สตาร์ทอัพ ถือเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่น่าสนใจ แต่ความอยากอยู่ที่การเริ่มต้นว่าจะทำให้ดีออกมามากน้อยแค่ไหน หากเตรียมตัวมาดีทุกด้าน แน่นอนว่าผลลัพธ์ย่อมออกมาดี แต่หากไม่มีความพร้อมจุดจบคงหนีไม่พ้นความล้มเหลว
อย่างไรก็ตาม เมื่อดูในส่วนของผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จที่สามารถสร้างธุรกิจให้มีมูลค่าผ่านไอเดีย ทำให้เป็นกรณีศึกษาชั้นดีว่าพวกเขาใช้วิธีการอย่างไรถึงประสบความสำเร็จในเส้นทางที่เลือก
และนี่คือ 5 สิ่งเรียนรู้ที่เหล่าสตาร์ทอัพมักทำกัน
1.ทีมที่ดีที่สุดคือความหลากหลาย
นวัตกรรมเกิดจากมุมมองที่หลากหลาย แต่เมื่อดูเหล่าสตาร์ทอัพ และทีมงานที่คิดค้นสิ่งแปลกใหม่ขึ้นมา จะเห็นได้ว่าความหลากหลายเป็นองค์ประกอบพื้นฐานทั่วไป
ทีมที่มีความหลากหลายไม่ใช่ปัจจัยหลักเพียงอย่างเดียว คุณยังคงต้องการสิ่งอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม ความหลากหลายเป็นองค์ประกอบสำคัญ โดยผลลัพธ์จะมีความแตกต่าง เมื่อเรามีเพื่อนร่วมงานที่เชี่ยวชาญด้านธุรกิจ มีความเก่งในแต่ละด้านอยู่ในธุรกิจ
หากทีมประกอบด้วยผู้ก่อตั้งด้านเทคนิคเท่านั้น เชื่อเลยว่าคุณช่วงเวลาที่ยากลำบากในการสร้างธุรกิจ กลับกันควรสร้างทีมที่มีความหลากหลายทั้งในเรื่องมุมมอง, ภูมิหลัง, ทักษะที่หลากหลายที่จะช่วยเพิ่มโอกาสประสบความสำเร็จ
2.ที่ปรึกษาซื้อเวลาและประสบการณ์
ที่ปรึกษาจะช่วยประหยัดเวลาให้กับคุณ คุณสามารถเก่งด้านการตลาดและการขายได้ในระยะเวลาประมาณ 10 ปี แต่เมื่อคุณมีที่ปรึกษาด้านการตลาดที่ยอดเยี่ยมก็จะสอนเทคนิคการค้าที่ไม่มีในหนังสือที่คุณอ่านได้ ช่วยลดเวลาการเรียนรู้ และความเจ็บปวดจากข้อผิดพลาดได้อย่างรวดเร็ว
ปัญหาของที่ปรึกษาคือคนเก่ง ๆ มักหายาก หากคุณเจอแล้ว พวกเขาก็จะเป็นคนที่โน้มน้าวใจยากเช่นกัน ดังนั้นคุณต้องเสนอตัวเอง แนวทางที่ดีที่สุดคือการคิดจากมุมมองของพวกเขา เช่น เรื่องเปอร์เซ็นต์ของธุรกิจ, ศักยภาพในการเรียนรู้เพิ่มเติมเฉพาะกลุ่ม หรือต้องการส่งต่อให้ชุมชนอย่างไร
เหล่านี้ต้องหาเหตุผล และแรงผลักดันที่จะโน้มน้าวใจให้พวกเขามาเป็นที่ปรึกษาให้ได้
3.เลือกผู้ร่วมก่อตั้งที่เหมาะสม
หลายทีมผิดใจกันเพราะว่าสมาชิกไม่พูดถึงความต้องการของตนเอง เพราะเขินอายที่จะพูดเรื่องเหล่านี้ออกไป และกลายเป็นปัญหาสะสมที่ยากเกินจะแก้ไข หลายคนเริ่มต้นสตาร์ทอัพด้วยเหตุผลที่แตกต่างกัน เช่น ต้องการชื่อเสียง, ต้องการเงิน บางคนต้องการเพียงแค่โปรเจคต์ที่เจ๋งทำงานร่วมกับคนฉลาด ขณะที่บางคนไม่ชอบการถูกบังคับ อยากเลือกทำในสิ่งที่อยากทำ
เป็นเรื่องดีหากจะเข้าใจเหตุผลที่แท้จริง และแรงจูงใจของผู้ก่อตั้งทุกคนก่อน ซึ่งจะช่วยให้คุณตัดสินใจได้ว่าทิศทางของธุรกิจจะเดินไปด้วยกันได้หรือไม่
4.คิดให้รอบคอบ
บางครั้งคำแนะนำจากที่ปรึกษา ผู้ที่ทำธุรกิจสตาร์ทอัพควรพิจารณาให้ถี่ถ้วน หากมีหลายข้อเสนอแนะก็ควรลองวิเคราะห์ร่วมกับทีมงานดูว่าจะเลือกทางไหนให้ผลลัพธ์ออกมาดีที่สุด บางครั้งอย่าทำตามที่ปรึกษาบอกในเรื่องที่เขาไม่มีความเชี่ยวชาญ เพราะพวกเขาอาจจะเชี่ยวชาญเรื่องหนึ่ง แต่อีกเรื่องหนึ่งอาจไม่เชี่ยวชาญ
5.ความเร็วเป็นสิ่งจำเป็น
คุณอาจจะไม่ได้มีไอเดียที่ยอดเยี่ยมในการเริ่มต้นธุรกิจ คุณอาจจะไม่ได้มีทีมงานที่สมบูรณ์แบบ และคุณกำลังมองหาสร้างระหว่างทาง แม้จะเป็นข้อจำกัดแต่สิ่งที่ควรมีคือ “ความเร็ว”
หากคุณมีไอเดียที่ดี แต่ยังคงมีข้อผิดพลาด สิ่งที่ควรทำคือต้องปรับปรุงในเดือนถัดไป และทำให้ดียิ่งขึ้นไปอีกหลังจากนั้น ผ่านกระบวนการที่เจาะจง มีคุณภาพ
ที่มา: ehandbook