ทำ “ยูทูปเบอร์” ต้องเสียภาษีหรือไม่


หนึ่งในอาชีพมาแรง และเป็นความฝันของคนรุ่นใหม่ นั่นคือ “ยูทูปเบอร์” ที่สามารถสร้างรายได้ให้กับตัวเองผ่านช่องทางออนไลน์อย่าง YouTube

ด้วยความอิสระของอาชีพที่ให้ผู้คนได้สร้างสรรค์ไอเดียออกมาเป็นคอนเทนต์ตามความถนัด ความชื่นชอบ แน่นอนว่าหากคลิปที่เผยแพร่มียอดวิวเยอะถูกใจคนดูย่อมเปิดโอกาสให้ตัวเองเติบโตในสายงานนี้ ซึ่งตัวชี้วัดคงหนีไม่พ้นยอดจำนวนผู้ติดตาม ยอดวิวในแต่ละคลิป ที่จะนำมาสู่รายได้ที่มาจาก YouTube หรือโฆษณาสินค้าต่าง ๆ

อย่างไรก็ตาม “ยูทูปเบอร์” ก็เป็นอีกหนึ่งอาชีพที่มีรายได้เหมือนกับอาชีพอื่นทั่ว ๆ ไป ซึ่งหนีไม่พ้นที่จะต้องยื่นชำระภาษีตามกฎหมาย ดังนั้น เรามาดูกันว่ารายได้ของ “ยูทูปเบอร์” มาจากไหน และหักค่าใช้จ่ายเท่าไหร่บ้าง โดยแยกออกทีละส่วนเพื่อให้เห็นภาพได้ชัดเจน

มาตรา ม.40(2) ประเภทเงินได้ : 1.จาก Google Ad ส่วนแบ่งค่าโฆษณา, รับจ้างรีวิวสินค้า, งานโชว์ตัวออกงานต่าง ๆ
การหักค่าใช้จ่าย: หักเหมา 50% แต่ไม่เกิน 100,000 บาท

มาตรา ม.40(8) ประเภทเงินได้ :ขายสินค้าออนไลน์
: หักเหมา 60% หรือหักตามจริง

มาตรา ม.40(8) ประเภทเงินได้ : งาน Event พรีเซ็นเตอร์ หรือการแสดงที่มีลักษณะเป็น “นักแสดงสาธารณะ”
การหักค่าใช้จ่าย: 1.ส่วนที่ไม่เกิน 300,000 บาท หัก 60% ส่วนที่เกิน 300,000 บาท หัก 40% รวมกันไม่เกิน 600,000 บาท 2.หักตามจริง (มีหลักฐานค่าใช้จ่าย)

เราเห็นที่มาของรายได้แล้ว ต่อมา “ยูทูปเบอร์” ต้องเสียภาษีอะไรบ้าง มาดูกัน

“ยูทูปเบอร์” ต้องยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หากมีรายได้ถึงเกณฑ์ที่จะต้องเสียภาษี โดยคนโสดมีรายได้เกิน 60,000 บาทต่อปี คนมีคู่สมรสมีรายได้รวมกันเกิน 120,000 บาท ให้คำนวณจากรายได้สุทธิ (รายได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน) คูณด้วยอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ถ้ามีรายได้มากกว่า 120,000 บาทต่อปี (ไม่รวมเงินเดือน) ต้องคำนวณภาษีอีกวิธีหนึ่ง คือ รายได้ X 0.5% แล้วมาเปรียบเทียบกับวิธีคำนวณตามปกติ หากวิธีนี้มีภาษีเกิน 5,000 บาท ให้เสียภาษีตามวิธีที่สูงกว่า หากไม่เกิน 5,000 บาท ให้เสียภาษีตามการคำนวณวิธีปกติ

สำหรับกำหนดเวลายื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จะยื่นปีละ 2 ครั้ง ดังนี้
1.ภาษีครึ่งปี (ภ.ง.ด.94) : กำหนดยื่นตั้งแต่ 1 ก.ค.-30 ก.ย. ของปีนั้น ๆ โดยนำเงินได้ที่ไม่ใช่เงินได้มาตรา 40(1)(2) ตั้งแต่เดือน ม.ค.-มิ.ย. ของปีนั้น มารวมคำนวณภาษี

2.ภาษีประจำปี ((ภ.ง.ด.90) : กำหนดยื่นตั้งแต่ 1 ม.ค.-31 มี.ค. ของปีถัดไป โดยนำเงินได้ทุกประเภทตั้งแต่เดือน ม.ค.-ธ.ค. ของปีนั้น มารวมคำนวณภาษี และนำภาษีที่ชำระตาม ภ.ง.ด.94 มาเครดิตภาษีได้

นอกจากนี้ ยังมีในส่วนภาษีมูลค่าเพิ่ม กล่าวคือเมื่อมีรายได้จากการขายสินค้าละบริการทั้งปีเกิน 1.8 ล้านบาท ให้ยื่นคำขอจดทะเบียนภายใน 30 วัน ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ หรือผ่านเว็บไซต์กรมสรรพากร

สำหรับใครที่ต้องการทำงานสาย “ยูทูปเบอร์” ลองศึกษารายละเอียดเรื่องการเสียภาษีให้ดี เพื่อจะได้ไม่เกิดปัญหาภายหลัง

ที่มา: กรมสรรพากร
https://twitter.com/Rachadaspoke/status/1503222536825307138/photo/1

#Smartsme #ยูทูปเบอร์ #ภาษี #เสียภาษี