ชีพธรรม คำวิเศษณ์
เกาหลีใต้เคยเป็นเมืองขึ้นของประเทศญี่ปุ่น และ เมื่อ 60 ปีก่อนยังเป็นประเทศที่ต้องขอความช่วยเหลือทางการทหารจากประเทศไทย เมื่อครั้งผมยังเป็นเด็กในปี พ.ศ. 2523 หรือ 36 ปีผ่านมาแล้ว ยังเคยไปดูหนังภาพยนตร์เรื่องอารีดัง แสดงโดยคุณจตุพล ภูอภิรมย์ รับบทเป็นหนุ่มทหารไทยไปรบในเกาหลี เพียงไม่กี่สิบปีเท่านั้นเกาหลีกลับกลายเป็นประเทศที่ก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมาก และซัมซุงจากบริษัทประมงก้าวเข้าสู่บริษัทเทคโนโลยี เรื่องทีวีเป็นที่หนึ่งของโลก ส่วนสมาร์ทโฟนเป็นรองแค่ไอโฟน เท่านั้น สิ่งที่น่าทึ่งคือทำได้อย่างไร
ช่วงเวลานี้ซัมซุงกำลังเผชิญกับวิกฤตศรัทธาต่อธุรกิจสมาร์ทโฟนเพราะ ซัมซุงกาแลคซี่ 7 รุ่นใหม่ที่เพิ่งเปิดตัวจะมาอัดกับไอโฟน7 มีปัญหาแบตเตอรี่ใช้ไปแล้วเกิดลุกไหม้ สายการบินทั่วโลกสั่งห้าม
แถมมีข่าวร้ายออกมาทุกวัน เล่นเอาซัมซุงไปแทบไม่เป็น ซึ่งทุกองค์กรก็ต้องเกิดวิกฤต
ปัญหาเมื่อเกิดขึ้นก็ต้องค่อยๆ แก้ไขไปเรื่อยๆ
หนังสือ Samsung Secret ใครอ่านอนาคตออก่อนชนะ พิมพ์ครั้งแรก กันยายน 2559
ผมเพิ่งอ่านเล่มใหม่จบที่เพิ่งซื้อมาเข้ามาเก็บไว้ในห้องสมุดส่วนตัว หนังสือเล่มนี้ชื่อว่า Samsung Secreat ใครอ่านอนาคตก่อนชนะ เขียนโดย คิมยงจุน และ แปลโดยภัททิรา จิตต์เกษม ของสำนักพิมพ์อมรินทร์ หลังจากที่อ่านแล้วทำให้ได้เรียนรู้วิธีคิดของ ลีกอนฮี ประธานผู้บริหารบริษัทซัมซุง อย่างลึกซึ้งถึงวิธีคิดและการต่อสู้ของเขาในการนำพาเข้าสู่ธุรกิจที่เต็มไปด้วยคู่แข่งตั้งแต่เริ่มต้นของการทำธุรกิจตั้งแต่วันแรก ถ้าไม่อ่านหนังสือเล่มนี้ อย่างลึกซึ้งก็จะไม่รุ้ว่า ทำไมบริษัทซัมซุง ถึงทำธุรกิจทีวีและเข้ามาลุยในสมาร์ทโฟนมือถือ เพราะธุรกิจแรก ๆ ที่ซัมซุงกระโดดเข้ามาก็คือธุรกิจเซมิคอนดักเตอร์
สรุปหนังสือเล่มนี้ให้แบบคร่าวๆ ครับ ลีกอนฮี ประธานกลุ่มธุรกิจซัมซุงที่ได้กล่าวถึงในหนังสือเล่มนี้ เป็นลูกคนรวยครับที่เกิดมาบนกองเงินกองทอง ถูกส่งไปเรียนที่ญี่ปุ่นตั้งแต่เป็นวัยรุ่ย และเรียนจบมหาวิทยาลัยที่ญี่ปุ่น ซึมซับความเป็นญี่ปุ่นมากมายในตัว เป็นคนชอบเก็บตัวเงียบๆ ใช้ความคิดแบบคิดให้สมองหมดแรงไปเลย เขาอยากเห็นประเทศเกาหลีใต้ สามารถแข่งขันทางเทคโนโลยีกับญี่ปุ่นได้ มีความน้อยเนื้อต่ำใจอยุ่ลึกๆ เพราะเกาหลีใต้เป็นเมืองขึ้นของญี่ปุ่น หลังจากกลับมาทำธุรกิจกับครอบครัว เขาพยายามทุกวิถีทางที่จะเอาชนะญี่ปุ่นให้ได้ในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี
ลีกอนฮี เครดิตภาพ BBC
