“เทคนิคนิวเคลียร์” Key Success ส่งออกอาหารไทยสู่ตลาดโลก


เปิดเบื้องหลังความสำเร็จ! ไทย 1 ในผู้ส่งออกอาหารรายใหญ่ที่สุดในเอเชีย ความร่วมมือ 4 ปี กับ IAEA และ FAO “เทคนิคนิวเคลียร์” ตรวจวิเคราะห์ทางไอโซโทป สู่ความเป็นเลิศ ความปลอดภัยอาหารส่งออก

ประเทศไทยถือเป็นหนึ่งในผู้ส่งออกอาหารรายใหญ่ที่สุดในเอเชีย แต่ในระหว่างปี 2559-61 ห้องปฏิบัติการควบคุมความปลอดภัยด้านอาหารรายใหญ่หลายเจ้าต้องประสบปัญหาในการทดสอบผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์เกี่ยวกับสารตกค้างและปนเปื้อนของยารักษาสัตว์ ซึ่งเป็นไปตามข้อกำหนดด้านคุณภาพและความปลอดภัยของอาหารที่เข้มงวดขึ้นในตลาดส่งออก

จากปัญหาดังกล่าว ผู้ประกอบการจึงหันไปขอความช่วยเหลือจากทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ หรือ IAEA (International Atomic Energy Agency) และองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ หรือ FAO (Food and Agriculture Organization of the United Nations) เกิดเป็นโครงการฝึกอบรมและเพิ่มขีดความสามารถในห้องปฏิบัติการควบคุมความปลอดภัยด้านอาหาร

ช่วงเวลา 4 ปี ของโครงการฯ มีการใช้เทคนิคนิวเคลียร์และไอโซโทป ช่วยในการคัดกรองและระบุสารเคมีตกค้างและสารปนเปื้อนในอาหารได้อย่างรวดเร็ว ความร่วมมือทางเทคนิคของ IAEA และ FAO ทำให้ผู้ส่งออกอาหารของไทยดำเนินงานได้ตามมาตรฐานและข้อกำหนดของตลาดส่งออกอาหาร

 

 

ด้วยเทคนิคนิวเคลียร์ของ IAEA ที่ห้องปฏิบัติการของ BQCLP นักวิเคราะห์มากกว่า 21 คนได้รับการฝึกอบรมเกี่ยวกับทดสอบตัวรับไอโซโทป โปรโตคอล วิธีการวิเคราะห์และขั้นตอนการปฏิบัติงานมาตรฐานสำหรับการทดสอบความปลอดภัยของอาหาร เทคนิคการสุ่มตัวอย่าง และการจัดการคุณภาพห้องปฏิบัติการ

“ความสามารถในการตรวจจับความปลอดภัยของอาหารในห้องปฏิบัติการของเราพัฒนาขึ้นอย่างมาก เนื่องจาก IAEA และ FAO ผลิตภัณฑ์อาหารจากไทยได้รับการควบคุมอย่างดีและปลอดภัยจากฟาร์มจนถึงผู้บริโภค” อภิชญา สังข์ทอง นักวิทยาศาสตร์การแพทย์และนักวิเคราะห์จากห้องปฏิบัติการสัตวแพทย์สาธารณสุข สำนักควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ (BQCLP) กล่าว

ที่มา : IAEA