รู้จัก “ฉลากเขียว” เครื่องหมายช่วยสะท้อนความยั่งยืนของแบรนด์ต่อสิ่งแวดล้อม
ฉลากเขียวของประเทศไทย ริเริ่มขึ้นโดยองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Thailand Business Council for Sustainable Development, TBCSD)
วิธีการปลูก 1. ขั้นตอนการเตรียมเสา – ใช้ท่อใยหินกว้าง 4-6 นิ้ว สูง 1.5-2.0 เมตร (ตามความชอบและงบประมาณ ท่อละ 40-70 บาท) – นำท่อมาเจาะรูที่ปลาย 4 รู เพื่อใช้เหล็กเส้นสอดเข้าไป – ตัดเหล็กเส้นให้ได้ขนาดตามยางรถ ใช้เสาละ 2 เส้น – นำเหล็กเส้นสอดเข้าไป แล้วนำยางรถมาวาง ใช้ลวดมัดให้แน่นหนา แข็งแรง 2. ขั้นตอนการปลูก(ควรปลูกในฤดูฝน) – ขุดหลุมให้ได้ขนาด 60x60x60 เซนติเมตร – นำเสาที่เจาะรูแล้วใส่ลงไปในหลุม แล้วใช้ดินกลบเล็กน้อย – นำปุ๋ยคอกใส่ลงไปในหลุมจนเกือบเต็มหลุม – นำต้นแก้วมังกร 4-5 ต้น ปลูกรอบๆ โคนเสาแล้วใช้ดินกลบให้เต็มหลุม – ใช้เชือกหรือผ้ามัดต้นแก้วมังกรไว้เพื่อไม่ให้ล้มหรือหัก
1. ขั้นตอนการดูและต้นแก้วมังกร ต้นแก้วมังกร เป็นต้นไม้ประเภทเดียวกันกับกระบองเพชร จึงไม่ชอบน้ำ ในฤดูหนาวและฤดูร้อนควรให้น้ำสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ส่วนในฤดูฝนไม่ต้องให้น้ำเลย – การให้ปุ๋ย ควรให้ปุ๋ยปีละ 2-3 ครั้ง ครั้งที่ 1 ในช่วงเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน ควรให้ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยสูตรเสมอ 15-15-15 (ถ้าให้ปุ๋ยคอกรสชาติของแก้วมังกรจะออกหวานอมเปรี้ยวเล็กน้อย ที่สำคัญผมชอบด้วย และดินจะไม่แน่น) ครั้งที่ 2 ในช่วงเดือนมกราคมเป็นการบำรุงต้นให้สมบูรณ์ และใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยสูตร 15-15-15 ครั้งที่ 3 ในช่วงเดือนเมษายนเป็นการเตรียมและเร่งให้ต้นแก้วมังกรออกดอกควรใช้ปุ๋ยสูตรที่มีตัวหลังเยอะหน่อย เช่น 15-17-18 หรือสูตร 10-10-40 เป็นต้น – ถ้าต้นแก้วมังกรออกยอดสูงพ้นเกิดเสานิดหน่อย ให้ใช้มือเด็ดปลายยอดทิ้ง เพื่อเป็นการทำให้แก้วมังกรแตกยอดออกมากๆ – หญ้าที่ขึ้นใกล้ๆ โคนต้น ควรถอนออกเป็นประจำ เพื่อให้ต้นแก้วมังกรได้รับอาหารเต็มที่ไม่ต้องแบ่งปันให้กับหญ้า – เมื่อครบ 2 ปี หลังจากต้นแก้วมังกรออกผลจนหมด ในช่วงเดือนตุลาคมควรตัดแแต่งกิ่งให้สวยงาม เพื่อเป็นการทำให้ต้นแก้วมังกรแตกกิ่งได้มาก และควรตัดทุกๆ 2 ปี แก้วมังกรที่ตัดแต่งกิ่งแล้วนำไปฝังบริเวณร่อง เพื่อเป็นปุ๋ยให้กับแก้วมังกรต่อไป 2. ขั้นตอนการเก็บผลผลิต – ต้องให้ผลแก้วมังกรมีสีแดงทั่วทั้งผล ซึ่งอายุของผลแก้วมังกรตั้งแต่ออกดอกจนเก็บผลได้ประมาณ 2 เดือน – เมื่อผลแก้วมังกรสุกเต็มที่แล้วให้ใช้กรรไกรตัดกิ่งตัดผลออกมาจากกิ่ง (อย่าให้กิ่งเสียหาย)