จนกระทั่งในปี ค.ศ.1975 เขาพยายามโน้มน้าวให้ซัมซุงเข้าสู่ธุรกิจเซมิคอนดัคเตอร์ ถ้าซัมซุงไม่เข้าก็จะใช้เงินส่วนตัวเข้าซื้อกิจการ ลีกอนฮี มีคุณสมบัติที่เหนือกว่าผู้บริหารคนอื่นในสายตาของผมก็คือ การยกระดับบริษัทของตนเองให้เข้าสู่ระดับโลกและในความรักประเทศเกาหลีใต้ เมื่อซัมซุงเติบโตในระดับโลก เกาหลีใต้ก็จะมีชื่อเสียงของประเทศไปด้วย และเขาพยายามทุกวิถีทางที่จะเอาชนะบริษัทเทคโนโลยีอย่างญี่ปุ่นจริงๆ ทั้งแข่งขันและร่วมมือ แปลกไปอีกแบบ
ปรัชญา 33 ประการ ของลีกอนฮี น่าศึกษาเป็นอย่างยิ่ง ไม่แพ้ ปรัชญาการบริหารธุรกิจของสตีฟ จ๊อบส์ หรือผู้ประกอบการนักธุรกิจจากโลกตะวันก ลีกอนฮี ชอบธุรกิจซอฟต์แวร์ เขาชอบบิลเกตเพราะผลิตซอฟต์แวร์ออกมาตัวเดียวขายได้หลายพันล้านเหรียญ หนังสือเล่มนี้
อ่านแล้วลองปฏิบัติได้แม้ไม่ใช่ธุรกิจแสนล้าน แต่สิ่งหนึ่งที่เขาเหมือนกับมนุษย์ทั่วไปก็คือ
เผชิญความล้มเหลว และ ท้าทาย ครั้งแล้วครั้งเล่า เพราะธุรกิจเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
ต้องแข่งขัน ต้องออกสินค้าให้ไว้ ต้องอยู่ในใจผู้บริโภค ต้องกระตุ้นพนักงาน
ครั้งหนึ่ง เมื่อ ค.ศ.1995 โทรศัพท์มือถือซัมซุงมีปัญหามาก ต้องเก็บสินค้าออกจากตลาด เขาจึงเผาโทรศัพท์มือถือเหล่านั้นต่อหน้าพนักงาน และจากวันนั้นโทรศัพท์มือของซัมซุงก็ดีขึ้นเรื่อยๆ จนก้าวข้ึนสู่อันดับสองของโลกเป็นรองแค่เพียงไอโฟน
แล้วลีกอนฮี มองไอโฟนอย่างไร ด้วยความที่เป็นเจ้าของบริษัทเซมิคอนดัคเตอร์ เป็นเบอร์หนึ่งในธุรกิจโทรทัศน์ เมื่อไอโฟนเข้าสู่ประเทศเกาหลีใต้ เขาทนไม่ได้แน่นอนเหมือนกับสตีฟ จ๊อบส์ที่ทนกับวินโดว์สและผลิตภัณฑ์ต่างๆ ไม่ได้ เขาสั่งให้ทีมงานทำการเปรียบเทียบและสร้างขึ้นมาสู้กับไอโฟน
สิ่งหนึ่งที่น่าสนใจก็คือ ต้องให้คนในชาติเกาหลียอมรับซัมซุงไม่ให้แพ้กว่าไอโฟน จิตวิญญาณหนึ่งของความเป็นผู้ประกอบการแม้ว่าเป็นเจ้าของบริษัทก็คือ ความเร็วเหนือคู่แข่งเมื่อธุรกิจทีวีเป็นรองโซนี่ เขาต้องกระตุ้นทีมงานให้เข้าสู่ทีวีดิจิตอล ด้วยจิตวิญญาณของนักบุกเบิก
ปลายปี 2551 ช่วงเวลานั้นผมอยุ่ที่เมืองฟิลาเดลเฟีย สหรัฐอเมริกา คุณป้าต้องการเปลี่ยนทีวีใหม่
ผมจึงมีโอกาสไปซื้อทีวีกับคุณป้าที่ห้างสรรพสินค้าเบสต์บายซึ่งขายเครื่องใช้ไฟฟ้า สิ่งที่ผมเห็นกับตาของตัวเอง มีแต่ทีวีสัญญาติญี่ปุ่นและเกาหลีใต้
สิ่งที่สะดุดตาผมที่สุดไม่ใช่ทีวี แต่เป็นป้ายโฆษณาทีวีที่ เขียนว่า Samsung สนับสนุน NFL
ก็คือซัมซุงเป็นสปอนเซอร์หลักของการแข่งขันอเมริกันฟุตบอล ซึ่งเป็นกีฬาที่มีผุ้ชมมากที่สุดในสหรัฐฯ ในหนังสือเขียนให้อ่านในช่วงที่ซัมซุงเข้าไปในขายโทรทัศน์ที่สหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ.2000 โอดงจิน ประธานซัมซุงสหรัฐอเมริกา เข้าไปพบกับ ริชาร์ด ชูลย์ ประธานเบสต์บาย ซึ่งเหมือนกับไม่อยากจะพบ บอกว่าถ้าจะจัดส่งสินค้าไม่ต้องมาก็ได้ แต่โอดงจินบอกขอให้ดูพรีเซ็นเทชั่น ชื่อว่า
