รู้จัก “ฉลากเขียว” เครื่องหมายช่วยสะท้อนความยั่งยืนของแบรนด์ต่อสิ่งแวดล้อม
ฉลากเขียวของประเทศไทย ริเริ่มขึ้นโดยองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Thailand Business Council for Sustainable Development, TBCSD)
“มะเร็งปากมดลูก” เรื่องใกล้ตัวมากกว่าที่เราคิด
มะเร็งปากมดลูก เกิดได้อย่างไร?
ติดเชื้อ HPV (Human Papilloma Virus) ในระบบสืบพันธุ์ภายใน โดยเฉพาะบริเวณปากมดลูก ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้มีโอกาสติดเชื้อ ได้แก่ การมีคู่นอนหลายคน การมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุน้อย (ต่ำกว่า 18 ปี) หรือการตั้งครรภ์เมื่ออายุน้อย เป็นต้น
สัญญาณเตือนภัย
ในระยะเริ่มแรกอาจจะไม่มีอาการ ต่เมื่อเป็นมากขึ้นประจำเดือนอาจมามากผิดปกติ และมีเลือดออกจากช่องคลอดหลังมีเพศสัมพันธ์
การวินิจฉัยรักษา
ความง่ายของการดูแลรักษาอยู่ที่แพทย์สามารถตรวจคัดกรองโรคตั้งแต่ระยะเริ่มต้นโดยการตรวจภายในเพื่อดูเซลล์ผนังมดลูก หากพบสิ่งที่ผิดปกติ แพทย์จะส่องกล้องทางช่องคลอด และตัดชิ้นเนื้อปากมดลูกไปตรวจตามเห็นแต่สมควร
หากตรวจพบในช่วงที่เนื้อเยื้อเริ่มผิดปกติมีโอกาสรักษาให้หายได้ 100% แต่หากตรวจพบมะเร็งในระยะเริ่มต้นอัตราการรอดชีวิตมีสูงถึง 92 % ดังนั้น ควรตรวจมะเร็งปากมดลูกทุก 1- 3 ปี ใช้ถุงยางอนามัยเวลามีเพศสัมพันธ์ และหากมีการตกขาวผิดปกติ หรือมีเลือดออกผิดปกติจากช่องคลอด ควรรีบไปพบแพทย์