จากผลการสำรวจฉบับล่าสุดของวีซ่า พบว่า คนไทยให้ความสำคัญในเรื่องความปลอดภัยมากกว่าความสะดวกสบาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการชำระเงินด้วยบัตรแบบไร้สัมผัส (contactless card) หรือ โมบาย วอลเล็ต (mobile wallet) และมีแนวโน้มที่จะเลือกใช้วิธีชำระเงินผ่านระบบไร้สัมผัสมากขึ้นเมื่อพวกเขามั่นใจว่ามีมาตราการรักษาความปลอดภัยอยู่ในระดับที่สูงมากพอ
การศึกษาเรื่องวิธีการชำระเงินแบบไร้สัมผัสและกระเป๋าสตางค์ดิจิตอล (digital wallet) ของวีซ่านั้น พบว่าคนไทยส่วนมาก (82 เปอร์เซ็นต์) เชื่อว่าความปลอดภัยมีความสำคัญมากกว่าความสะดวกสบายเมื่อนึกถึงการชำระเงินผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่หรือระบบไร้สัมผัส ด้วยการเติบโตอันรวดเร็วในด้านเทคโนโลยีทางการเงิน หรือ ฟินเทค (FinTech) ที่ภาครัฐบาลและเอกชนกำลังใช้แนวทางต่างๆ เพื่อเพิ่มความมั่นใจให้แก่ผู้บริโภคในการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะเมื่อมีการทำธุรกรรมทางเงินผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่
แบบสำรวจเรื่องงกระเป๋าสตางค์ดิจิตอลและการชำระเงินผ่านระบบไร้สัมผัสของ วีซ่านั้นจัดทำขึ้นโดยบริษัท YouGov ในนามของ วีซ่า โดยมีผู้ร่วมตอบแบบสอบถามชาวไทยจำนวน 750 คนเพื่อประเมินทัศนคติสำหรับการชำระเงินผ่านอุปกรณ์เคลี่อนที่และระบบไร้สัมผัสในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2559
คนไทยใช้เวลาอยู่กับอุปกรณ์เคลื่อนที่ต่างๆอย่างสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตประมาณ 160 นาทีต่อวัน ซึ่งภายในสิ้นปี พ.ศ. 2559 นี้ คาดว่าจะมีจำนวนผู้ใช้สมาร์ทโฟนประมาณ 20 ล้านคนในประเทศไทยและคาดว่าจะสูงขึ้นถึง 24.5 ล้านคนภายในปี พ.ศ. 2562 แม้ว่าการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตและการเป็นเจ้าของอุปกรณ์เคลื่อนที่สำหรับคนไทยอยู่ในอัตราที่สูง แต่ความเข้าใจเกี่ยวกับบริการทางการเงินผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ยังค่อยเป็นค่อยไป โดยส่วนหนึ่งเกิดจากผู้บริโภคชาวไทยยังไม่ตระหนักถึงความก้าวหน้าของความปลอดภัยในโลกออนไลน์และเทคโนโลยีเท่าที่ควร
นายสุริพงษ์ ตันติยานนท์ ผู้จัดการวีซ่า ประจำประเทศไทย กล่าวว่า “เมื่อดูจากผลสำรวจของเราแล้ว พบว่า ยิ่งระบบการชำระเงินผ่านมือถือมีความปลอดภัยมาก คนไทยก็จะมีความเชื่อมั่นและเต็มใจที่จะชำระเงินผ่านระบบดังกล่าวมากขึ้นตามไปด้วย ดังนั้นด้วยระบบความปลอดภัยทางการเงินที่แน่นหนาหลายชั้นของวีซ่า เราจึงมั่นใจว่าเราจะเป็นส่วนหนึ่งในการเพิ่มจำนวนการทำธุรกรรมผ่านมือถือในการประเทศไทยได้อย่างแน่นอน”
