กฏเหล็ก 10 ข้อของ “เจ เค โรว์ลิ่ง” จากนักเขียนต๊อกต๋อยสู่นักเขียนหมื่นล้าน


ภาพยนตร์เรื่อง แฮร์รี่ พอตเตอร์ คือเรื่องราวการผจญภัยของพ่อมดน้อย กับเพื่อนสนิทสองคน คือ รอน วิสลีย์  และ เฮอร์ไมโอนี เกรนเจอร์ ซึ่งทั้งหมดเป็นนักเรียน ของโรงเรียนคาถาพ่อมดแม่มดและเวทมนตร์ศาสตร์ฮอกวอตส์ โครงเรื่องหลักเกี่ยวกับภารกิจของแฮร์รี่ในการเอาชนะพ่อมดมืดที่ชั่วร้าย ลอร์ดโวลเดอร์มอร์ ผู้มีเป้าหมายเพื่อพิชิตประชากรที่ไม่มีอำนาจวิเศษ พิชิตโลกพ่อมด และทำลายทุกคนที่ขัดขวาง

คนที่แต่งเรื่องนี้เป็นสุภาพสตรีชาวอังกฤษ โดยหนังสือถูกนำไปตีพิมพ์ และนำไปสร้างหนัง จึงทำให้สุภาพสตรีท่านนี้ร่ำรวยมหาศาล อย่างไรก็ดี เรื่องราวก่อนที่งานเขียนของ JK Rowling (เจ เค โรว์ลิ่ง)  จะนำความเป็นเศรษฐีระดับหมื่นล้าน จากหนังสือ แฮร์รี่ พอตเตอร์ ที่เธอเขียนมาให้ ก็แลกมาด้วยความลำบากอย่างมากมาย แต่เธอสามารถนำประสบการณ์ช่วงนั้น มาเขียนเป็นกฎเหล็กที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ทั้งในเรื่องของธุรกิจแล้วก็เรื่องอื่นๆ ได้เป็นอย่างดีทีเดียว

JK Rowling (เจ เค โรว์ลิ่ง)  นักเขียนชาวอังกฤษ เล่าว่า ตอนที่เธอเขียนหนังสือแฮร์รี่ พอตเตอร์เล่มแรก เธอเป็นซิงเกอร์มัมที่เลี้ยงลูกคนเดียว ใช้ชีวิตอยู่ด้วยการใช้เงินสวัสดิการของรัฐ และการที่เธอเขียนหนังสือ เธอไม่ได้มีเครื่องมือวิเศษอะไรเลย มีแค่เครื่องพิมพ์ดีดเก่าๆ แบบธรรมดาไม่ใช่ไฟฟ้า ต้นฉบับที่ JK Rowling เขียนขึ้น มีจำนวนมากกว่าที่จะถูกรับให้ไปเป็นต้นฉบับที่นำไปพิมพ์ เธอได้นำเสนอต่อสำนักพิมพ์ไป 12 ครั้ง ถูกตีกลับทุกครั้ง จนได้รับการตอบรับจากสำนักพิมพ์ในครั้งที่ 13 และได้รับค่าตอบแทนเพียงแค่ 1,500 ยูโรฯ เท่านั้นเอง

หนังสือที่เธอเขียนมีด้วยกัน 8 ชุด เมื่อนำมาเป็นหนังสือและนำไปสร้างเป็นหนังเป็นภาพยนตร์ มันสามารถทำเงินได้ถึง 7.7 พันล้านดอลลาร์ ตัวเธอเองก็ได้รายได้จากส่วนแบ่งหรือเปอร์เซ็นต์ ซึ่งตอนนี้เธอมีมูลค่าทรัพย์สินจากนักเขียนจนๆ ต๊อกต๋อย  ตอนนี้เธอมีทรัพย์สินอยู่ประมาณ $1 billion และก็กลายเป็นนักเขียนที่รวยที่สุดในโลก

เว็บไซต์ thinkbusinessplan.com ได้กล่าวถึงบทความนี้ของ เจ เค โรว์ลิ่ง ที่เธอได้ร้อยเรียงเรื่องของ 10 Success lessons from JK Rowling – “Billionaire Author” for entrepreneurs บทเรียนแห่งความสำเร็จ 10 ข้อจาก  เจ เค โรว์ลิ่ง ดังต่อไปนี้

