องค์กรเติบโต … เพราะพนักงานปลอดหนี้ มีเงินออม


องค์กรจะขับเคลื่อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ย่อมเกิดจากการใช้ทรัพยากรที่มีค่าทุกด้านอย่างเต็มศักยภาพ และทรัพยากรที่สำคัญและมีค่าที่สุดขององค์กร คือ ทรัพยากรมนุษย์ ในที่นี้ขอใช้คำว่า “พนักงาน”

เป็นเรื่องธรรมชาติ หากพนักงานมีความสุข มีความกระตือรือร้น ผลของงานทุกอย่างหรือกิจกรรมทุกอย่างที่พนักงานทำก็มีประสิทธิภาพ ในทางตรงกันข้าม หากพนักงานไม่มีความสุข ความกระตือรือร้นก็ไม่มีไปด้วยโดยปริยาย ก็จะส่งถึงผลการประกอบการขององค์กรไม่มีประสิทธิผลและประสิทธิภาพตามที่ควรจะมี

หนึ่งในตัวแปรสำคัญที่ส่งผลให้มนุษย์มีหรือไม่มีความสุข คือ “เงิน” ปัญหาทางการเงินของมนุษย์มนุษย์เงินเดือนส่วนใหญ่ หรือพนักงาน มีสาเหตุได้แก่ พฤติกรรมการใช้จ่ายเกินตัว ภาระที่ต้องดูแลครอบครัวเพิ่มขึ้น  เกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินที่ต้องใช้เงินโดยไม่ได้วางแผนการเงินมาก่อน  ขาดที่ปรึกษาทางการเงิน  … ปัญหาเหล่านี้ล้วนส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจ  ถ้าทำใจให้มีความสุขได้ก็เรียกว่าเทพแล้วล่ะ … แต่สำหรับคนส่วนใหญ่ย่อมมีความกลัวและความกังวลอยู่ลึก ๆ และไม่มีความสุขจริง

หากคุณผู้ประกอบการเห็นด้วยว่าความสุข คือ ปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนให้องค์กรประสบความสำเร็จ … จึงขอเชิญชวนมาบริหารการเงินให้พนักงาน … ให้เป็นองค์กรที่พนักงานมี Status “ปลอดหนี้ มีเงินออม” กันดีกว่า เมื่อปลอดหนี้มีเงินออม ก็หมายความว่าพนักงานมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น  ดูแลตัวเองและครอบครัวได้เป็นอย่างดี ก็จะก่อเกิดความสุข เมื่อใจมีสุข พนักงานก็จะพร้อมที่จะสร้างสรรค์ ทำงานอย่างเต็มศักยภาพ เมื่อพนักงานทำงานอย่างเต็มศักยภาพ แน่นอนองค์กรก็ขับเคลื่อนไปสู่การเติบโตอย่างเต็มศักยภาพและมั่นคงเช่นเดียวกัน

เรื่องราวนี้นำแนวคิดมาจากหนังสือ Happy Money ตอน องค์กรสร้างสุขทางการเงิน  โดย The Stock Exchange of Thailand เพราะหวังใจว่า จะเป็นช่องทางให้ผู้ประกอบการสามารถขยายผลผลิตให้มีประสิทธิภาพ เพื่อเข้าสู่การแข่งขันได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน โดยมีความสุขของพนักงานในองค์กรเป็นตัวแปรขับเคลื่อนที่สำคัญ

กระบวนการในการสร้างความสุขให้เกิดขึ้นกับพนักงานในองค์กร คือ การเร่งขจัดหนี้ของพนักงานออกไปให้เร็จที่สุด ด้วย การวางแผนการเงินส่วนบุคคล เพื่อสร้างความสุขทางการเงิน และเร่งพัฒนาคุณภาพชีวิตของพนักงานในองค์กรให้เกิดขึ้น

โดยปัจจัยที่จะเป็นแรงเสริมให้องค์กรขับเคลื่อนไปสู่ องค์ที่มีความสุขและประสบความสำเร็จได้ คือ  “ผู้บริหารระดับสูง /หัวหน้างาน/และพนักงาน” …
ผู้บริหารระดับสูง ต้อง ให้การสนับสนุนอย่างจริงจัง และกำหนดเป็นนโยบายองค์กร ในการปรับโครงสร้างหนี้ให้กับพนักงานที่มีปัญหาทางการเงินและมีความประพฤติดี
กำหนดหัวหน้างานที่ไว้วางใจได้ให้เป็นที่ปรึกษา และที่ปรึกษา (Trainer) ต้อง เป็นกำลังสำคัญในการติดตามกระตุ้น  ให้กำลังใจแก่พนักงานที่มีความตั้งใจ และพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้จ่ายเงินอย่างจริงจัง                     พนักงาน ต้องมีความตั้งใจและพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้จ่ายเงินของตัวเองตามคำแนะนำของที่ปรึกษา เพื่อแก้ปัญหาทางการเงินและพัฒนาคุณภาพชีวิตของตัวเองและครอบครัวให้ดีขึ้นในอนาคต

