กินยาคุมกำเนิด ติดต่อกันนาน อาจเสี่ยงโรคได้


โรคหัวใจและหลอดเลือด

          การรับประทานยาคุมกำเนิดติดต่อกันนาน ๆ สามารถเพิ่มความเสี่ยงภาวะหลอดเลือดอุดตัน โดยเฉพาะกับคนที่สูบบุหรี่ หรือมีอายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป ซึ่งอาการหลอดเลือดอุดตันนี่ล่ะค่ะ ที่เป็นสาเหตุของโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน ดังนั้นจึงต้องมีการสังเกตอาการในช่วงที่ใช้ยาคุมกำเนิดอย่างใกล้ชิด โดยถ้าหากมีอาการเจ็บหน้าอก ไอเป็นเลือด หน้ามืด ปวดศีรษะบ่อย ๆ หรือเริ่มพูดไม่ชัด ควรรีบหยุดใช้ยา และไปพบแพทย์ด้วย เพราะนั่นอาจเป็นอาการของโรคหลอดเลือดอุดตัน

โรคต้อหิน

          ต้อหินถือเป็นโรคอันตรายสำหรับดวงตา เพราะอาจจะทำให้ถึงขั้นตาบอดได้ และการใช้ยาคุมกำเนิดติดต่อกันเป็นเวลานาน ๆ ก็เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดต้อหินได้เช่นกัน โดยจากการศึกษาของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ในเมืองซานฟรานซิสโก และมหาวิทยาลัยดุ๊ก พบว่าจากการสอบถามข้อมูลจากผู้หญิงวัย 40 ปีขึ้นไปจำนวน 3,046 คน เกี่ยวกับการมองเห็นและการคุมกำเนิด พบว่าผู้หญิงที่ใช้ยาคุมกำเนิด 3 ปีขึ้นไปมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคต้อหินมากกว่าผู้หญิงที่ใช้ยาคุมกำเนิด น้อยกว่านั้นหรือไม่เคยใช้เลย ซึ่งนักวิจัยสันนิษฐานว่าอาจเกิดจากการที่ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนมากผิดปกติ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล และยังต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมต่อไปในอนาคต

 

เนื้องอกในสมอง

          วารสารทางการแพทย์อย่าง British Medical Journal of Clinical Pharmacology ได้ตีพิมพ์บทความเกี่ยวกับความเสี่ยงในการเกิดเนื้องอกในสมองและยาคุมกำเนิด โดยจากการศึกษาได้พบว่า ผู้หญิงวัย 15-49 ปี ที่มีการใช้ยาคุมกำเนิดไม่ว่าจะชนิดใดก็ตาม ต่างมีความเสี่ยงที่จะเกิดเนื้องอกในสมองชนิด Giloma ซึ่งเป็นชนิดที่หายาก โดยความเสี่ยงนั้นจะมากกว่าผู้หญิงทั่วไปที่ไม่เคยใช้ยา และยังมีความเสี่ยงสูงที่ก้อนเนื้อเหล่านั้นจะกลายเป็นโรคมะเร็งอีกด้วย


โรคกระดูกพรุน

          การรับประทานยาคุมกำเนิดแม้จะทำให้ได้รับฮอร์โมนเอสโตรเจน แต่หากทานติดต่อกันนาน ๆ อาจส่งผลต่อมวลกระดูกได้ โดยเฉพาะผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไปจนถึงวัยหมดประจำเดือน จะมีความเสี่ยงต่อการสูญเสียมวลกระดูกได้มากกว่าคนที่ไม่เคยใช้ยาคุมกำเนิด แต่ก็ยังพอสามารถป้องกันได้ด้วยการรับประทานอาหารที่มีวิตามินดี และแคลเซียมสูง เพื่อให้ร่างกายได้รับแคลเซียมไปเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูกได้อย่าง เพียงพอค่ะ

ขอบคุณข้อมูลจาก…… healthline.comและcolumbia.edu