รู้จัก “ฉลากเขียว” เครื่องหมายช่วยสะท้อนความยั่งยืนของแบรนด์ต่อสิ่งแวดล้อม
ฉลากเขียวของประเทศไทย ริเริ่มขึ้นโดยองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Thailand Business Council for Sustainable Development, TBCSD)
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครโทรอนโต รายงานว่า แคนาดาได้ประกาศห้ามใช้สาร Trans Fat ในสินค้าอาหารอย่างเป็นทางการเมื่อ 17 กันยายน 2561 ที่ผ่านมา ซึ่ง Trans Fat หรือไขมันไม่อิ่มตัวประเภท Partially Hydrogenated Oils ที่ใช้ในอุตสาหกรรมอาหารที่มีคุณสมบัติในการเพิ่มรสชาติอาหารหรือทำให้อาหารมีอายุที่ยืนยาวขึ้น (Increase shelf life) ที่ทั่วไปแล้วสินค้าส่วนใหญ่ที่ใช้ Trans Fat นั้นจะเป็นสินค้าประเภท ขนม คุ้กกี้ หรือเนยเทียม(Margarine) ซึ่งการประกาศห้ามใช้ในแคนาดานั้นจะมีผลครอบคลุมถึงสินค้าอาหารที่ผลิตในแคนาดาและสินค้านำเข้าจากทั่วโลก ทั้งนี้ผู้ผลิตสินค้าอาหารส่วนใหญ่ ได้ปรับสูตรการผลิตหรือยกเลิกการใช้สาร Trans Fat ก่อนที่จะมีการประกาศห้ามมาก่อนหน้านี้แล้วกว่า 2-5 ปีแล้ว แต่นักโภชนาการในแคนาดา ก็ยังได้ข้อถกเถียงกันว่าทำไมอัตรา “โรคอ้วน” Obesity ของชาวแคนาดาส่วนใหญ่ยังไม่มีสัญญาณที่ลดลงเลย ซึ่ง น้ำตาล ได้กลายมาเป็นโจทย์ตัวใหม่ และเป็นข้อถกเถียงถึงปริมาณน้ำตาลในอาหาร (ที่มากเกินไป) หรือการบริโภคสารอาหารน้ำตาลที่มีปริมาณมากในแต่ละวันนั้น อาจเป็นสาเหตุที่แท้จริงที่ก่อให้เกิดโรคอ้วน รวมถึงโรคภัยไข้เจ็บอื่นๆ
หน่วยงาน Statistics Canada มีการเก็บข้อมูลสถิติพบว่า สารอาหารในแต่ละวันที่ชาวแคนาดาบริโภคกว่า 20% นั้นจะเป็นสารอาหารประเภทน้ำตาล ซึ่งรวมไปถึงน้ำตาลที่อยู่อาหารอยู่แล้ว อาทิ นม ผลไม้ และอาหารสำเร็จรูปในรูปแบบต่างๆ ซึ่งถ้าแบ่งแยกย่อยลงไปจะพบว่า น้ำตาลที่บริโภคในแต่ละวันนั้น 35-45% จะอยู่ในรูปแบบ เครื่องดื่ม ชา กาแฟ น้ำอัดลม น้ำผลไม้ ขนมทานเล่น และ อาหาร ที่เป็นน้ำตาลที่ใส่เพิ่ม (Sugar Added) ในสินค้าอาหารที่ชาวแคนาดาบริโภคในแต่ละวัน ทั้งนี้หน่วยงาน WHO (World Health Organization) ได้มีข้อแนะนำว่าไม่ควรบริโภคน้ำตาลในสัดส่วนไม่เกิน 10% ของจำนวนแคลอรี่ที่บริโภคในแต่ละวัน โดยน้ำตาลในทุกวันนี้มีหลายรูปแบบตั้งแต่ น้ำตาลจากอ้อย (Cane sugar), Corn Syrup (ที่มีปริมาณน้ำตาล Fructose ที่สูง) รวมถึงน้ำตาลจากพืชเช่น Agave Syrup ที่ล้วนแต่ทำให้ผู้บริโภคมีความเสี่ยงต่อโรคมากขึ้น ตั้งแต่ โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน ฯลฯ ซึ่งน้ำตาลได้กลายเป็นศัครูตัวใหม่แทนที่ Trans fat
