สคร.วิเคราะห์ผลกระทบช็อก Brexit ส่งออกไทยไปไนจีเรีย


ปัญหาหนี้สินในยุโรปได้ส่งผลกระทบต่อประเทศสมาชิกอย่างมาก จนทำให้สหราชอาณาจักร หรือแม้แต่ประเทศอื่น ๆ ในยูโรโซนนั้นไม่ต้องการแบกภาระปัญหาเหล่านี้ อีกทั้ง ยังต้องประสบกับปัญหาการก่อการร้าย และผู้อพยพที่ลี้ภายจากสงครามจากตะวันออกกลางมายังทวีปยุโรป

สำหรับประเทศไทยนั้นมีหลายฝ่ายที่ตั้งข้อกังวลจากสถานการณ์ในสหภาพยุโรปอย่างกว้างขวาง เช่นเดียวกับสำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงอาบูจา ได้เปิดเผยว่า ผลกระทบของการออกจากการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปของสหราชอาณาจักร(BREXIT) ต่อเศรษฐกิจไนจีเรีย ซึ่งประเทศไทยได้มีการส่งออกสินค้าไปยังประเทศตลาดใหม่อย่างไนจีเรีย ดังต่อไปนี้

  1. ไนจีเรียเป็นประเทศในเครือจักรภพ และเป็นคู่ค้าของสหราชอาณาจักรที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ของภูมิภาคแอฟริกา ของจากประเทศแอฟริกาใต้ ซึ่งมีมูลค่าการค้าทั้งสองฝ่ายรวมกันปีละ 7,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยในปี 2558 ไนจีเรียส่งออกไปยังสหราชอาณาจักร 21 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สูงเป็นอันดับที่ 4 ในสหภาพยุโป และนำเข้า 2.28 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สูงเป็นอันดับสามในกลุ่มสหภาพยุโรป
  2. ผลกระทบจะเกิดขึ้นกับไนจีเรียในกรณีที่ภาวะเศรษฐกิจของสหราชอาณาจักรถดถอยอย่างรุนแรง ซึ่งจะทำให้ไนจีเรียส่งออกสินค้าไปยังสหราชอาณาจักรลดลงโดยเฉพาะน้ำมันดิบ รวมทั้งการลงทุนทางตรงจากสหราชอาณาจักรจะลดลงตามไปด้วย
  3. การเจรจาเขตการค้าเสรีระหว่างไนจีเรียและสหภาพยุโรปจะถูกยืดระยะเวลาออกไป เนื่องจากในช่วงการเจรจาที่ผ่านมาไนจีเรียได้ใช้สิทธิในการเจรจาและกรอบความตกลงเขตการค้าเสรีระหว่างไนจีเรียและสหราชอาณาจักรในการเจรจา
  4. การให้ความช่วยเหลือจากสหราชอาณาจักรแก่ไนจีเรียจะลดลง โดยปัจจุบันไนจีเรียได้รับความช่วยเหลือประมาณปีละ 800 ล้านปอนด์
  5. มีความเป็นไปได้สูงในอนาคต ที่สหราชอาณาจักรจะให้ความสำคัญและขยายความสัมพันธ์ทางการค้าการลงทุนกับประเทศไนจีเรีย กานา และประเทศในเครือจักรภพอื่น ๆ เพื่อลดความเสี่ยงในการทำการค้าและการลงทุนกับประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป ซึ่งจะเป็นผลดีต่อไนจีเรีย

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงอาบูจา แสดงความคิดเห็นอีกว่า ประเทศไทยจะได้รับผลกระทบไม่มาก เนื่องจากสินค้าที่ประเทศส่งออกไปยังไนจีเรียเป็นสินค้าที่จำเป็นต่อการดำรงขีวิต อาทิ ข้าว อาหารอื่น ๆ และเครื่องดื่ม หรือ สินค้าที่เป็นสินค้ากึ่งวัตถุดิบที่ไนจีเรียนำเข้าจากประเทศไทยเป็นส่วนใหญ่ เช่น เม็ดพลาสติก

By : กุลจิรา มุทขอนแก่น