  1. Don’t be afraid to fail

JK Rowling ได้บอกว่าชีวิตของเธอ คือ ที่สุดแล้ว ไม่ว่าจะวัดด้วยมาตรฐานการอะไร เธอบอกได้เลยว่าชีวิตเธอค่อนข้างที่จะย่ำแย่ยากจน หลังจากการจบการศึกษามาแล้ว 7 ปี เธอประสบความล้มเหลวอย่างมหาศาล แต่งงานก็ต้องเลิกรา ตกงาน ต้องเลี้ยงลูกคนเดียว แล้วก็จน  คือถ้าเทียบกับคนอังกฤษทั่วๆ ไป เธอถือว่าเป็นคนจนมาตรฐานที่สุดของคนอังกฤษ แต่โชคดีที่เธอยังมีบ้านอยู่

ความสำเร็จที่เกิดขึ้น คือเธอต้องกล้าที่จะเสี่ยง ไม่กลัวความล้มเหลว คือวิ่งเข้าใส่โอกาส วิ่งเข้าใส่อะไรก็ตามที่จะส่งผลดีต่อชีวิต เธอไม่กลัวที่จะเผชิญ

ดังนั้น กฎข้อแรกของ JK Rowling คือ ไม่กลัวที่จะล้มเหลว

  1. Focus

JK Rowling เล่าว่าก่อนที่จะได้มีไอเดียเขียน หนังสือแฮร์รี่ พอตเตอร์ มันเป็นแค่ความคิดที่แวบเข้ามาในหัว เธอนึกถึงภาพเด็กน้อยที่เป็นพ่อมดแล้วก็ไปเข้าโรงเรียนพ่อมด แล้วก็ไม่รู้ว่าตัวเองมีความเป็นพ่อมดอยู่ในตัว จากความคิดเล็กๆ ที่แวบขึ้นมา เธอก็เริ่มต่อยอดเป็นหนังสือแฮร์รี่ พอตเตอร์  เธอบอกด้วยว่า การที่จะเขียน ก็ต้องโฟกัสไปในเรื่องนี้ เธอใช้เวลา 5 ปีในการพล็อตเรื่องราว ท้ายสุดแล้วก็ได้เป็นหนังสือเล่มนี้ขึ้นมา โดยแปลงจากความคิดแวบเดียวให้กลายเป็นหนังสือแฮร์รี่ พอตเตอร์ ที่เกิดจาก พลังแห่งการโฟกัสนั้นเอง

  1. Do what you are passionate about

คือการจะทำอะไร ต้องคลั่งไคล้ ต้องทุ่มเท ต้องรัก ต้องมีความสุขที่จะทำสิ่งนั้น “I am an extraordinary lucky person, doing what I love best in the world. I’m sure that I will always be a writer.” กล่าวคือหากเป็นนักเขียน คงทำอะไรไม่ได้แล้วนอกจากนักเขียนอย่างเดียว เพราะเชื่อว่าต้องเป็นนักเขียน แต่ทุกอย่างเกิดขึ้นได้เสมอ หากเชื่อในสิ่งที่จะเป็น

  1. Have faith

ต้องศรัทธา การที่ถูกปฏิเสธจากสำนักพิมพ์  แต่มีความเชื่อว่า “ต้องทำได้” เธอจึงทำแบบนั้น ทำอยู่อย่างนั้น 12 ครั้ง เธอเชื่อ และศรัทธาในสิ่งที่เธอเป็น และวันนั้นก็มาถึง ทุกท่านก็สามารถทำความฝันให้เป็นจริงได้ ถ้ามีความศรัทธาที่มากพอ

  1. Deal with criticism

ต้องสามารถรับมือกับคำวิพากษ์วิจารณ์ได้ เพราะว่าเวลาคนเราที่ทำอะไรสักอย่างสำเร็จ ต้องเจอกับคำติฉินนินทา การตำหนิติเตียน วิพากษ์วิจารณ์ เพราะอย่างนั้นคุณต้องสามารถรับมือกับสิ่งพวกนี้ได้ เพราะถ้าไม่ได้ ก็จะหมดกำลังใจ ในการทำธุรกิจ ท่านอาจจะต้องเจอการวิพากษ์วิจารณ์จากลูกค้า หรือจากใครก็ตาม ควรรับมือและนำข้อผิดพลาดมาวิเคราะห์ ปรับปรุงสิ่ง “คนรักเท่าผืนหนัง คนชังเท่าผืนเสื่อ” ก็ทำนองเดียวกันกับ Deal with criticism ไม่มีใครชอบเราหมด แม้มีคนชอบเรานิดเดียว ก็ต้องรับมือกับสถานการณ์นี้ให้ได้ ถ้าอยากเป็นคนที่มีความสำเร็จในชีวิต

