดแรงงาน รายได้ประชากรสุทธิ ความเชื่อมั่นผู้บริโภค เป็นแรงกระตุ้น สภาธุรกิจแฟรนไชส์แห่งออสเตรเลีย (Franchise Council Australia) ระบุว่า ธุรกิจแฟรนไชส์ในออสเตรเลียเป็นหนึ่งในธุรกิจที่มีการเติบโตและมีมูลค่าตลาดร้อยละ 4 ของ GDP ปัจจุบันมีธุรกิจแฟรนไชส์รวม 1,746 แบรนด์ มีเจ้าของแฟรนไชส์ รวม 5,591 ราย มีร้านแฟรนไชส์ประมาณ 79,00 แห่งและมีการจ้างงานกว่า 470,000 ตำแหน่งทั่วประเทศ ทำให้ธุรกิจแฟรนไชส์เป็นธุรกิจขนาดใหญ่และขยายตัวได้ดีทั้งธุรกิจประเภทสินค้าและบริการ
ประเภทธุรกิจแฟรนไชส์และการแข่งขันในตลาด
ตลาดธุรกิจแฟรนไชส์ในออสเตรเลีย มีทั้งการขายสินค้าและการให้บริการ แยกประเภทได้ดังนี้
1. ธุรกิจค้าปลีกร้อยละ 27.1 (ร้านซูเปอร์มาร์เก็ต หนังสือ เฟอร์นิเจอร์และอุปกรณ์กีฬา ฯลฯ)
2. ธุรกิจบริการที่พักอาศัยและบริการอาหารร้อยละ 18.1 (โรงแรม อพาร์ทเมนต์ ร้านอาหารและร้านคาเฟ่)
3. ธุรกิจบริการประเภท Administration และ Support services ร้อยละ 14.7 (บริการท่องเที่ยวและบริการสำนักงาน บริการทำความสะอาดบ้านและสวน)
4. ธุรกิจบริการเฉพาะด้าน ร้อยละ 10.5 (อู่ซ่อมรถยนต์ ธุรกิจดูแลสัตว์เลี้ยง บริการด้าน IT ร้านเสริมสวย)
5. ธุรกิจประเภทอื่น ๆ ร้อยละ 29.6
ทั้งนี้ ธุรกิจแฟรนไชส์ ร้อยละ 86 ในตลาดออสเตรเลียเป็นธุรกิจของออสเตรเลียเอง โดยมีธุรกิจประเภทอาหารจะได้รับความนิยมมากที่สุด เช่น Donut King, Michel’s Patisserie, Gloria Jean’s Coffees และ Crust Gourmet Pizza Bar
การแข่งขันในตลาด
การแข่งขันในตลาดธุรกิจแฟรนไชส์อยู่ในระดับปานกลางและมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากธุรกิจแฟรนไชส์ออสเตรเลียมีข้อบังคับและการกีดกันในการเข้าตลาดน้อย ทำให้ธุรกิจสามารถเปลี่ยนรูปแบบเป็นแฟรนไชส์เพื่อเข้าสู่ตลาดได้ง่าย อย่างไรก็ตามการแข่งขันส่วนใหญ่อยู่ในธุรกิจสินค้าอาหารและธุรกิจค้าปลีกมากกว่าธุรกิจบริการเฉพาะด้าน โดยเป็นการแช่งขันด้านราคา ประเภทสินค้าที่หลากหลายและความแข็งแกร่งของตราสินค้า รวมไปถึงธุรกิจที่ใช้บริการผ่านช่องทางออนไลน์ (บริการทางการเงินและบริการท่องเที่ยว) และธุรกิจแฟรนไชส์ข้ามชาติ อาทิ IGA (USA) Subway, McDonald, KEC, Domino’s Pizza, Pizza Hut, Nando’s, Red Roaster, 7- Eleven และ Blockbuster อีกด้วย
ธุรกิจแฟรนไชส์รายใหญ่ในออสเตรเลียประกอบด้วย
1. Metcash Limited มีสัดส่วนตลาดร้อยละ 5.6 ดำเนินธุรกิจค้าปลีกค้าส่งสินค้าอาหาร เครื่องดื่ม
แอลกอฮอล์ อุปกรณ์ Hardware ภายใต้แบรนต์ IGA ทั้งหมด Foodland FoodWork Luck7 ALM
(Australian Liquor Marketers) Cellarbrations Bottle-O และ Mitre 10 มีมูลค่าตลาด 13.7
พันล้านเหรียญออสเตรเลีย
2 Harvey Norman Holdings Ltd มีสัดส่วนตลาดร้อยละ 3.6 จำหน่ายเครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าและ
อุปกรณ์ Hardware มีมูลค่าตลาด 6.3 พันล้านเหรียญออสเตรเลีย
3. Retail Food Group Limited ดำเนินธุรกิจแฟรนไชส์ภายใต้แบรนด์ต่างๆ อาทิ Donut King,
