รู้จัก “ฉลากเขียว” เครื่องหมายช่วยสะท้อนความยั่งยืนของแบรนด์ต่อสิ่งแวดล้อม
ฉลากเขียวของประเทศไทย ริเริ่มขึ้นโดยองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Thailand Business Council for Sustainable Development, TBCSD)
เฟซบุ๊กแฟนเพจ สมุนไพรอภัยภูเบศร รายงานว่าพบคนไข้น้ำตาลตก น็อคเข้าโรงพยาบาล เหตุเกิดจากกินป่าช้าเหงามากเกินไป โดยผู้ป่วยชายไทยอายุ 64 ปี มีโรคประจำตัวเบาหวาน ความดัน ไขมัน หัวใจ ซึ่งจากการสอบถามเพื่อนผู้ป่วยมีการนำใบป่าช้าเหงา 10 ใบ ต้มกับน้ำ 1 กา ประมาณ 1 ลิตรกว่า ต้มเคี่ยวนานประมาณ 1 ชั่วโมง เริ่มกินต้นเดือนกันยายนมา 7 วัน หยุด 7 วัน (รอบแรก กิน 1 แก้ว เช้า เย็น) แล้วเริ่มกินใหม่ จันทร์ที่ 17/9/61 และวันที่มา admit เป็นวันที่สองของรอบนี้ โดยวันเกิดเหตุการณ์ได้ฉีดยาเบาหวานมื้อเช้า และกินยาเบาหวานก่อนอาหาร ร่วมกับจิบน้ำป่าช้าเหงาไปประมาณ 3 แก้วกาแฟ แก้วโตกว่าแก้วกาแฟเล็กน้อย แต่ไม่ใหญ่เท่าแก้วน้ำปกติ หลังจากกินข้าวเช้า พอเที่ยงกว่าเริ่มมีอาการน้ำตาลตก จึงมา รพ. ช่วงที่กินรู้สึกปัสสาวะบ่อย ขาที่เคยบวมยุบลง ค่าความดันโลหิตปกติตัวบนปกติจะอยู่ราวๆ 170 เหลือ 110 มม.ปรอท
ด้านเภสัชกร ให้คำแนะนำว่า การจะรับประทานอะไร ควรศึกษาข้อมูลให้ดีเสียก่อน โดยปริมาณที่แนะนำสำหรับการรับประทาน “ป่าช้าเหงา” นั้นสามารถนำมาประกอบอาหาร เช่น ใช้รองกระทงห่อหมกแทนใบยอ, ยำดอกขจรใส่ดอกป่าช้าเหงา หรือนำมาลวกน้ำร้อนก่อนรับประทาน เพื่อลดความขมและลดฤทธิ์ยา วันละ 3-5 ใบ
หากกินใบสด ถ้ากินใบใหญ่เท่าฝ่ามือ แนะนำให้รับประทานวันละ 1 ใบ กินวันเว้นวัน หรือ 2-3 วันกินที ถ้าจะกินทุกวัน แนะนำวันละ 1-2 ใบเล็กๆ ติดต่อกันไม่เกิน 1 เดือน อาจเว้น 1 เดือน แล้วเริ่มกินใหม่ หรือจะนำมาต้มเพื่อดื่มก็ได้ โดยใช้ใบเท่าฝ่ามือ 3 ใบ ต้มกับน้ำ 1 ลิตร ต้มพอเดือด 3-5 นาที ดื่ม 250 มิลลิลิตร
ทั้งนี้ ไม่แนะนำให้กินทุกวัน หรือกินอย่างต่อเนื่อง เพราะเป็นยาเย็น