จีนเตือนแบรนด์ชาติตะวันตกอย่าใช้แรงงานอุยกูร์เป็นเครื่องมือ ชี้ไม่มีใครอยากซื้อสินค้าแล้ว


H&M และบริษัทอื่น ๆ ที่ดำเนินธุรกิจในจีนกำลังเผชิญกับความไม่แน่นอน หลังจากออกมาวิพากษ์วิจารณ์การบังคับใช้แรงงานชาวอุยกูร์ในซินเจียง จนกลายเป็นกระแสแบนสินค้าไปในที่สุด

H&M, Burberry, Nike, Adidas รวมถึงแบรนด์อื่น ๆ จากตะวันตกกำลังถูกบอยคอตจากผู้บริโภคชาวจีนอย่างหนัก เมื่อออกมาพูดถึงการจัดหาผ้าฝ้ายในซินเจียง อีกทั้งเรื่องนี้ยิ่งเพิ่มความตึงเครียดเข้าไปอีก เพราะว่าสหรัฐฯ และรัฐบาลจากชาติตะวันตกเพิ่มความกดดันต่อจีนที่ตั้งข้อสงสัยถึงการละเมิดสิทธิมนุษยชน

เรื่องนี้กลายเป็นความขัดแย้งขึ้นขึ้นมา เมื่อผู้ใช้สื่อโซเชียลมีเดียชาวจีนมีการขุดคุ้ยประกาศของ H&M ในปี 2020 ที่ระบุว่าจะไม่สนับสนุนผ้าฝ้ายที่มาจากซินเชียงอีกต่อไป โดยบริษัท กล่าวว่าถึงเวลาที่ต้องตัดสินใจ เนื่องจากความยากลำบากในการตรวจสอบสถานะความน่าเชื่อถือที่เป็นไปอย่างยากลำบาก หลังจากมีรายงานจากสื่อในเรื่องบังคับใช้แรงงานซึ่งขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชนในซินเจียง

อย่างไรก็ตาม ทางการจีนก็ออกมาปฏิเสธเรื่องนี้แทบทุกครั้ง โดย Xu Guixiang โฆษกรัฐบาลภูมิภาคในซินเจียงให้สัมภาษณ์กับนักข่าวว่า บริษัทไม่ควรพูดเปลี่ยนเรื่องเศรษฐกิจให้เป็นเรื่องการเมือง และ H&M จะไม่สามารถทำรายได้ในตลาดจีนอีกต่อไป

“เราปฏิเสธการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ และละเมิดสิทธิมนุษยชนในซินเจียง ดูเหมือนว่ามหาอำนาจชาติตะวันตกมีส่วนร่วมทางการเมือง เพื่อให้เกิดการคว่ำบาตรจีน”

เช่นเดียวกับ Elijan Anayat โฆษกรัฐบาลซินเจียงอีกคน กล่าวว่าผู้บริโภคชาวจีนไม่ต้องการใช้สินค้าจาก H&M, Nike ที่ไม่สนับสนุนผ้าฝ้ายที่มาจากซินเชียง ซึ่งตนได้เทียบเชิญบริษัทเหล่านี้ให้เดินทางไปยังสถานที่จริงว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้าง

อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ดูเหมือนจะกลายเป็นเรื่องบานปลายไปในระดับภูมิภาค โดยมีการออกแคมเปญที่เรียกว่า “state-led” ในจีนเพื่อต่อต้านสหรัฐฯ และบริษัทประเทศอื่น ๆ ที่ไม่สนับสนุนผ้าฝ้ายที่มาจากซินเจียง ด้านประเทศในฝั่งตะวันตก ไม่ว่าจะเป็น สหราชอาณาจักร, แคนาดา, สหภาพยุโรป และสหรัฐฯ ต่างออกมาคว่ำบาตรจีน ในเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นในซินเจียง

ในเดือนมกราคม 2021 สหรัฐฯ ประกาศแบนผ้าฝ้ายทั้งหมดที่นำเข้า และผลิตภัณฑ์มะเขือเทศที่มาจากซินเจียง เนื่องจากมีข้อกล่าวหาเรื่องการบังคับใช้แรงงานชาวอุยกูร์

แน่นอนว่าเรื่องที่เกิดขึ้นได้สร้างความไม่พอใจให้กับชาวจีนเป็นอย่างมาก จนนำมาสู่การบอยคอตสินค้าไปสู่แบรนด์อื่น ๆ ในวงกว้าง ซึ่งต้องมาดูกันว่าบทสรุปในเรื่องนี้จะจบลงอย่างไร

ที่มา: reuters

เรื่องที่เกี่ยวข้อง