รู้จัก “ฉลากเขียว” เครื่องหมายช่วยสะท้อนความยั่งยืนของแบรนด์ต่อสิ่งแวดล้อม
ฉลากเขียวของประเทศไทย ริเริ่มขึ้นโดยองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Thailand Business Council for Sustainable Development, TBCSD)
ความทรงจำของมนุษย์เราถูกใช้เป็นเครื่องมือเพื่อช่วยในการตัดสินใจ การที่บางคนตัดสินใจได้เร็วกว่าถูกต้องกว่า เพราะความทรงจำของเขาจะเก็บเอาแต่เรื่องที่สำคัญจริงๆ เท่านั้น ทำให้เวลาเรียกใช้ก็จะทำได้ดีและเร็วกว่าคนที่คอยเก็บเอาแต่รายละเอียดที่ไม่จำเป็นเข้าไว้ด้วยกัน
หรือที่แท้จริงแล้ว คนขี้ลืมคือคนฉลาด ตามที่ 2 นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยโตรอนโต ชี้ให้เห็นว่าบทบาทของการลืมข้อมูลบางอย่าง อาจมีความสำคัญที่น่าสนใจ เป้าหมายที่แท้จริงของหน่วยความจำคือการเพิ่มประสิทธิภาพการตัดสินใจ สิ่งสำคัญคือสมองจะลืมรายละเอียดที่ไม่เกี่ยวข้องและแทนที่ด้วยข้อมูลที่จำเป็นในการตัดสินใจเท่านั้น การวิจัยทางประสาทวิทยาเกี่ยวกับหน่วยความจำ
ส่วนใหญ่มีแนวโน้มที่จะมุ่งเน้นไปที่กลไกของเซลล์ที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บข้อมูล แต่ให้ความสนใจน้อยกับข้อมูลที่สมองต้องการลืม ซึ่งมักจะถูกมองว่าการลืมเป็นความล้มเหลวของความจำ “เราพบหลักฐานมากมายจากการวิจัยเมื่อเร็วๆ นี้ว่ามีกลไกที่ส่งเสริมการสูญเสียความทรงจำและนั่นคือความแตกต่างที่เกิดขึ้นและได้เรียนรู้ในเรื่องการจัดเก็บข้อมูล” Paul Frankland และ Blake Richards สองนักวิจัยได้เปลี่ยนมุมมองของการสูญเสียความทรงจำไปแล้วทั่วโลก จนทำให้เราต้องย้อนกลับมาคิดว่าบางครั้งสมองก็ตัดเรื่องไม่จำเป็นออกไปเพื่อให้เราตัดสินใจเรื่องต่างๆ ได้ดีขึ้น
Source : www.utoronto.ca