  1. Having nothing to lose can be a source of great strength

นึกถึงคำสุภาษิตคำไทย ที่บอกว่า “หมาจนตรอก” เวลาหมาจนตรอกมันสู้สุดใจเลย เพราะว่ามันไม่รู้จะไปไหนแล้ว เพราะอย่างนั้นความจนตรอกความกลัวก็ต้องสู้ตาย นั้นเหมือนกับที่ JK Rowling บอกว่า การที่ไม่มีอะไรจะเสีย มันก็คือจุดที่ทำให้เกิดพลังอันยิ่งใหญ่ที่จะนำไปต่อสู้กับปัญหาเพื่อไปสู่เป้าหมาย เพราะอย่างนั้น เมื่อถึงวิกฤต ควรตั้งสติดีๆ แล้วแปลงวิกฤตให้เป็นโอกาส แปลงวิกฤตให้เป็นพลัง แปลงความจนตรอก พุ่งชนสู่เป้าหมาย เพราะเป้าหมายมีไว้ให้พุ่งชน เ

  1. You are responsible for your own life

ต้องรู้ว่าอย่างเป็นอะไร และต้องเชื่อในสิ่งนั้น  เหมือนที่ JK Rowling กล่าวว่า “You are responsible for your own life” ไม่มีใครมารับผิดชอบแทนคุณได้ เพราะไม่มีใครรู้ว่าคุณเก่งอะไร เพราะฉะนั้นต้องรับผิดชอบชีวิตของตัวเอง

  1. Stop blaming

คือ เมื่อเวลาทำอะไรผิด คนส่วนใหญ่มักจะโทษคนอื่น บ่นคนอื่น ว่าคนนั้นไม่ดี  แต่ JK Rowling บอกว่า ให้โทษตัวเองแล้วหาทางปรับปรุง มากกว่าจะบ่นว่าคนอื่น เมื่อทำอะไร ให้ดูที่ตัวเองก่อนโทษคนอื่น เพื่อแก้ปัญหาให้ถูกจุด

  1. Go ahead and daydream

JK Rowling บอกว่า เรื่องความฝัน จินตนาการ ไม่ใช่เรื่องของเด็กอย่างเดียว ผู้ใหญ่อย่างเราทุกคนก็มีความฝันมีจิตนาการได้ เพราะคนทุกคนมีความเป็นเด็กอยู่ในตัวตลอด เพียงแค่ว่าตอนเราโตขึ้นเราเก็บความเป็นเด็กไว้ เนื่องจากดูว่ามันไม่เหมาะสมหรืออย่างไร “Go ahead and daydream” คือต้องฝันอยู่ตลอดเวลา ฝันให้ไกลไปให้ถึง ความฝันคือจุดเริ่มต้นของการทำอะไรสักอย่าง ที่ประสบความสำเร็จเหมือนกับที่ Albert Einstein ได้บอกว่า “Imagination is more important than knowledge.” ความรู้เกิดขึ้นจากจินตนาการ การสร้างจินตนาการให้เป็นจริงก็กลายเป็นความรู้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ Albert Einstein บอกไว้แล้วสอดคล้องกับที่ JK Rowling เค้าบอก “Go ahead and daydream” อย่าไปหยุดที่จะฝัน ฝันให้ไกลไปให้ถึง

  1. Material achievements ≠ personal happiness

บางที่การมีวัตถุมากๆ ก็ไม่ใช่ความสุขเหมือนกัน คือมีเงินมีแล้วดีไหม ดี แต่ถ้าชีวิตต้องไปเป็นทาสเงินหาความสุขไม่ได้ JK Rowling บอกว่า ความสุขไม่เท่ากับวัตถุนิยม คือต้องพอดี หาความสมดุลระหว่าง ความสุขกับทุนนิยม นี่คือข้อ 10 ของ JK Rowling ซึ่งเค้าเป็นคนที่เข้าถึงความสุข เพราะชีวิตเค้าได้ผ่านประสบการณ์มาอย่างมากมายจริงๆ

 

ที่มา : เว็บไซต์ thinkbusinessplan.com