คนเจรจาค้าขายควรรู้? เงินบาท “แข็งค่า-อ่อนตัว” ใครได้ ใครเสียประโยชน์


“ค่าเงินบาท” เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่คนค้าขายกับต่างประเทศต้องคอยจับตามองเป็นอย่างดี เพราะหากค่าเงิน “แข็งค่า-อ่อนตัว” ย่อมส่งผลกระทบต่อธุรกิจที่ทำอยู่ก็เป็นได้

อย่างไรก็ตาม การที่เงินบาท “แข็งค่า-อ่อนตัว” จะมีกลุ่มคนที่ได้ประโยชน์ และเสียประโยชน์ในเวลาเดียวกันสลับกันไปมา ดังนั้น บทความนี้เรามาดูกันว่ากลุ่มคนเหล่านั้นจะมีใครกันบ้าง

ค่าเงินบาทแข็ง

คำอธิบาย: ใช้เงินบาทน้อยลงในการแลกเงินสกุลอื่นในจำนวนเท่าเดิม

ผู้ได้ประโยชน์

  • ผู้นำเข้า ลดต้นทุนนำเข้าสินค้า เพราะราคาสินค้าจากต่างประเทศถูกลง
  • ประชาชน ซื้อสินค้าจากต่างประเทศถูกลง
  • นักลงทุน นำเข้าสินค้าทุนได้ถูกลง เช่น เครื่องจักร อุปกรณ์ต่าง ๆ
  • ผู้เป็นหนี้กับต่างประเทศ ภาระหนี้ลดลง เพราะใช้เงินบาทลดลงในการชำระหนี้

ผู้เสียประโยชน์

  • ผู้ส่งออก รายได้ที่เป็นสกุลเงินต่างชาตินำกลับมาแลกเงินบาทได้น้อยลง
  • คนทำงานต่างประเทศ รายได้ที่เป็นสกุลเงินต่างชาตินำกลับมาแลกเงินบาทได้น้อยลง
  • ผู้ทำธุรกิจท่องเที่ยวที่รับสกุลเงินต่างประเทศ รายได้ที่เป็นสกุลเงินต่างชาตินำกลับมาแลกเงินบาทได้น้อยลง

ค่าเงินบาทอ่อน

คำอธิบาย: ใช้เงินบาทมากขึ้นในการแลกเงินสกุลต่างประเทศ

ผู้ได้ประโยชน์

  • ผู้ส่งออก รายได้ที่เป็นสกุลเงินต่างประเทศนำมาแลกเงินบาทได้มากขึ้น
  • คนทำงานต่างประเทศ รายได้ที่เป็นสกุลเงินต่างประเทศนำมาแลกเงินบาทได้มากขึ้น
  • ผู้ทำธุรกิจท่องเที่ยวที่รับสกุลเงินต่างประเทศ รายได้ที่เป็นสกุลเงินต่างประเทศนำมาแลกเงินบาทได้มากขึ้น

ผู้เสียประโยชน์

  • ผู้นำเข้า ต้นทุนนำเข้าสินค้าเพิ่มขึ้น เพราะราคาสินค้าต่างประเทศแพง
  • ประชาชน ซื้อสินค้าจากต่างประเทศแพงขึ้น
  • นักลงทุน นำเข้าสินค้าทุนสูงขึ้น เช่น เครื่องจักร อุปกรณ์ต่าง ๆ
  • ผู้เป็นหนี้กับต่างประเทศ มีภาระหนี้เพิ่มขึ้น เพราะใช้เงินบาทมากขึ้นในการชำระหนี้สกุลเงินต่างประเทศ

จะเห็นได้ว่า หากเป็นผู้ที่ทำการค้ากับต่างประเทศ เมื่อเวลาเงินบาทแข็งตัวจะเป็นประโยชน์กับธุรกิจในเรื่องของต้นทุนที่ลดลง เพราะว่าใช้เงินบาทน้อยลงในการแลกเงินสกุลอื่นในจำนวนเท่าเดิม กลับกันหากเงินบาทอ่อนตัว ต้นทุนของธุรกิจก็จะเพิ่มขึ้นเช่นกัน เพราะว่าต้องใช้เงินบาทมากขึ้นในการแลกเงินสกุลอื่นในจำนวนเท่าเดิม