ส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารและยาประเทศเมียนมา ทำอย่างไร ?


ในแต่ละประเภทธุรกิจ นอกเหนือจะมีความแตกต่างด้านผลิตภัณฑ์ รวมถึงกฎระเบียบแล้ว การค้าขายในต่างประเทศหรือการส่งออกกับคู่ค้าต่างชาติก็จะมีความแตกต่างตามแต่กฎหมายของแต่ละประเทศนั้นๆ ซึ่งบทความนี้ SmartSME จะมาแนะนำสั้นๆ ว่าผู้ประกอบการต้องเตรียมตัวอย่างไร หากทำธุรกิจส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารและยาไปยัง ประเทศเมียนมา

ซึ่งการทำธุรกิจส่งออกกับประเทศเมียนมานั้น ผู้ส่งออกไทยจะจำหน่ายสินค้าให้พ่อค้าเมียนมาโดยตรง หรือจำหน่ายผ่านพ่อค้าขายส่งที่เมืองเมียวดี แล้วกระจายสินค้าไปยังเมืองต่างๆ ในเมียนมาอีกทอดหนึ่ง การสั่งซื้อสินค้าจากพ่อค้าเมียนมาทำหลายวิธี ทั้งทางโทรศัพท์ / โทรสาร / การเดินทางเข้าไปติดต่อคู่ค้าในเมียนมาด้วยตนเอง พ่อค้าเมียนมาเดินทางเข้ามาติดต่อโดยตรงที่ร้าน หรือฝากบุคคลอื่นเข้ามาซื้อให้ที่ฝั่งประเทศไทย

ทั้งนี้ หลักฐานการค้าส่วนใหญ่จะเป็นใบกำกับสินค้า แต่อาจทำใบสั่งซื้อบ้างในบางครั้ง เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการขอสินเชื่อจากสถาบันการเงิน โดยลักษณะการส่งออกสินค้ามีหลายรูปแบบ ดังนี้

  1. พ่อค้าชายแดนในท้องถิ่น เป็นผู้สั่งซื้อและรวบรวมสินค้าจากส่วนกลาง หรือในท้องถิ่นตามคำสั่งซื้อของพ่อค้าเมียนมา และเป็นผู้ทำพิธีการส่งออก
  2. พ่อค้าชายแดนทำหน้าที่เป็นเสมือนตัวแทนจำหน่ายให้บรัท / โรงงานจากส่วนกลางในการติดต่อซื้อขายกับพ่อค้าเมียนมา กรณีนี้พ่อค้าชายแดนอาจดำเนินการขนส่งสินค้าด้วยตนเองหรือทางบริษัท / โรงงานนั้น จัดส่งมาให้ที่อำเภอแม่สอดแล้วตกลงกัน ซึ่งอาจส่งออกในนามของบรัท / โรงงานที่กรุงเทพฯ หรือพ่อค้าชายแดน
  3. ผู้ผลิตจากส่วนกลางติดต่อกับพ่อค้าเมียนมาโดยตรงและส่งออกในนามผู้ผลิต ส่วนภาระการขนส่งภายในประเทศขึ้นอยู่กับข้อตกลงระหว่างกัน
  4. พ่อค้าเมียนมาเข้ามาติดต่อโดยตรงกับพ่อค้าในอำเภอแม่สอด หรือเดินทางเข้าไปซื้อสินค้าจากบริษัท / โรงงานผู้ผลิตในกรุงเทพฯ หลังจากนั้นจะส่งสินค้ามายังอำเภอแม่สอด และทำพิธีการศุลกากรในนามพ่อค้าเมียนมา วีการส่งออกนี้เรียกกันโดยทั่วไปว่า “ตั๋วพม่า” อย่างไรก็ดี สินค้าบางชนิดพ่อค้าเมียนมาไม่สามารถสั่งซื้อได้ดยตรง ต้องสั่งซื้อจากพ่อค้าชายแดนท้องถิ่น เนื่องจากมีการระบุให้ต้องซื้อผ่านตัวแทนจำหน่ายของบริษัทในอำเภอแม่สอดเท่านั้น

…………………………………………………………………

เตรียมตัวอย่างไร ส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารและยาไป สปป.ลาว