รู้จัก “ฉลากเขียว” เครื่องหมายช่วยสะท้อนความยั่งยืนของแบรนด์ต่อสิ่งแวดล้อม
ฉลากเขียวของประเทศไทย ริเริ่มขึ้นโดยองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Thailand Business Council for Sustainable Development, TBCSD)
เดือนสิบมาให้เห็นหน้าบ้าง เชื่อว่าหลายคนคงได้ยินคำนี้จากคนแก่ๆ แถวบ้านกัน โดยเฉพาะคนใต้ นั้นหมายถึงว่า เวลางานเดือนสิบหรืองานชิงเปรตคนแก่ๆ ก็อยากให้ลูกหลานที่ไปทำงาน มีครอบครัวอยู่ไกลๆ ได้หลบเริน (กลับบ้าน) มาเยี่ยมพ่อแม่และทำบุญให้บรรพบุรุษ ซึ่งลูกๆ หลานๆ ที่อยู่ไกลจะมารวมตัวกันในประเพณีบุญสารทเดือนสิบ ซึ่งมีความหมายสำคัญคือ เป็นการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ กับ พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย และญาติพี่น้อง ผู้ล่วงลับไปแล้ว และเป็นการทำบุญทั้งสองครั้งเป็นการทำบุญที่แสดงถึงความกตัญญูต่อบุพการีผู้ล่วงลับไปแล้วโดยอุทิศส่วนกุศลไปให้วิญญาณของบรรพบุรุษที่ตกอยู่ในเปรตภูมิเป็นคติของศาสนาพราหมณ์ที่ผสมในประเพณีของพุทธศาสนา วันนี้ Smart SME จะพามารู้จัก ขนมเดือนสิบที่นิยมนำมาทำบุญโดยเฉพาะที่ใช้ในโอกาสทำบุญเดือนสิบซึ่งมี 5 อย่าง แต่ละอย่างจะมีความหมายที่แตกต่างกันออกไป เช่น ขนมลา เป็นสัญลักษณ์แทนเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม ขนมพอง เป็นสัญลักษณ์แทนแพ สำหรับญาติผู้ล่วงลับใช้เดินทาง ขนมไข่ปลา เป็นสัญลักษณ์แทนเครื่องประดับ ขนมเจาะหู เป็นสัญลักษณ์แทนเงินสำหรับใช้จ่าย ขนมบ้า เป็นสัญลักษณ์แทนสะบ้า สำหรับใช้เล่นสะบ้าในวันสงกรานต์ ปีนี้ บุญแรก จะตรงกับ วันแรม 1 ค่ำ เดือนสิบ (25 ก.ย. 61) เรียกว่า วันรับตา – ยาย และวันแรม 15 ค่ำ เดือนสิบ (9 ต.ค. 61) เป็น วันส่ง ตา-ยาย รวมเวลาที่ตา-ยาย อยู่กับลูกหลานในโลกมนุษย์ 15 วัน เป็นการแสดงความกตัญญูต่อบุพการีผู้ล่วงลับไปแล้วโดยอุทิศส่วนกุศลที่ได้ทำจะส่งผลกับตัวเราในสิ่งที่ดี ทั้งการงาน หน้าที่ การเงินและครอบครัว