รู้จัก “ฉลากเขียว” เครื่องหมายช่วยสะท้อนความยั่งยืนของแบรนด์ต่อสิ่งแวดล้อม
ฉลากเขียวของประเทศไทย ริเริ่มขึ้นโดยองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Thailand Business Council for Sustainable Development, TBCSD)
ความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญด้านไซเบอร์เห็นว่า จนถึงตอนนี้ ยังไม่พบว่าโจรไซเบอร์ใช้วิธีการใดในการเข้าถึงโปรไฟล์ของผู้ใช้ Instagram แต่วิธีการที่โจรมักใช้โจมตีคือผ่านฟิชชิ่ง
จากข้อมูลของแคสเปอร์สกี้ แลป ชี้ว่า ในปี 2018 นี้ มีการป้องกันการพยายามโจมตีที่เกิดจากการเข้าเพจฟิชชิ่งใน Instagram ถึง 68,000 ครั้ง และพบข้อมูลที่น่าสนใจคือในช่วงเวลาที่ใกล้กับการก่อนเกิดเหตุแฮกครั้งนี้ นักวิจัย ตรวจพบจำนวนการโจมตีฟิชชิ่งพุ่งขึ้นมาก จาก 150 ครั้ง เป็น 600 ครั้งต่อวัน และผู้ใช้ Instagram นั่นเองคือช่องโหว่ที่แฮกเกอร์จ้องใช้ประโยชน์ ตัวอย่างเช่น การกรอกข้อมูลส่วนบุคคลในเว็บฟิชชิ่ง แอปที่ไม่ผ่านการตรวจรับรอง และการใช้งานเพจที่ทำลอกเลียนแบบ เป็นต้น
– ไม่คลิก link ที่น่าสงสัย
– เช็ค address ของเพจที่กำลังจะกรอกข้อมูลส่วนบุคคล
– ใช้งานแอปโซเชียลที่ดาวน์โหลดจากแหล่งที่น่าเชื่อถืออย่าง Play Store และ App Store เท่านั้น
– ไม่แชร์ข้อมูลล็อกอินต่างๆ ให้แอปอื่นๆ
จากความนิยมใช้งาน Instagram ที่มีผู้ใช้มากกว่าพันล้านรายนี่เองที่ทำให้ Instagram เป็นเป้าดึงดูดใจโจรไซเบอร์ เมื่อโจรไซเบอร์แฮกเข้าบัญชีผู้ใช้แล้วก็จะสามารถเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลและการโต้ตอบสื่อสารต่างๆ ได้ โปรไฟล์ของผู้ใช้ยังจะถูกเปลี่ยนเป็นข้อมูลสแปมและฟิชชิ่งต่อไปด้วย