3 แหล่งเงินทุน โอกาสใหม่แห่ง Startup ไทย


จากงาน Startup Thailand & Digital Thailand ที่จัดขึ้นจังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 5-7 สิงหาคม 2559 ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา

รูปแบบการหาเงินทุนสนับสนุน Startup เพื่อส่งเสริมให้การทำธุรกิจเป็นไปได้ง่ายขึ้นก็มีอยู่หลายวิธีด้วยกัน โดยภายในงาน Startup Thailand & Digital Thailaind ที่ถูกจัดขึ้นที่เชียงใหม่ในวันที่ 5 สิงหาคมนี้ก็ได้มีการสัมมนาของ 3 นักลงทุนที่จะมาให้ความรู้เรื่องการลงทุนแก่ Startup ได้แก่ คุณธีรนันท์ ศรีหงส์ กรรมการผู้จัดการธนาคารกสิกรไทย คุณศิริเดช เอื้องอุดมสิน Senior Executive Vice President ธนาคารกรุงเทพ และคุณธนพงศ์ ณ ระนอง ประธาน Thai Venture Capital Association
Venture Capital – เงินลงทุนส่วนใหญ่ขง Startup จะไม่ใช่การขอเงินกู้ แต่เป็นขอจา Venture Capital ซึ่งเป็นการลงทุนโดยการถือหุ้นเล็ก ๆ สัก 10-40% Startup เป็นการทำงานหลายระดับ ซึ่งแต่ละระดับก็จะมีนักลงทุนเข้ามาเรื่อย ๆ ตอนแรกมีแค่ไอเดีย เอาเงินส่วนตัวของตัวเองมาทำแบบจำลอง พออยากมีสินค้ามาทดสอบตลาดก็ต้องขอเงินลงทุนจาก Angel Investors พออยากขยาย มีผู้ใช้งานมากขึ้น ก็ขอจากซีรี่ส์เอ ซีรี่ส์บี
ธนาคารกสิกรไทย
ถ้าเป็นธุรกิจเกิดใหม่จริง ๆ เราก็จะมี Coperate VC ให้ ซึ่งธุรกิจธรรมดากับ Startup เราจะมีเงินแยกกัน เพราะกฎเกณฑ์มันต่างกัน แต่อันดับแรกเราต้องดูว่าเค้าจะแก้ปัญหาอะไร ให้ใคร อันดับต่อมาคือเรื่องของ ทีมที่เหมาะสม เพราะถ้าเค่าชวนคนมาทำงานร่วมกันไม่ได้สักคนแล้วใครจะอยากมาใช้บริการเค้า ซึ่งทีมก็ควรจะมีคนที่เขียนโปรแกรมเป็น เขียนให้ใช้งานง่าย และมีหนทางในการได้รับเงินกลับมา ซึ่งในหนึ่งทีมมีสัก 3-4 คนก็พอ
ธนาคารกรุงเทพ
การทำ Startup มีรูปแบบแตกต่างจาก SME ทั่วไป  การพิจารณาให้สินเชื่อจึงแตกต่างกันด้วย กลุ่ม Startup ที่เริ่มวางแผนหรืออยู่ในขั้นแรกก็จะมีการขอทุนจากที่อื่นก่อน ถ้าเค้าสามารถเริ่มธุรกิจขึ้นมาได้ในระดับหนึ่งก็จะสามารถคุยกับธนาคารได้ ตอนนี้เรามีการตั้ง Venture Capital ขึ้นมา โดยมีวงเงิน 2 พันล้านบาทให้ เรามองถึง SME ที่กำลังเติบโตและสามารถตีตลาดได้ ซึ่งในช่วงหลังเราก็ให้ความสนใจใน Startup มากขึ้น มีวงเงินให้ 200 ล้านบาท ซึ่งนี่เป็นโมเดลใหม่ที่ธนาคารมองอยู่ แต่สิ่งสำคัญคือผู้ลงทุนต้องเข้าใจในสิ่งที่ Startup ทำอยู่จริง ๆ จึงจะสามารถเป็นพี่เลี้ยงและเป็นคนเชื่อมสัมพันธ์ให้กับ Startup ได้
ธนาคารกรุงเทพ
Startup ที่จะอยากได้เงินก็ต้องคิดดีแล้วว่าธุรกิจตัวเองต้องพอไปได้ ถึงจะมาใช้สินเชื่อจากธนาคาร ฝั่งเราก็ต้องดูว่าธุรกิจเค้ามีคนใช้มั้ย ตอบโจทย์มั้ย ลูกค้าเค้าอยู่ไหน ถ้าเรื่องพวกนี้ผ่านธนาคารก็พิจารณาสินเชื่อให้ได้
Venture Capital
เราช่วยเหลือให้ความรู้ความเข้าใจทั้งเรื่อง Startup และ Venture Capitol ให้ทุกคนเข้าใจว่าเค้าจะทำอย่างไรให้นักลงทุนอยากมาลงทุน ฝั่งนักลงทุนเองก็ให้ความรู้เค้าว่าเค้าควรช่วยเหลือ Startup อย่างไร ไม่ใช่แค่เรื่องการเงิน และอาจจะมีเรื่องฐานข้อมูล Startup ที่ประสบความสำเร็จในประเทศไทยว่าเค้ามีโปรไฟล์อย่างไร เคยทำอะไรมาก่อน อายุเท่าไหร่ จบอะไรมา มีใครเป็นผู้ร่วมก่อตั้งบ้าง ซึ่งเหมาะสมกับคนที่ต้องการเป็น Startup มาก เพื่อสำรวจตัวเองว่าเค้าพร้อมรึยัง และถ้าไม่พร้อมควรเริ่มทำอะไรต่
ธนาคารกสิกรไทย
Startup ที่เกิดเองอัตราส่วนไม่ถึง 10% ที่จะอยู่รอด แต่ถ้าเกิดโดยมีพี่เลี้ยงโอกาสก็จะมากขึ้นด้วย สิงคโปร์เค้าบอกว่าคนที่ผ่านโปรแกรมพิเศษของเค้ามีโอกาสเข้าถึงซีรี่ส์เอมากถึง 40% ซึ่งส่วนนี้คือการผ่านการบ่มเพาะอย่างเหมาะสม มีคนช่วยคิด ช่วยหาหนทางการเติบโต แต่ Startup มีความเสี่ยงเยอะ หลายคนมักจะคิดจากตัวเอง ไม่คิดจากฐานตลาด อีกอย่างจะหาทีมที่เข้ากันได้และมีทักษะก็ยาก ต้องมีครบทุกด้าน น้อง ๆ ที่เรียนจบมาสด ๆ แล้วอยากทำ Startup เลยเนี่ยมีเยอะ ซึ่งก็น้อยนักที่จะประสบความสำเร็จ เราต้องดูว่าเราขาดอะไร แล้วก็หาคนคอยให้คำปรึกษามาเสริมตรงนั้น