อนาคตซัมซุง บอกว่า อนาคตผลิตภัณฑ์ที่บริษัทซัมซุงสร้างออกมาจะเป็นที่นิยมและในปี 2010 สินค้าทั้งหมดของซัมซุงจะกลายเป็นอันดับหนึ่งของโลก เล่นเอาประธานเบสต์บาย งง ไปเลย ว่าสินค้าอย่างซัมซุงนะหรือจะเป็นอันดับหนึ่งในโลก นั่นเป็นจุดเริ่มต้นที่ซัมซุงเข้าสู่อเมริกา เพราะตอนเข้าไปนั้นเป็นสินค้าเป็นรองทุกค่าย
มีอีกหนึ่งทฤษฏีที่น่าสนใจของลีกอนฮีคือ ทฤษฏีบริหารแบบมัค ว่าด้วยความเร็ว ถ้าอยากให้ทุกอย่างเร็วขึ้นจต้องเปลี่ยนเทคโนโลยีทั้งหมดตั้งแต่พิมพ์เขียน เครื่องยนต์ วัสดุและอะไหล่ ซึ่งในเรื่องนี้ผู้เขียนคิดว่าไม่ใช่แต่บริษัทเท่านั้น แม้แต่บุคคลอย่าเราๆ ท่านๆ ถ้าอยากเปลี่ยนตัวเองเป็นอีกคนก็ต้องรื้อนิสัยหรือเครื่องมือในการหาความรู้แบบเดิมๆ จึงจะสามารถเปลี่ยนตัวเองได้
ผมคิดว่าสิ่งที่ทำให้ซัมซุงมีพื้นฐานที่ดีก็คือการมีธุรกิจเซมิคอนดัคเตอร์ ที่ทำให้ซัมซุงสามารถผลิตสิ่งที่เป็นต้นน้ำของการผลิตสิ่งต่างๆ ที่เป็นเทคโนโลยีในโลกนี้ บางชิ้นส่วนในไอโฟนก็ต้องมีบ้างที่ผลิตจากซัมซุง
เมื่อ 7 ปี ก่อนผมเคยไปนั่งเคยกับ นักศึกษาไทยที่เรียนที่โรงเรียนบริหารธุรกิจฮาร์วาร์ด
ถามว่าทำไมถึงตัดสินใจมาเรียนที่นี่ เขาบอกว่าอยากได้ความรู้ด้าน เมเนจเมนท์ การจัดการ
ผมคิดว่าการอ่านหนังสือ Samsung Secret จะได้เปิดมุมมองใหม่ในการบริหารสไตล์เกาหลีใต้บ้าง
เพราะตำราการจัดการบ้านเราส่วนใหญ่มาจากฝั่งตะวันตก การที่เราได้เรียนรู้การบริหารการจัดการเแบบเกาหลีใต้ เป็นองค์ความที่น่าสนใจ สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดการแบบไทยๆ ได้ไม่มากก็น้อย
ทุกวันนี้ คนไทยเราใกล้ชิดผลิตภัณฑ์ของซัมซุงมากจริงๆ ครับ แม้แต่ในบ้านของผมยังมีโทรทัศน์ของซัมซุงเป็นศูนย์กลางการชมมีเดียต่างๆ จากในประเทศไทยและในโลกผ่านยูทูบที่เชื่อมต่อกับ Apple TV เข้ากับโทรทัศน์ซัมซุง และยังคิดว่าถ้าเปลี่ยนโทรทัศน์แล้วก็คงต้องซัมซุงนี่แหละ แม้ว่าจะไม่ได้อ่านหนังสือเล่มนี้
ลีกอนฮี เหมือนกับ สตีฟ จ๊อบส์ มาก ๆ เขาใส่ใจทุกรายละเอียด อยากสร้างสรรค์ให้ซัมซุง มีความเป็นนักออกแบบ อยากให้ผู้ใช้ลุ่มหลงในผลิตภัณฑ์ อยากเอาชนะคู่แข่งทุกราย ไม่ท้อถอยกับความล้มเหลว
อ่านหนังสือเล่มนี้จบแล้วจากลีกอนฮี ทำให้ผมนึกถึงคุณชาญ อัศวโชค หนึ่งในคนไทยที่เคยเป็นนักธุรกิจแห่งปี ก็อยากจะสร้างธุรกิจเซมิคอนดักเตอร์ในเมืองไทย คุณชาญเคยเชิญผมไปดูโลกงานของเขา ถ้าจำไม่ผิด แถว จ.ฉะเชิงเทรา และทุกวันเขาหายไปแล้วกว่า 19 ปีที่ไม่ได้ยินชื่อในแวดวงสื่อไม่งั้นคนไทยอาจมีธุรกิจเซมิคอนดัคเตอร์ที่เป็นของคนไทยที่เป็นธุรกิจต้นนำ้ในธุรกิจเทคโนโลยีบ้างก็ได้
ชวนอ่านหนังสือเล่มนี้ครับ แล้วจะได้อะไรที่มากมายจริงๆ จากแนวคิดการจัดการบริหารธุรกิจสไตล์ซัมซุง