รู้จัก “ฉลากเขียว” เครื่องหมายช่วยสะท้อนความยั่งยืนของแบรนด์ต่อสิ่งแวดล้อม
ฉลากเขียวของประเทศไทย ริเริ่มขึ้นโดยองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Thailand Business Council for Sustainable Development, TBCSD)
ในช่วงฤดูฝน อากาศเริ่มเย็นลงและมีความชื้นสูงขึ้น การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ เป็นสาเหตุทำให้โรคหลายชนิดสามารถแพร่ระบาดได้ง่ายและรวดเร็ว โรคที่สำคัญที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ เช่น โรคไข้เลือดออก โรคไข้หวัดใหญ่ รวมถึงไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ โรคไข้หวัดนก โรคปอดอักเสบ โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน โรคเยื่อบุตาอักเสบหรือโรคตาแดง นอกจากนี้ในต่างจังหวัดบางพื้นที่ อาจมีการระบาดของโรคฉี่หนู หรือโรคแลปโตสไปโรซิส หรือโรคที่มียุงเป็นพาหะนำโรค เช่น ไข้มาลาเรีย โรคไข้สมองอักเสบจากเชื้อไวรัสเจอี เป็นต้น
ดังนั้น อาการไข้สูง ปวดหัว ปวดเมื่อยตัวมาก ในช่วงฤดูฝนอาจเป็นได้จากหลายโรค แต่ที่พบบ่อย คือ โรคไข้เลือดออกและไข้หวัดใหญ่ ตารางเปรียบเทียบ โรคไข้เลือดออกและโรคไข้หวัดใหญ่
|
ไข้เลือดออก |
ไข้หวัดใหญ่ |
เชื้อก่อโรค |
Dengue virus (สายพันธุ์ 1, 2, 3 และ 4) |
Influenza virus (สายพันธุ์ A, B) |
ระยะฟักตัว |
5-8 วัน (สั้นที่สุด 3 วัน – นานที่สุด 15วัน) |
1 – 4 วัน (เฉลี่ย 2 วัน) |
อาการของโรค |
ไข้สูงเฉียบพลัน ปวดศีรษะ ปวดกระบอกตา ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดข้อ ปวดกระดูก หน้าแดง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ปวดท้องหรือมีตับโต มีผื่นหรือมีเลือดออกผิดปกติ พบบ่อย คือ จุดเลือดออกที่ผิวหนัง เลือดกำเดา บางรายอาจมีภาวะความดันโลหิตต่ำหรือภาวะช็อกร่วมด้วย |
คัดจมูก มีน้ำมูกใสๆ ไอ บางรายมีอาการเจ็บคอ (บางรายอาจไม่มีอาการคัดจมูก หรือเป็นหวัดเลยก็ได้) ไข้สูงเฉียบพลัน หนาว ปวดศีรษะ ปวดตามตัว ปวดกล้ามเนื้อมากโดยเฉพาะที่หลัง ต้นแขนต้นขา |
กลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อโรครุนแรง |
กลุ่มเสี่ยงได้แก่ เด็กเล็ก คนที่อ้วนมาก คนที่อาเจียนมาก กินอาหารไม่ได้ ซึมหรือ ไม่รู้ตัว มีเลือดออก หรือมีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคตับ โรคไต |
กลุ่มเด็กเล็ก กลุ่มผู้สูงอายุ (อายุมากกว่า 60 ปี) สตรีมีครรภ์ และผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคปอด โรคตับ โรคไต โรคอ้วน และผู้ที่มีภูมิคุ้มกันในร่างกายต่ำ |
การรักษา |
การรักษาแบบประคับประคองตามอาการ คือ ให้ยาลดไข้ คือ พาราเซทตามอล ในคนไข้ที่มีอาการอาเจียนบ่อย แพทย์จะให้ยาแก้อาเจียนและน้ำเกลือชนิดกิน และ รับไว้รักษาในโรงพยาบาลหากเห็นว่าคนไข้มีอาการรุนแรง (เช่น ไข้สูงมาก ชัก อาเจียนบ่อยมาก กินอาหารไม่ได้ มีเลือดออกง่าย ซึม หรือตรวจเลือดแล้วพบเกล็ด+เลือดต่ำ) |
การรักษาแบบประคับประคองตามอาการ ผู้ป่วยบางรายอาจจำเป็นต้องได้รับยาต้านไวรัส โดยเฉพาะ ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่จะเป็นโรครุนแรง ในรายที่มีอาการรุนแรงหรือมีปอดบวมจำเป็นต้องนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล |
สิ่งที่ควรกลับมาพบแพทย์ |
คอยระวังว่าในระยะช็อก (มักเป็นวันที่ไข้ลง) ซึ่งอาจจะมีอาการเบื่ออาหารมากขึ้น หรือมีอาการถ่ายปัสสาวะน้อยลง มีอาการปวดท้องอย่างกะทันหัน กระสับกระส่าย มือเท้าเย็น รีบนำส่งโรงพยาบาลทันที |
หากอาการไม่ทุเลาควรพบแพทย์ เพื่อรับยาต้านไวรัสภายใน 48 ชั่วโมงหลังเกิดอาการ |
การป้องกัน |
1. ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ ยุงลาย เช่น กระถาง แจกัน โอ่งน้ำ ยางรถยนต์ โดยการทำลายทิ้ง หรือเปลี่ยนถ่ายน้ำ ทุก 7 วัน หรือใส่ทรายเคมีกำจัดลูกน้ำ หรือเลี้ยงปลากินลูกน้ำตามความเหมาะสม |
1. ล้างมือบ่อยๆ หลีกเลี่ยงการใช้มือ สัมผัสหน้า ตา จมูกและเอามือเข้าปากโดยไม่จำเป็น 5. ผู้ป่วยควรสวมหน้ากากอนามัยเพื่อลดการแพร่กระจายของละอองฝอย |