รู้จัก “ฉลากเขียว” เครื่องหมายช่วยสะท้อนความยั่งยืนของแบรนด์ต่อสิ่งแวดล้อม
ฉลากเขียวของประเทศไทย ริเริ่มขึ้นโดยองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Thailand Business Council for Sustainable Development, TBCSD)
1. อาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาดอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง หรือมากกว่านั้น หากรู้สึกว่าร่างกายมีเหงื่อไคล ร้อนอบอ้าว โดยฟอกสบู่ให้สะอาด โดยเฉพาะบริเวณรักแร้ รอบหัวนม อวัยวะสืบพันธุ์
2. ลดกิจกรรมกระตุ้นให้เหงื่อออกมาก
3. เลี่ยงอาหารและผลไม้บางชนิด ที่มีกลิ่นฉุน เช่น กระเทียม สะตอ ทุเรียน พริกป่น เนย ตับ ถั่ว ซึ่งเป็นแหล่งของสาร Trim ethylamine โดยจะถูกขับออกมาพร้อมกับเหงื่อบริเวณต่อม อะโปครายน์ส่งผลให้กลิ่นตัวฉุนมากขึ้น
4. ท่านใดที่ยังมีกลิ่นตัวฉุนอยู่ แม้เหงื่อออกไม่มาก หรืออาบน้ำทำความสะอาดร่างกายแล้ว ซึ่งอาจเกิดจากสาเหตุความเครียด ความกลัว ความโกรธ จำเป็นต้องใช้ผลิตภัณฑ์ดับกลิ่นตัว (deodorant) ร่วมด้วย
5. ควรโกนขนรักแร้ เป็นสิ่งจำเป็น เพราะว่าขนเหล่านี้จะเก็บกักความชื้น เหงื่อไคล สิ่งสกปรกต่างๆ ทำให้จำนวนแบคทีเรียบริเวณดังกล่าวเพิ่มขึ้น ส่งผลให้มีกลิ่นตัวรุนแรงได้
6. ควรสวมใส่เสื้อผ้าบางเบา หลวม ๆ เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก
7. รับประทานอาหาร ให้ครบ 5 หมู่ โดยเฉพาะผักและผลไม้ที่มีวิตามินC,E เช่น แครอท ส้ม ฝรั่ง มะเขือเทศ ดื่มน้ำสะอาดมากๆ พักผ่อนให้เพียงพอ และออกกำลังกายสม่ำเสมอ