Brumby’s Bakery, Michel’s Patisserie, Esquires Coffee, bb’s cafe, Gloria Jean’s
Coffees, Cafe2U, The Coffee Guy, Caffee Coffee, Pizza Capers และ Crust Gourmet
Pizza Bar มีมูลค่าตลาด 3.6 พันล้านเหรียญออสเตรเลีย
4. McDonald มีมูลค่าตลาด 1.9 พันล้านเหรียญออสเตรเลีย
5. 7-Eleven มูลค่าตลาด 1.4 พันล้านเหรียญออสเตรเลีย เป็นต้น
ทั้งนี้ จะเห็นว่า ธุรกิจแฟรนไชส์ ที่มีสัดส่วนตลาดเป็นส่วนมากในตลาดออสเตรเลียมีทั้งธุรกิจแฟรนไชส์จากต่างประเทศและธุรกิจแฟรนไชส์ของออสเตรเลียเอง
โดยธุรกิจแฟรนไชส์ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในเขตเมืองใหญ่ที่สำคัญ มีสัดส่วนดังนี้ ตั้งอยู่ในรัฐนิวเซาท์เวลส์ มากที่สุด มีสัดส่วนร้อยละ 27.2
รองลงมาคือ รัฐวิกตอเรียร้อยละ 25.1 รัฐควีนส์แลนด์ ร้อยละ 23.2 และ รัฐเวสเทิร์นออสเตรเลียร้อยละ 11.1 ตามลำดับ
ที่มา : IBS World
ธุรกิจแฟรนไชส์ 10 อันดับชั้นนำที่ประสบความสำเร็จในตลาดออสเตรเลีย
1. Poolwerx (ธุรกิจทำความสะอาดสระน้ำ) เงินลงทุน 50,000 – 100,000 เหรียญออสเตรเลีย
2. Battery world (จำหน่ายแบตเตอรี่ยานยนต์และอุปกรณ์ต่าง ๆ ) เงินลงทุน 200,000 – 150,000 เหรียญออสเตรเลีย
3. Foodco (ธุรกิจร้านคาเฟ่) เงินลงทุน 250,000 – 500,000 เหรียญออสเตรเลีย
4. Coffee Club (ธุรกิจร้านคาเฟ่ และมีผู้ประกอบการไทยเป็นผู้ถือหุ้น) เงินลงทุน 450,000 – 700,000 เหรียญออสเตรเลีย
5. Mad Mex (ธุรกิจร้านอาหารเม็กซิกัน) เงินลงทุน 375,000 – 450,000 เหรียญออสเตรเลีย
6. Gutter-Vac (ธุรกิจทำความสะอาดภายในบ้าน) เงินลงทุน 80,000 – 120,000 เหรียญออสเตรเลีย
7. Gelatissimo (ธุรกิจไอศกรีม) เงินลงทุน ตั้งแต่ 250,000 เหรียญออสเตรเลียขึ้นไป
8. Roll’d (ธุรกิจร้านอาหารเวียดนาม) เงินลงทุน 350,000 – 500,000 เหรียญออสเตรเลีย
9. Skinny’s Grill (ธุรกิจร้านอาหารเพื่อสุขภาพ มังสวิรัติ และ Gluten free) เงินลงทุน 200,000 – 400,000 เหรียญออสเตรเลีย
10. Baker’s Delight (ธุรกิจร้านขนมปัง) เงินลงทุน 350,000 – 500,000 เหรียญออสเตรเลีย
ที่มา : businessfranchiseaustralia.com.au
นอกจากธุรกิจแฟรนไชส์ข้างต้นแล้ว ยังมีธุรกิจแฟรนไชส์ที่ได้รับรางวัลธุรกิจแฟรนไชส์ยอดเยี่ยมแห่งปี 10 อันดับแรก คือ
- Gutter-Vac (ธุรกิจทำความสะอาดภายในบ้าน)
- Smartline Mortgage Advisers (ธุรกิจบริการทางการเงิน)
- Ferguson Plarre Bakehouse (ธุรกิจร้านเบเกอรี่)
- Mister Minit (ธุรกิจบริการซ่อมเบ็ดเตล็ด เช่น รองเท้า ตัดกุญแจ นาฬิกา)
- Soul Orgin (ธุรกิจร้านเกาหลี)
- Kwk Kopy (ธุรกิจออกแบบและผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ)
- Snooze (ธุรกิจร้านเฟอร์นิเจอร์)
- Mrs Feld (ธุรกิจขนมขบเคี้ยว)
- Cafe2U (ธุรกิจรถขายกาแฟเคลื่อนที่)
- และ Bridgestone Select (ธุรกิจอุปกรณ์อะไหล่ยานยนต์) เป็นต้น
Source : กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์