สิทธิหลักประกันสุขภาพ เป็นสิทธิของคนไทยตามกฎหมาย เพื่อส่งเสริมให้คนไทยเข้าถึงบริการสาธารณสุขอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ โดยคนไทยได้รับการคุ้มครองสิทธิการรักษาพยาบาลจากรัฐบาล 3 ระบบใหญ่ คือ
1.สิทธิสวัสดิการการรักษาพยาบาลของข้าราชการ คุ้มครองบริการรักาาพยาบาลให้กับข้าราชการและบุคคลในครอบครัว (บิดา มารดา คู่สมรส และบุตรที่ถูกต้องตามกฎหมาย) เมื่อเจ็บป่วยสามารถเข้ารับบริการรักษาพยาบาลได้ที่โรงพยาบาลของรัฐ
2.สิทธิประกันสังคม คุ้มครองบริการรักษาพยาบาล คุ้มครองบริการรักษาพยาบาลให้กับผู้ประกันตนตามสิทธิ สามารถเข้ารับบริการักษาพยาบาลได้ที่โรงพยาบาบลที่เลือกลงทะเบียน
3.สิทธิหลักประกันสุขภาพ 30 บาท คุ้มครองบุคคลที่เป็นคนไทยมีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก ที่ไม่ได้รับสิทธิสวัสดิการข้าราชการ หรือสิทธิประกันสังคม หรือสิทธิสวัสดิการรัฐวิสาหกิจ หรือสิทธิอื่น ๆจากรัฐ ให้ได้รับบริการสาธารณสุข ทั้งการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การตรวจวินิจฉัย การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสมรรถภาพที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิต ตาม พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545
โรคเรื้อรังและโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูง ที่อยู่ในสิทธิหลักประกันสุขภาพ ได้แก่
โรคมะเร็ง สิทธิหลักประกันสุขภาพให้การดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งได้อย่างครอบคลุม
1.การตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งตามที่แพทย์สั่ง
2.การรักษาอาการทั่วไป และการรักษาเฉพาะทาง เช่น การผ่าตัดก การฉายแสง การให้ยาเคมีบำบัด
3.การดูแลแบบประคับประคองที่บ้าน
4.วัคซีนไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล (เฉพาะผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับการรักษาด้วยเคมีบำบัด)
บริการทดแทนไตสำหรับผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง
ขั้นตอนการเข้ารับบริาร ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังต้องไปลงทะเบียนใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพที่หน่วยบริการตามสิทธิ เพื่อให้คณะกรรมการฯ ระดับจังหวัดพิจารณาการให้บริการทดแทนไตที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยในแต่ละราย โดยเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานของสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย ได้แก่
1.การล้างไตผ่านช่องท้องอย่างต่อเนื่อง
2.การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม
3.การผ่าตัดปลูกถ่ายไต
สำหรับการล้างไตผ่านช่องท้องอย่างต่อเนื่อง สปสช.ได้จัดบริการส่งน้ำยาล้างไตถึงบ้านโดยไม่มีค่าใช้จ่าย เพื่อเข้าถึงบริการทดแทนไตได้ง่ายขึ้น ลดภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ได้รับการทดแทนไตอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะส่งผลถึงคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของผู้ป่วย
บริการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอสี และผู้ป่วยเอดส์
ผู้ที่ต้องการทราบสถานพการติดเชื้อเอชไอวี สามารถรับบริการให้คำปรึกษาและตรวจเลือดหาการติดเชื้อเอชไอวี โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายได้ที่หน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพ หากพบว่าติดเชื้อเอชไอวี จะได้รับการประเมินเพื่อเริ่มการรักษาด้วยยาต้านไวรัส และให้ยาป้องกันโรคติดเชื้อฉวยโอกาสตามข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
ผู้ป่วยเอดส์สามารถรับยาต้านไวรัสกับโรงพยาบาลอื่นที่ไม่ใช่หน่วยบริการประจำตามสิทธิ อย่างไรก็ตาม หากรักษาที่หน่วยบริการประจำตามสิทธิ จะได้รับความสะดวกกว่า
ขอบคุณรูปจาก http://www.tnnthailand.com/