เรียนรู้อาหารการกินเพื่อนบ้าน AEC


อาหารของแต่ละประเทศมักมีที่มาจากภูมิปัญหาท้องถิ่น และทรัพยากรที่มีอยู่ในพื้นที่ ดังนั้นอาหารจึงเป็นสิ่งหนึ่งที่บ่งบอกถึงเอกลักษณ์วัฒนธรรมของแต่ละประเทศได้ดีที่สุด ในการเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนภูมิภาคที่มีความแตกต่าง และคล้ายคลึงในวัฒนธรรมและภาษา สิ่งหนึ่งที่ผู้ประกอบการควรรู้จักคืออาหารประจำชาติ เพื่อให้อาหารเหล่านี้ เปรียบเสมือนทูตวัฒนธรรมนำพาไปสู่การหล่อมรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของภูมิภาคสืบต่อไป

 

 

ประเทศไทย

ต้มยำกุ้ง (Tom Yum Goong) อาหารขึ้นชื่อของประเทศไทย ที่ไม่ว่าชาติก็ต้องรู้จัก ด้วยการสอดประสานรสชาติ เปรี้ยว เค็ม เผ็ด ไว้อย่างกลมกล่อม มาพร้อมกลิ่นหอมเครื่องเทศแบบไทย ๆ ทำให้รู้สึกสดชื่น และกระตุ้นให้เจริญอาหาร บ่งบอกถึงความเป็นอันดับ 1 ในการส่งออกกุ้งของไทย และคุณภาพอุตสาหกรรมการประมง รวมถึงอุตสาหกรรมการเกษตร ที่อุดมสมบรูณ์ของไทย

 

 

 

ประเทศกัมพูชา

อาม็อก (Amok) ปรุงขึ้นมาจากเนื้อปลาสด ลักษณะคล้ายห่อหมกของไทย ปรุงรสด้วยเครื่องแกง และกะทิ ใช้วิธีลวกปลาก่อน จึงปรุงรส และนำไปนึ่งอีกครั้ง ชาวกัมพูชานิยมรับประทานปลา บ่งบอกถึงความอุดมสมบรูณ์ของแหล่งน้ำ ทำให้ปลารับประทานได้ง่าย ในส่วนของการประมง บริเวณรอบทะเลสาบเขมร ถือเป็นแหล่งประมงน้ำจืดที่สำคัญที่สุดในภูมิภาคเลยที่เดียว

 

 

ประเทศบรูไน

อัมบูยัต (Ambuyat) มีลักษณะเป็นแป้งเหนียวข้น ๆ หนืด ๆ ใช้แป้งสาคูเป็นส่วนผสมหลัก ไม่มีรสชาติ นิยมรับประทานคู่กับเป็นซอสผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว และมีเครื่องเคียงเป็นเนื้อห่อใบตองย่าง หรือเนื้อทอด ปลาพร้อมผักสด เนื่องจากชาวบรูไนส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม จึงมีความนิยมในการรับประทานเนื้อวัว อาหารฮาลาลมีความเป็นไปได้สูงมากในการส่งออกไปบรูไน ทั้งนี้ นอกเหนือจากอุตสาหกรรมน้ำมัน บรูไนยังมีอุตสาหกรรมอื่น ๆ ภายในประเทศ อาทิ การผลิตอาหาร และปลากระป๋อง เป็นต้น

 

 

ประเทศเมียนมาร์

หล่าเพ็ด (Lahpet) มีลักษณะคล้ายเมี่ยงคำของไทย โดยใช้ใบชาหมักทานคู่กับเครื่องเคียงที่เป็นธัญญะพืช อาทิ ถั่วชนิดต่าง ๆ งา มะพร้าวคั่ว พร้อมด้วยกุ้งแห้ง ขิง และกระเทียมเจียว รับประทานคู่กับน้ำจิ้มที่เป็นการเคี้ยวน้ำตาลกับน้ำมะขามเปียกให้เข้ากัน ทั้งนี้ชาวนิยมรับประทานในโอกาสพิเศษ หรือเทศกาลสำคัญ หากงานเลี้ยง หรืองานเฉลิมฉลองใด ไม่มีหล่าเพ็ดจะถือว่าการนั้นเป็นงานที่ไม่ความสมบูรณ์ไปเลยทีเดียว แสดงให้เห็นถึงความเชื่อในเรื่องสิริมงคลของชาวเมียนมาร์

 

 

ประเทศฟิลิปปินส์

 อโดโบ้ (Adobo) เป็นอาหารนิยมของชาวฟิลิปปินส์ ผลิตจากเนื้อหมู หรือไก่ ที่หมักเอาไว้ แล้วจึงนำมาปรุงรส ด้วยน้ำส้มสายชู ซีอิ๊วขาว กระเทียมสับ ใบกระวาน และพริกไทยดำ จากนั้นจึงไปอบ หรือทอด รับประทานกับข้าวสวยร้อน ๆ ในอดีตนิยมรับทานในหมู่นักเดินทาง เนื่องจากเก็บไว้ได้นาน ฟิลิปปินส์เป็นประเทศที่มีวัฒนธรรม และศิลปะที่เป็นสไตล์เป็นของตัวเองมากที่สุด ชอบศิลปะพลาสติกประติมากรรมและภาพวาด รวมถึงศิลปะการเต้น และเป็นประเทศที่มีศิลปินที่มีชื่อมากอันดับต้น ๆ ของโลกเลยที่เดียว

 

 

