เลือกตรวจสุขภาพอย่างไรให้เหมาะกับตัวเอง ?


       การตรวจเช็กสุขภาพมีประโยชน์ทำให้เราสามารถประเมินสุขภาพตัวเองได้  แต่ละเลือกตรวจสุขภาพอย่างไร  มากน้อยแค่ไหน  ขึ้นอยู่กับแต่ละคนที่แตกต่างกัน การตรวจสุขภาพหลายวิธีสิ้นเปลืองและอาจไม่ได้ประโยชน์คุ้มค่า การจะเลือกตรวจเช็กสุขภาพอย่างไรจึงควรปรึกษาคุณหมอให้เข้าใจดีเสียก่อน  สำหรับคนที่ต้องการตรวจสุขภาพของตนเอง  รศ.นพ.วิทยา  ถิฐาพันธ์ ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา  คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ได้ให้คำแนะนำในเบื้องต้นไว้ว่า 
คนสุขภาพดีทั่วไป ที่ควรทำเป็นประจำทุกปี 
              . ตรวจร่างกายโดยแพทย์
              .  ตรวจกรุปเลือด (ABO ,Rh)  (ตรวจครั้งเดียวเมื่อยังไม่ทราบ)
              .  ตรวจดูความเข้มข้น ปริมาณ และขนาดของเม็ดเลือดชนิดต่างๆ
              .  ตรวจเลือดเพื่อดูว่ามีโรคที่ติดต่อผ่านทางเลือดหรือไม่ เช่น โรคซิฟิลิส โรคเอดส์ โรคตับอักเสบ
              . ตรวจเลือดหาระดับสารเคมีต่างๆ เพื่อดูว่าเป็นโรคเบาหวาน โรคตับ โรคไต โรคเกาส์  หรือไม่
              . ตรวจเลือดเพื่อดูระดับไขมันในเลือด
              . ตรวจเอกซเรย์ปอด
              . ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ          
ถ้าเป็นสตรีที่แต่งงานแล้ว    ควรจะตรวจเช่นเดียวกับคนสุขภาพดี และควรเพิ่มการตรวจดังนี้
               . ตรวจมะเร็งปากมดลูก
               . ตรวจเอกซเรย์เต้านม (Mammogram)         
ถ้าเป็นสตรีวัยทอง   ควรจะตรวจเช่นเดียวกับคนสุขภาพดีและควรเพิ่มการตรวจดังนี้
              . ตรวจความหนาแน่นของกระดูก             
ถ้าเตรียมตัวจะตั้งครรภ์   ควรจะตรวจเช่นเดียวกับคนที่สุขภาพดีทั่วไป และควรเพิ่มการตรวจดังนี้
              . ตรวจเลือดดูความเสี่ยงว่าเป็นโรคเลือดจางธาลัสซีเมียหรือไม่ 
              . ตรวจเลือดดูภูมิคุ้มกันต่อโรคหัดเยอรมัน
    คุณหมอทิ้งท้ายไว้ว่า  “บางคนอาจจะตรวจน้อยกว่านี้ก็ได้ แล้วแต่การพิจารณาของคุณหมอ สำหรับคนที่มีปัญหาสุขภาพ  การจะตรวจเช็คสุขภาพว่าจะตรวจอะไรควรที่จะปรึกษากับคุณหมอที่ดูแลจะดีกว่า เพราะบางคนต้องตรวจบางอย่างเพิ่มเติมจากคนปกติทั่วไป เช่นบางคนต้องตรวจดูปริมาณฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์ บางคนต้องส่องกล้องตรวจในช่องท้องเป็นต้น
 
 รู้แล้วก็อย่าชะล่าใจหมั่นตรวจสุขภาพเป็นประจำอย่างน้อยปีละครั้ง  เพราะบางทีโรคภัยมันก็มาไวติดจรวดตั้งหลักรับกันไม่ทันเลยทีเดียว อย่างไรก็ขอให้แฟน ๆสุขภาพแข็งแรงกันทุกคนนะจ้ะ 
 
ขอบคุณรูปจาก  http://factoryguideline.com/