นอกจากนี้ รายงานการศึกษาที่จัดทำโดย ยูโกฟ (YouGov) ในนามของวีซ่า ถึง ทัศนคติของคนไทย ควบคู่ไปกับประเทศอื่นๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่าง สิงคโปร์และมาเลเซีย ต่อการทำธุรกรรมการเงินผ่านมือถือและระบบไร้สัมผัส (Contactless Payment) ยังพบว่า สิ่งที่คนในกลุ่มประเทศนี้โดยเฉพาะในประเทศไทยยังกลัวมากที่สุดในการชำระเงินด้วย mobile wallet คือ กลัวว่าจะมีการแฮ็คมือถือมากถึง 73 เปอร์เซ็นต์ ถูกขโมยโทรศัพท์มือถือ 65 เปอร์เซ็นต์ และกลัวว่าจะถูกเรียกเก็บเงินจากรายการที่ไม่ต้องการจะจ่ายอีก 63 เปอร์เซ็นต์
“ในจำนวนผู้ทำแบบสอบถามทั้งหมด พบว่า มีเพียง 39 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่เลือกพิจารณาการใช้ mobile wallet จากเครือข่ายบุคคลที่สาม ซึ่งในกลุ่มที่พิจารณาใช้นี้ พบว่ากว่า 74 เปอร์เซ็นต์ทราบว่า encrypted token หรือ ‘โทเค็น’ นวัตกรรมรหัสล็อคข้อมูลซึ่งสามารถตัดความเสี่ยงของการโดนโจรกรรมข้อมูลได้” นายสุริพงษ์ กล่าวเพิ่มเติม
บริการ Visa Token Service (VTS) ถูกออกแบบมาเพื่อให้ลูกค้าวีซ่ามั่นใจได้ว่าการชำระเงินแบบไร้สัมผัส (contactless payment) และบนสมาร์ทโฟนนั้นทั้งปลอดภัยและง่ายต่อการใช้งาน ระบบ VTS นั้นจะใช้รหัสโทเค็นแบบใช้ครั้งเดียวในการชำระเงินแทนข้อมูลของผู้ถือบัตร ฉะนั้นผู้ใช้ mobile wallet จึงสามารถชำระเงินได้โดยไม่จำเป็นต้องเผยรายละเอียดของบัญชีและเลขหน้าบัตร 16 หลัก หรือวันหมดอายุของบัตร เป็นต้น
กระบวนการแปลงข้อมูลแบบให้เป็น โทเค็น นี้เรียกว่า Tokenization ซึ่งจะทำหน้าที่ซ่อนข้อมูลที่สำคัญของผู้บริโภคในระหว่างการทำธุรกรรมการเงินแบบดิจิตอล เมื่ออาชญากรขโมยโทเค็นไปก็ไม่สามรถนำข้อมูลไปใช้ได้จากผลการสำรวจเผยให้เห็นว่าคนไทยประมาณ 55 เปอร์เซ็นต์คุ้นเคยกับรูปแบบการบริการ VTS เป็นอย่างดี ในขณะที่กลุ่มที่รับรู้สูงที่สุดในหมู่คนเหล่านี้ยังคุ้นเคยกับเทคโนโลยีในรูปแบบ mobile wallet อีกด้วย
คนไทยเกือบครึ่ง (46 เปอร์เซ็นต์) เชื่อว่าการชำระเงินผ่านอุปกรณ์พกพานั้นปลอดภัยเทียบเท่ากับการชำระเงินผ่านบัตรโดยตรง และมีแนวโน้มว่าตัวเลขนี้จะสูงขึ้นในอนาคตเพราะคนเริ่มคุ้นเคยกับระบบการชำระเงินผ่านมือถือที่มีความก้าวหน้าและทันสมัยของวีซ่า
นอกจากนี้คนไทยสามในห้า (61 เปอร์เซ็นต์) เชื่อว่าในวันหนึ่งข้างหน้าพวกเขาไม่จำเป็นต้องพกเงินสดหรือบัตรพลาสติกในการใช้ชีวิตประจำวันอีกต่อไป และจะถูกแทนที่ด้วยการชำระเงินในรูปแบบ mobile wallet ผ่านสมาร์ทโฟนและอุปกรณ์เคลื่อนที่ของพวกเขา
“เมื่อคนไทยเริ่มคุ้นเคยกับมาตรการรักษาความปลอดภัยด้วยนวัตกรรมใหม่ๆ อย่างนวัตกรรมโทเค็นของวีซ่า เมื่อนั้นพวกเขาจะเริ่มเห็นเรื่องการชำระเงินผ่านโทรศัพท์หรือการชำระเงินแบบไร้สัมผัสเป็นเรื่องปกติในชีวิตประจำวันของพวกเขามากยิ่งขึ้น” คุณสุริพงษ์ กล่าวปิดท้าย