ประเทศสิงคโปร์

ลักซา (Laksa) มีลักษณะคล้ายก๋วยเตี๋ยวต้มยำ แต่ใส่กะทิ รสชาติเหมือนข้าวซอย อาหารภาคเหนือของไทยโดยมีส่วนผสมคือ กุ้งแห้ง พริก กุ้งต้ม และหอยแครง นั้นอาจเป็นเพราะประเทศสิงคโปร์เป็นประเทศที่ติดทะเลจึงทำให้อาหารทะเลหารับประทานได้ง่าย ภูมิประเทศของสิงคโปรในภาคกลางและภาคตะวันตกเป็นเนินเขา ซึ่งเนินเขาทางภาคกลางเป็นเนินเขาที่สูงที่สุดของประเทศ และเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำสายสำคัญของประเทศ ภาคตะวันออกเป็นที่ราบต่ำ ชายฝั่งทะเลมักจะต่ำกว่าระดับน้ำทะเล จึงต้องมีการถมทะเลนั้นเอง

 

 

ประเทศอินโดนีเซีย

กาโด กาโด (Gado Gado) เป็นอาหารที่อุดมไปด้วยผัก และธัญพืชหลากหลายชนิด ทั้งแครอท มันฝรั่ง กะหล่ำปลี ถั่วงอก ถั่วเขียว นอกจากนี้ยังมีเต้าหู้ และไข่ต้มสุกด้วย รับประทานคู่กับซอสถั่วที่คล้ายกับซอสหมูสะเต๊ะ อินโดนีเซียเป็นหมู่เกาะที่ใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ระหว่างคาบสมุทรอินโดจีนกับทวีปออสเตรเลีย และระหว่างมหาสมุทรอินเดียกับมหาสมุทรแปซิฟิก การนิยมรับประทานกาโด กาโด แสดงถึงความรักสุขภาพ และนอกจากนี้ชาวอินโดนี่เซีย ยังนิยมรับประทาน ข้าวเกรียบ เป็นเครื่องเคียงกับอาหารหลายชนิดอีกด้วย

 

 

ประเทศลาว

สลัดหลวงพระบาง (Luang Prabang Salad) เป็นอาหารที่รับประทานได้ทั้งชาวตะวันตก และตะวันออก เนื่องจากมีรสชาติกลาง ๆ เป็นการนำผักน้ำ ซึ่งเป็นผักป่าที่ขึ้นตามริมธารน้ำไหล และ มันแกว แตงกวา มะเขือเทศ ไข่ต้ม ผักกาดหอม และหมูสับ มาคลุกเคล้าด้วยน้ำสลัดชนิดใส ตามด้วยกระเทียมเจียว และถั่วลิสงคั่ว เนื่องจากประเทศลาวได้รับวัฒนธรรมส่วนหนึ่งมาจากประเทศฝรั่งเศสจึงมีวัฒนธรรมการกินที่ผสมผสาน ระหว่างลาวดั่งเดิมกับความเป็นอารยะธรรมตะวันตกอย่งลงตัว

 

 

ประเทศมาเลเซีย

นาซิ เลอมัก (Nasi Lemak) เป็นการหุงข้าวกับกะทิ และใบเตย ทานพร้อมเครื่องเคียง 4 อย่าง ได้แก่ ปลากะตักทอดกรอบ แตงกวา ไข่ต้มสุก และถั่วอบ แต่เดิมชาวมาเลเซียมักรับประทานนาซิ เลอมักเป็นอาหารเช้า แต่ในปัจจุบัน กลายเป็นอาหารยอดนิยมที่ทานได้ทุกมื้อ และแพร่หลายในประเทศเพื่อนบ้านอาทิ สิงคโปร์ และภาคใต้ของไทย สินค้านำเข้าสำคัญ ๆ ของมาเลเซียได้แก่ ชิ้นส่วนไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักรอุตสาหกรรม สินค้าแปรรูป สินค้าอาหาร ด้วยความสำพันธ์ที่ดี และอาณาเขตพื้นที่ติดต่อกันทำให้มีความเป็นไปได้สูงในการเจาะตลาดผู้บริโภคอาหารในประเทศมาเลเซีย

 

 

ประเทศเวียดนาม

เปาะเปี๊ยะเวียดนาม  (Vietnamese Spring Rolls) มีร้านอาหารเวียดนามมากมายเกิดขึ้นในไทย และอาหารเวียดนามขึ้นชื่อในเรื่องของการเป็นอาหารสุขภาพ ทั้งนี้เปาะเปี๊ยะถือเป็นหนึ่งในอาหารพื้นเมืองที่โด่งดังที่สุดของประเทศเวียดนาม เป็นแผ่นแป้งที่ทำจากข้าวจ้าวแล้วห่อไส้ ไม่ว่าจะเป็น หมู หมูยอ ไก่ หรือกุ้ง จิ้มน้ำจิ้มหวาน ทานพร้อมเครื่องเคียงที่เป็นผักสมุนไพรหลายชนิด เช่น สะระแหน่ ผักกาดหอม ตามใจชอบ เวียดนามขึ้นชื่อในด้านอาหารสุขภาพอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป้นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ หรืออาหารเพื่อสุขภาพ และปัจจุบันเวียดนามมีการเติบโตที่สูงขึ้น ส่งผลให้เป็นประเทศที่น่าจับตามองอีกประเทศหนึ่งในตลาดส่งออกอาหารที่จะเป็นโอกาสของไทย