รู้จัก “ฉลากเขียว” เครื่องหมายช่วยสะท้อนความยั่งยืนของแบรนด์ต่อสิ่งแวดล้อม
ฉลากเขียวของประเทศไทย ริเริ่มขึ้นโดยองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Thailand Business Council for Sustainable Development, TBCSD)
เราจะเคลื่อนที่เข้าหาสิ่งที่เราติด เช่น เล่นเกม เลือกทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ เล่นอินเทอร์เน็ต หรือเล่นโซเชียลเน็ตเวิร์ค เมื่อเรามี ความหิว (Angry) ความโกรธ (Hungry) ความเหงา (Lonely) หรือความเหนื่อย (Tired)
เมื่อการติดพฤติกรรมที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ หรือความก้าวหน้าในชีวิต เราต้องหาวิธีหยุดพฤติกรรมเหล่านั้นให้ได้ และไม่ใช่การหยุด Stop แบบธรรมดา แต่เป็นการหยุดกระทันหันแบบ Halt
คนทุกคนมีสิ่งที่ตัวเองติดอยู่แล้ว แต่ในขณะที่เรากำลังมีความหิว ความโกรธ ความเหงา หรือความเหนื่อย เราจะอ่อนแอต่อสิ่งที่เราติดมากที่สุด
1.หาวิธีแก้ปัญหาให้ตรงจุด เมื่อเราหิว ให้เรากิน แต่ต้องเลือกกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ เมื่อเราโกรธ ให้เราสูดหายใจเข้าลึกๆ หรือออกกำลังกาย เพื่อระงับความโกรธเหล่านั้น เมื่อเราเหนื่อย ก็นอนไปเลย เมื่อเราแก้ปัญหาอารมณ์ได้ตรงจุด เราจะสามารถ “หยุด” พฤติกรรมที่เราไม่ต้องการติดได้
2. เปลี่ยนพฤติกรรมที่เราติด เช่น เมื่อเกิดอารมณ์ทั้ง 4 เหล่า แทนที่เราจะติดเกมส์ ติดโซเชี่ยล หรือทำพฤติกรรมที่ไม่มี ประโยชน์ต่อชีวิต เราลองหาพฤติกรรมที่ควรทำ ทำแล้วมีประโยชน์ต่อชีวิตมาแทนที่ เช่น การอ่านหนังสือ เขียนหนังสือ ออกกำลังกาย เล่นดนตรี ฟังเพลง หรือวาดรูป เป็นต้น และเมื่อไหร่ที่เรารู้สึกโกรธ รู้สึกหิว รู้สึกเหงา รู้สึกเหนื่อย เราจะได้ไม่ต้องทำพฤติกรรมที่ทำลายชีวิตอีกต่อไป แต่จะทำพฤติกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อชีวิตแทน