เราจะเริ่มเห็นเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม หรือเออาร์ (Augmented Reality: AR) มากขึ้นเรื่อยๆ โดยเทคโนโลยีจะเข้ามาช่วยให้ลูกค้าสามารถควบคุมการทำงานหรือการซ่อมบำรุงผลิตภัณฑ์ของตัวเองได้ เช่น เครื่องชงกาแฟ เนสเพรสโซ (Nespresso) หรือเครื่องดูดฝุ่น ไดซัน (Dyson) ทั้งสองบริษัทต่างทุ่มเงินลงทุนเป็นจำนวนมหาศาลในการช่วยเหลือผู้บริโภค (ผ่านการใช้สมาร์ทโฟนและรหัส คิวอาร์ (QR) ในการเข้าถึงคำแนะนำแบบทีละขั้นตอนเกี่ยวกับการใช้และการซ่อมแซมผลิตภัณฑ์ที่ลูกค้าซื้อไป
AR ช่วยได้ทั้งเรื่องเล็กและเรื่องใหญ่
และโมเดลแบบเดียวกันนี้สามารถนำไปใช้กับระบบที่มีความซับซ้อนมากขึ้นในสภาพแวดล้อมของอุตสาหกรรม รวมถึงเครื่องยนต์ หม้อน้ำ หรือแม้แต่สายการผลิตทั้งหมด โดยจะช่วยให้สามารถสร้างแผนโดยละเอียดและปรับแต่งได้ตามความต้องการของผู้ปฏิบัติงานได้โดยตรง และประโยชน์ที่ชัดเจนอีกอย่างของการใช้เทคโนโลยีเออาร์ (AR) ก็คือไม่จำเป็นต้องมีการแปลภาษา
แนวทางของเออาร์ (AR) นั้นนี้มีข้อดี โดยจะช่วยเพิ่มเวลาให้กับกลุ่มวิศวกรบริการที่มีจำนวนจำกัดและยังสามารถสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าได้ด้วย ทั้งนี้มีแนวโน้มสูงที่ผู้บริโภคเป็นจำนวนมากมักจะทำการแก้ไขเบื้องต้นด้วยตนเองก่อนที่จะเสียเวลาหยุดทำงานครึ่งวันเพื่อรอให้วิศวกรเข้ามาซ่อม
ซึ่งระบบของ Apple ถือเป็นตัวอย่างที่ดีในเรื่องนี้ จะเห็นได้ว่ามีการติดตั้งเออาร์ (AR) ไว้ในโทรศัพท์มือถือที่ใช้ไอโอเอส (iOS) และเทคโนโลยีดังกล่าวได้ทำให้บริษัทสร้างรายได้ผ่านทางแพลตฟอร์มที่ใช้งานง่ายและมีประสิทธิภาพได้อย่างง่ายดาย ไม่ว่าจะเป็นการดาวน์โหลดแอพและเพลง ซึ่งต่อไปการดาวน์โหลดเออาร์ก็จะไม่ต่างกัน
มีหลายแนวทางที่สามารถสร้างประสบการณ์ของลูกค้าให้ดีขึ้นได้ แต่องค์กรอาจไม่จำเป็นต้องจัดหนักตั้งแต่เริ่มต้น อย่าเพิ่งกำหนดเทคโนโลยีเป็นตัวนำ ให้เริ่มต้นสร้างกรณีศึกษาทางธุรกิจที่คุ้มค่าสำหรับการผลักดันให้เกิดแนวทางใหม่ๆ ขึ้นมาก่อน นั่นอาจหมายถึงว่าจะต้องเพิ่มอัตราการแก้ไขปัญหาได้สำเร็จในครั้งแรกให้มากขึ้น นำเสนอสัญญาที่เน้นผลลัพธ์รูปแบบใหม่ หรือลดต้นทุนโดยจัดส่งวิศวกรไปยังไซต์งานเฉพาะเมื่อเกิดเหตุจำเป็นเท่านั้น
เมื่อสร้างกรณีศึกษาทางธุรกิจขึ้นมาแล้ว คุณอาจต้องแยกส่วนองค์กรระหว่างงานด้านวิศวกรรม การออกแบบ และการบริการ การใช้เออาร์ หรือ เอไอ เป็นผู้ช่วยจะประสบผลสำเร็จมากเท่าใดนั้นขึ้นอยู่กับข้อมูลด้านวิศวกรรมที่คุณสามารถเติมเข้าไปในระบบ และเมื่อปรับใช้ทั้งสองแนวทางได้สำเร็จ ก็จะได้ข้อมูลป้อนกลับจากเซ็นเซอร์ผลิตภัณฑ์ที่จะช่วยให้ทีมวิจัยและพัฒนา สามารถนำไปออกแบบและสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่ดียิ่งขึ้นในอนาคตออกมาได้