วิธีการขยายพันธ์แก้วมังกรที่ง่ายและสะดวก คือการปักชำแต่มีเทคนิคที่สำคัญหลายประการคือ เกษตรกรต้องเลือกเฉพาะกิ่งที่แก่เท่านั้น อย่าใช้กิ่งอ่อนเพราะจะเน่าเสียก่อน เมื่อได้กิ่งแก่มาปักชำส่วนใหญ่จะรอดตาย 100% กิ่งแก่ในแต่ละกิ่งสามารถตัดเป็นท่อนได้หลายท่อน ตัดให้มีความยาวประมาณ 12 ฟุต ก่อนที่จะปักชำให้เอาทางโคนปักลง (สังเกตจากทางโคนจะมีหนามตั้งขึ้น) ก่อนที่จะนำกิ่งมาปักชำ นั้น ควรจะนำกิ่งแก่มาจุ๋มในน้ำที่ผสมน้ำยาเร่งราก (ใช้น้ำยาเร่งรากในอัตราเข้มข้นกว่าปกติ)จุ๋มกิ่งแก้วมังกรลงไปในน้ำยาลึกประมาณ 10 ซม.แล้วนำมาตั้งเรียงไว้ในร่มเป็นเวลา 7-10 วัน จนกิ่งเริ่มเหี่ยว ตั้งกิ่งให้ตรง
สำหรับเกษตรกรที่เริ่มปลูกควรจะเลือกซื้อกิ่งประเภทนี้ที่ผ่านการแช่น้ำยาเร่งรากแล้ว เพราะจะสะดวกต่อการเคลื่อนย้ายได้รับการกระทบกระเทือนน้อยที่สุดและขนได้ครั้งละปริมาณมาก
หลังจากได้กิ่งไปแล้วนำไปปักชำในแปลงเพาะที่เตรียมเอาไว้ สำหรับกิ่งประเภทที่นำลงถุงแล้วจะเคลื่อนย้ายค่อนข้างลำบากและขนได้ครั้งละปริมาณน้อยรวมถึงมีราคาที่แพงกว่าไม่เหมาะสำหรับเกษตรกรที่ปลูกเป็นแปลงใหญ่ การเตรียมแปลงเพาะชำกิ่งหลังจากปรับพื้นที่ดินให้เรียบแล้วใส่ขี้เถ้าแกลบดำลงในแปลงให้มีความหนาประมาณ 1 คืบ ถ้าแปลงเพาะชำอยู่กลางแจ้งจะต้องมุงด้วยตาข่ายพรางแสงชนิด 60% จากนั้นนำกิ่งที่ชุบน้ำยาเร่งรากแล้วไปปักชำให้ลึกประมาณ 10 ซม รดน้ำ 2-3 วันต่อครั้งก็เพียงพอแล้ว ถ้ารดบ่อยเกินไปอาจจะทำให้เกิดปัญหากิ่งเน่าได้ หลังจากปักชำไปได้นานประมาณ 1 เดือนก็จะออกรากและนำไปปลูกในแปลงได้ วิธีการสังเกตว่ากิ่งแก้วมังกรที่นำไปปักชำนั้นมีรากที่สมบูรณ์แล้วสังเกตได้ว่าจะมีการแตกยอดอ่อนออกมาใหม่ คัดเลือกเฉพาะกิ่งที่แตกยอดออกทยอยไปปลูก
ขั้นตอนแรกให้นำเสาไม้หรือเสาปูนที่เตรียมไว้ตั้งเป็นหลักลงในกระถางที่เตรียมไว้จากนั้นให้นำขุยมะพร้าวใส่ลงในกระถางอัตราส่วน 1 ใน 3 ของกระถางจากนั้นให้นำดินผสมกับแกลบหรือขุยมะพร้าว เทลงในกระถางจนถึงปากกระถาง นำต้นแก้วมังกรลงปลุกในกระถางให้ติดกับเสาจากนั้นให้นำเชือกมัดต้นแก้วมังกรและเสาติดกัน จากนั้นนำดินมากลบต้นแก้วมังกรให้เรียบร้อย ข้อควรระวังคือ ไม่ควรมัดต้นแก้วมังกรกับเสาให้แน่นจนเกินไป และควรนำด้านแบนผูกติดกับเสาเนื่องจากด้านแบนคือด้านที่จะออกราก Cr.ศูนย์รวมความรู้การเกษตร