โดยมีกระบวนการดังนี้
1. เลือก หรือแต่งตั้งที่ปรึกษา (Trainer) โดยเป็นบุคคลที่มีพฤติกรรรมการออมที่ดี เป็นที่น่าเชื่อถือและไว้วางใจ  รักษาข้อมูลได้ และมีทักษะในการให้คำปรึกษา
2. ให้ความรู้แก่ที่ปรึกษา  เพื่อ สำรวจสินทรัพย์และหนี้สินของผู้ร่วมโครงการ  สำรวจรายได้และค่าใช้จ่าย  จดบัญชีรายรับ  สำรวจและสรุปรายละเอียดหนี้สิน  วิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน
3. เปิดรับผู้เข้าร่วมกิจกรรม ปลอดหนี้ มีเงินออม
4.  ให้ความรู้กับพนักงาน ที่สมัครเข้าร่วมกิจกรรม โดยแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ ดังนี้
4.1. มีสถานการณ์ทางการเงิน เป็นลบ เป็นกลุ่มที่มีหนี้มาก ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ เงินเดือนไม่พอใช้หนี้  เป็นกลุ่มที่ต้องการการแก้ปัญหาหนี้สิน โดยที่ปรึกษาให้ความรู้เรื่องการบริหารจัดการหนี้
4.2 มีสถานการณ์ทางการเงินเป็นศูนย์  เป็นกลุ่มที่มีหนี้มาก แต่ยังช่วยเหลือตนเองได้ มีเงินใช้แค่เดือนต่อเดือน เป็นกลุ่มที่ต้องการปรับพฤติกรรมการใช้จ่ายเงิน  ให้ความรู้เรื่องวางแผนและใช้จ่ายเงินอย่างฉลาด
4.3. มีสถานการณ์ทางการเงินเป็นบวก เป็นกลุ่มที่ไม่มีปัญหาหนี้สิน มีเงินเหลือ  ให้ความรู้เพิ่มเติมในกรเรื่องการออมเงินอย่างมืออาชีพ และออมเพื่อการลงทุน
5. ติดตามผล
6. ขยายผลต่อไปทั่วทั้งองค์กร

ขั้นตอนดังกล่าวข้างต้น จัดทำขึ้นโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย  (ทั้งหมดมี 9 ขั้นตอน) ความบทนี้สรุปมาเพื่อเป็นแนวทางพอสังเขป ผู้ประกอบการสามารถติดตามขั้นตอนฉบับเต็มพร้อมตัวอย่างองค์กรที่ดำเนินการสร้างสุขให้องค์กรด้วยการชวนพนักงานปลอดหนี้มีเงินออมได้ที่แหล่งอ้างอิงท้ายบทความ

ผลได้โดยตรงที่จะเกิดขึ้นจากกิจกรรมดังกล่าวคือ
พนักงานหมดภาระหนี้สิน จนสามารถสร้างโอกาสให้แก่ตัวเองได้
เกิดสายสัมพันธ์ที่ดีระหว่างพนักงาน หัวหน้างาน และผู้บริหาร
จากการช่วยเหลือขององค์กร ทำให้พนักงานรู้สึกได้ว่าตัวเองมีความสำคัญและมีคุณค่าต่อองค์กร เกิดความภักดี มีขวัญและกำลังใจในการทำงาน ลดอัตราการขาดงาน ลางาน มาทำงานสาย การลาออก
ผลงานของพนักงานก็ดีขึ้น มีความมั่นคงในอาชีพ
พนักงานมีความสุข ได้รับการเผยแพร่ออกไปยังบุคคลภายนอก ส่งผลให้บริษัทมีชื่อเสียงที่ดี และได้รับความไว้วางใจ เรียกว่า “Win-Win” ทุกฝ่ายทั้งองค์กรและผู้ทำงาน

ประมวลผลบทความจาก  :
หนังสือ  Happy Money ตอน องค์กรสร้างสุขทางการเงิน
SET : The Stock Exchange of Thailand
… by Paramita