“มาเลเซีย” หนึ่งในประเทศกลุ่มเออีซี ที่ไม่เพียงแค่เป็นประเทศเพื่อนบ้านของไทยเท่านั้น แต่ยังได้ทําการค้าขายกับไทยมาเป็นเวลานาน โดยปัจจุบัน มาเลเซียเป็นประเทศคู่ค้าที่สําคัญอันดับ 4 ของไทย รองจากประเทศจีน ญี่ปุุน และสหรัฐอเมริกา มาเลเซียเป็นตลาดที่น่าสนใจสําหรับผู้ส่งออกไทยจากหลายปัจจัยหลัก ดังนี้
1.ไทยและมาเลเซียมีชายแดนติดต่อกัน ทําให้มีหลายทางเลือกในการขนส่งสินค้าระหว่างกัน และมีความ สะดวก รวดเร็ว และยังสามารถจัดการและควบคุมต้นทุนด้านการขนส่งได้ตามจําเป็นและเหมาะสม ประกอบด้วย
1.1การขนส่งทางรถยนต์/รถบรรทุก
เนื่องจากไทยมีแนวชายแดนติดต่อกับมาเลเซียเป็นระยะทางยาวถึง 647 กิโลเมตร และทั้งสองประเทศมีด่าน ศุลกากรที่ควบคุมดูแลการค้าระหว่างชายแดนถึงจํานวน 11 ด่าน โดยเฉพาะด่านด่านสะเดา จังหวัด สงขลาของไทย และด่านปาดังเบซาร์ของมาเลเซีย ที่มีการเข้าออกของสินค้ามากที่สุด
1.2 การขนส่งทางเรือ
การขนส่งสินค้าจากท่าเรือคลองเตย จังหวัดกรุงเทพฯ หรือท่าเรือแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี ไปยัง ท่าเรือปีนังซึ่งตั้งอยู่ทางตอนเหนือของมาเลเซีย หรือไปยังท่าเรือ Port Klang ซึ่งเป็นท่าเรือที่ตั้งอยู่ใกล้ กรุงกัวลาลัมเปอร์ โดยท่าเรือดังกล่าวมีความทันสมัยมากและสามารถขนส่งสินค้าได้จํานวนมากและยัง เป็นจุดขนถ่ายสินค้าต่อไปยังประเทศที่สามทั้งฝั่งทางตะวันออกและตะวันตก
1.3 การขนส่งทางรถไฟ
การขนส่งจากสถานีลาดกระบัง จังหวัดกรุงเทพฯ ไปยังสถานีรถไฟปาดังเบเซาร์ และขนส่งต่อเข้าถึง สถานีปีนัง สถานีอิโปห์ สถานีกัวลาลัมเปอร์ และสถานี Port Klang
1.4 การขนส่งทางอากาศ
การขนส่งทางอากาศจากสนามบินสุวรรณภูมิไปยังสนามบินนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ หรือสนามบิน ปีนัง นอกจากไทยจะสามารถส่งออกสินค้ามาขายยังตลาดมาเลเซียได้แล้วก็ยังจะสามารถอาศัยมาเลเซีย เพื่อเป็นตัวกลางในการส่งออกสินค้าไทยต่อไปยังประเทศที่สามได้อีกด้วย
2. การใช้สิทธิประโยชน์จากความตกลงการใช้อัตราภาษีศุลกากรพิเศษที่เท่ากันภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน (CEPT) ทําให้สินค้าส่วนใหญ่ที่มาเลเซียนําเข้าจากไทยไม่ต้องเสียภาษีหรือเสียภาษีนําเข้าในอัตราต่ํา ซึ่งจะทําให้มาเลเซียสามารถซื้อสินค้าไทยได้ในราคาที่ถูกลงและผู้บริโภคมีทางเลือกในการซื้อสินค้าที่ หลากหลายมากขึ้น หรือกรณีที่เป็นผู้ลงทุนก็สามารถซื้อวัตถุดิบหรือปัจจัยการผลิตหรือสินค้าทุน เครื่องมือ เครื่องจักรได้ในราคาที่ถูกลง ทําให้ลดต้นทุนในการผลิตลง
3. ชาวมาเลเซียมีทัศนคติที่ดีต่อสินค้าและบริการของไทย ทั้งในแง่คุณภาพ การออกแบบ และราคาที่ สมเหตุสมผล ประกอบกับชาวมาเลเซียเดินทางไปท่องเที่ยวในไทยอยู่เสมอ จึงทําให้สินค้าไทยเป็นที่รู้จักและชื่นชอบ เมื่อมีการส่งออกสินค้าไทยมายังมาเลเซีย ก็ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีและเป็นนิยมของ ผู้บริโภคมาเลเซีย
4. ชาวมาเลเซียที่มีกําลังซื้อส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มผู้บริโภคที่มีรายได้ปานกลางถึงสูง ซึ่งมีราวร้อยละ 60 ของ ประชากรทั้งหมด (18 ล้าน) จากจํานวนประชากร 30 ล้านคนในปัจจุบัน ประกอบกับมาเลเซียมี ประชาชนหลายเชื้อชาติ เช่น ชาวมาเลย์เชื้อสายมาเลย์ เชื้อสายจีน เชื้อสายอินเดีย เป็นต้น จึงทําให้ ผู้บริโภคมีความต้องการที่หลากหลายก็จะสร้างโอกาสในการเข้าสู่ตลาดมาเลเซีย
ที่มา : กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์