กลยุทธ์สร้างยอดจองคิวเข้าร้านให้เต็มข้ามปี ด้วย “เว็บไซต์อีคอมเมิร์ซ”


ใครที่กำลังมองหาเทคนิคใหม่ เพื่อดึงฐานลูกค้าออนไลน์มาใช้บริการที่หน้าร้าน ขอพาไปพบกับการสร้างสรรค์ “เว็บไซต์อีคอมเมิร์ซ” รูปแบบใหม่ ของผู้พัฒนาชั้นนำอย่าง “ฟิวชั่น โซลูชั่น” เพื่อผลักดันผลักดันธุรกิจร้านอาหาร “มหาสาร” ให้เติบโต จนสามารถเปลี่ยนลูกค้าขาจรและมาเป็นฐานลูกค้าขาประจำได้อย่างมั่นคง ผ่านการรับลูกค้าเฉพาะที่จองคิวมาทางเว็บไซต์เพียงเท่านั้น

 

 

คุณแบงค์ ณัฐพงศ์ ราชเล็ก เจ้าของร้านมหาสาร (Mahasan) เล่าว่า ร้านมหาสารเป็นสเต็กเฮ้าส์ราคาระดับกลาง ตั้งอยู่ในซอยจันทร์ 23/1 ปัจจุบันเปิดมาแล้วกว่า 4 ปี จุดแข็งของร้านคือความพิถีพิถันในการคัดเลือกเนื้อวัวเกรดคุณภาพทั้งในไทยและจากต่างประเทศมาผ่านการปรุงรูปแบบต่าง ๆ โดยทางร้านได้รับรางวัลจากเชลล์ชวนชิม Wongnai Users’ Choice ฯลฯ ภายในร้านมีจำนวน 12 โต๊ะ รองรับลูกค้าได้รอบละ 50-70 คน ทำยอดขายเฉลี่ยที่ 70,000 บาทต่อวัน

 

ด้วยทางร้านเน้นให้บริการผ่านการจองคิวมาตั้งแต่วันแรกที่เปิดให้บริการ เพราะมองถึงการควบคุมต้นทุนวัตถุดิบ จึงผ่านการลองผิดลองถูกจากการจองรูปแบบต่าง ๆ มามากมาย ทั้งในเฟซบุ๊ก อีเมล ฯลฯ จึงมักประสบปัญหาเรื่องโต๊ะหลุดจองบ่อยครั้ง รวมถึงการเก็บข้อมูลลูกค้าที่ยุ่งยาก ทำได้ไม่ครบถ้วนตกหล่น ต่อมาจึงมองหาช่องทางที่เป็นของตัวเองด้วยการให้ลูกค้าเข้ามาจองผ่านเว็บไซต์ https://www.mahasanbkk.com/ โดยจะเปิดให้ลูกค้าเข้ามาจองในทุก ๆ 3 เดือน ทำให้จัดการปัญหาได้ดีขึ้น

 

 

หนึ่งในผู้พัฒนาที่ร้านมหาสารเลือกใช้บริการคือบริษัท ฟิวชั่น โซลูชั่น (Fusion Solution) ซึ่งเป็นผู้พัฒนาบริการ “Azure Platform” บนเว็บไซต์ สำหรับช่วยรองรับการจองและโต๊ะหลุดจอง เนื่องจากมองว่าเป็นผู้พัฒนาระบบที่ทำออกมาให้ใช้งานง่าย มีความยืดหยุ่น สามารถปรับแต่งได้ตามความต้องการ ทั้งยังเป็นองค์กรมืออาชีพที่มีพาร์ทเนอร์เป็นแพลตฟอร์มระดับโลกอย่าง Microsoft จึงมั่นใจได้ในเรื่องของระบบที่มีความรวดเร็ว ปลอดภัย บวกกับประสบการณ์ของบริษัทที่อยู่ในสายเทคโนโลยีมายาวนานกว่า 17 ปี จึงสามารถเชื่อมโยงเครื่องมือ และแก้ปัญหาให้ทางร้านได้ครบ และยังให้คำปรึกษาเรื่องระบบเว็บไซต์หลังบ้านมาโดยตลอด

 

 

นอกจากนี้ Fusion Solution ยังตอบโจทย์เรื่องการออกแบบ UX/UI รวมไปถึงการพัฒนาระบบเพื่อทำโปรโมชั่นส่วนลด แลก แจก แถม การปรับแต่งภาพ เครื่องมือสำหรับพัฒนาคอนเทนต์เพื่อรองรับการทำ SEO ไปจนถึงการจับพฤติกรรมลูกค้าที่เปิดเข้ามาดูเว็บไซต์เพื่อหา Customer Insight ทั้งระบบยังสามารถเชื่อมโยงการทำระบบบัญชี และโลจิสติกส์ได้อีกด้วย

 

“ผมเปิดร้านมาควบคู่กับเทคโนโลยี แต่ด้วยความรู้ในเรื่องเทคโนโลยีมีไม่มากนัก ระหว่างที่เปิดร้านมาจึงมองหาโอกาสจากการใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ อยู่เสมอ เพราะทำให้เราบริหารจัดการร้านได้ง่ายขึ้น ยิ่งในยุคนี้มีความจำเป็นใช้เทคโนโลยีมากขึ้น ดังนั้น การปรับปรุงร้านให้ดี การพัฒนาฝีมือในการปรุงอาหาร และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีจึงต้องมาควบคู่กัน เพราะต่อให้ทำร้านดีแค่ไหน แต่ถ้าไม่มีเครื่องมือมาซัพพอร์ทกลุ่มลูกค้าที่อยู่ในออนไลน์ ยุคนี้ก็คงหาลูกค้ายาก เราจึงมององค์ประกอบเหล่านี้เป็นหัวใจสำคัญ” ณัฐพงศ์ ราชเล็ก

 

 

สรุปได้ว่า ด้วยทุกวันนี้การค้าขายออนไลน์ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงในแพลตฟอร์มใดแพลตฟอร์มหนึ่ง เพราะล้วนเต็มไปด้วยโอกาสมากมาย แต่ในทุกแพลตฟอร์มก็ยังมีทั้งข้อดีและข้อเสีย เช่น การฝากขายสินค้าใน E-Marketplace อย่าง ช้อปปี้ ลาซาด้า ฯลฯ ที่เต็มไปด้วยคู่แข่ง ทั้งยังมาพร้อมกับค่า GP มากมาย ส่วนการขายผ่าน Social Commerce อย่างในเฟซบุ๊ก ไอจี ฯลฯ ก็มักประสบปัญหาเรื่องการลดจำนวนการมองเห็น ทำให้ต้องใช้เงินซื้อโฆษณาแพง ๆ ดังนั้น การสร้างแพลตฟอร์มของตัวเองและช่วยปิดการขายได้ด้วย อย่าง “เว็บไซต์อีคอมเมิร์ซ” ก็จะทำให้ SMEs สามารถปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ทางการตลาดได้ตลอดเวลา ทั้งยังช่วยให้มีตัวตนที่ชัดเจน เกิดความน่าเชื่อถือ เพื่อก้าวไปได้อย่างยั่งยืนมากขึ้น

สนใจใช้บริการพัฒนา “เว็บไซต์อีคอมเมิร์ซ” จาก Fusion Solution ติดต่อ
02-440-0408 , 02 862 2080 , 02 862 2502-3
https://www.fusionsol.com/