ส่งผลให้ปัจจุบันผู้ผลิตสินค้าอาหารประเภทเพื่อสุขภาพ (Health Food Product) ได้เริ่มเห็นถึงความสำคัญ ถึงอันตรายของการบริโภคน้ำตาล (ที่มากเกินในละวัน) จึงทยอยปรับเปลี่ยนส่วนผสมของสินค้าให้มีการใช้ปริมาณน้ำตาลที่น้อยลง หรือเลิกการเพิ่มสารน้ำตาลในอาหารที่กลายเป็นสินค้า Sugar Free อย่างไรก็ตาม ผู้ผลิตสินค้าได้เริ่มโฆษณาสินค้าประเภท “No Added Sugar” ที่ไม่มีการใส่สารน้ำตาล แต่ความเป็นจริงผู้ผลิตอาจใช้สารน้ำตาลเทียมแทน เช่น Surcralose (น้ำตาลเทียมยี่ห้อ Splenda) หรือสาร Aspartame (น้ำตาลเทียมที่ใช้ในน้ำอัดลม) ซึ่งสารเคมีน้ำตาลเทียมเหล่านี้ อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพมากกว่าน้ำตาลจริง (ที่ผลิตจากอ้อย) หรือสินค้าที่ใช้ฉลาก ระบุว่า “Unsweetened” คือสินค้าที่ปราศจากสารเพิ่มความหวานทุกชนิด หรือ ฉลากที่ใช้คำว่า “Sweetened with Fruit Juice” ที่ส่วนใหญ่หมายความถึงน้ำผลไม้
ในประเภทน้ำผลไม้เข้มข้น (Concentrated Fruit Juice) ที่อ้างว่ามีสารความหวานจากผลไม้ ซึ่งความเป็นจริงน้ำตาลเกือบทุกประเภท ถ้าหากมีการบริโภคมากเกินไปก็ก่อให้เกิดโทษได้ ซึ่งทุกวันนี้รัฐบาลแคนาดากำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาปรับเปลี่ยนกฎหมายฉบับใหม่ที่เกี่ยวกับฉลากสินค้าอาหาร ที่จะเน้นการแจ้งข้อมูลกับผู้บริโภคในเรื่องของ DV “Daily Value” ที่แจ้งสัดส่วนเป็นเปอร์เซ็นต์ (%) ของปริมาณของสารอาหารในสินค้าที่ควรบริโภคในแต่ละวัน ที่ในอดีตสารอาหารน้ำตาล จะถูกรวมในหมวด Carbohydrate ที่ไม่ได้มีการชี้แจ้งสัดส่วน DV ที่เป็นเปอร์เซ็นต์
ซึ่งฉลากในรูปแบบใหม่จะสามารถสื่อสารให้บริโภครับรู้ถึงปริมาณสารอาหารน้ำตาล ที่ควรรับประทานในแต่ละวัน มากกว่าข้อมูลในรูปแบบเดิมที่จะเน้นในเรื่องของปริมาณน้ำตาล (จำนวนกรัม) และจำนวนแคลลอรี่ในสินค้า ที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่ไม่เข้าใจหรือสามารถตีความข้อมูลสารอาหารเหล่านั้นได้ ว่าควรบริโภคในปริมาณเท่าใดถึงจะเหมาะสมในแต่ละวัน โดยฉลากอาหารแบบใหม่จะเน้นความโปร่งใสของข้อมูลสารอาหารในสินค้าที่เป็นการปกป้องสิทธิของผู้บริโภค