รู้จัก “ฉลากเขียว” เครื่องหมายช่วยสะท้อนความยั่งยืนของแบรนด์ต่อสิ่งแวดล้อม
ฉลากเขียวของประเทศไทย ริเริ่มขึ้นโดยองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Thailand Business Council for Sustainable Development, TBCSD)
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์ ได้ทำการวิจัยตีพิมพ์ลงในวารสารโภชนาการ สุขภาพ และความชรา โดยได้วิเคราะห์ข้อมูลจากงานวิจัยเก่าที่ทำขึ้นในปี 1974 ซึ่งทำการศึกษากลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,222 คน ในเรื่องความดันโลหิตกับอัตราการเสียชีวิตในกลุ่มนักธุรกิจวัยกลางคน อีกทั้งงานวิจัยนี้ได้มีการติดตามผลลัพธ์เป็นระยะเวลา 5 ปี ,15 ปี และ 40 ปีด้วยกัน
ดร. ทิโม สแตรนด์เบิร์ก ผู้นำทีมวิจัย เปิดเผยว่า งานวิจัยเก่าที่เราปัดฝุ่นขึ้นมาอีกครั้ง คือการนำกลุ่มตัวอย่างที่ส่วนใหญ่จะเป็นคนที่ทำงานอย่างหนัก ทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจมาศึกษา ซึ่งเราแบ่งทำการวิจัยออกเป็น 2 รูปแบบ คือ กลุ่มแรกให้ใช้ชีวิตตามปกติตามที่เคยทำมา ส่วนกลุ่มที่ 2 ให้รับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ ออกกำลังกาย ควบคุมน้ำหนัก ซึ่งผลที่เกิดขึ้น คือในระยะเวลา 5 ปี มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจลดลงกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับคำแนะนำ
“ดูเหมือนว่าการทำวิจัยในครั้งนี้เป็นไปในทิศทางที่ดี แต่เมื่อติดตามผลครั้งที่ 2 ในช่วง 15 ปีก็ต้องพบกับความประหลาดใจ เพราะกลุ่มคนที่เราให้คำแนะนำกลับต้องพบกับอัตราเสี่ยงการเสียชีวิตสูงกว่า และการติดตามผลในช่วง 40 ปี อัตราเสี่ยงเสียชีวิตของคนทั้ง 2 กลุ่มดันกลับมาเท่ากันเหมือนเดิม”
ดร. ทิโม สแตรนด์เบิร์ก กล่าวต่อว่า จากผลการวิจัย เราจึงกลับมาทบทวนการทดลองอีกครั้ง ซึ่งได้บทสรุปว่าคนที่เสียชีวิตส่วนใหญ่มาจากการพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ ซึ่งการลาพักร้อนจะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่จะลดอัตราเสี่ยงดังกล่าว และยังทำให้อายุยืนยาวมากขึ้นอีกด้วย
โดยคนที่ลาพักร้อนเพียง 3 สัปดาห์หรือน้อยกว่าต่อปี จะเสี่ยงจะเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจมากกว่าคนที่ลาพักร้อนมากกว่า 3 สัปดาห์ขึ้นไป ถึงร้อยละ 37 เลยทีเดียว