รู้จัก “ฉลากเขียว” เครื่องหมายช่วยสะท้อนความยั่งยืนของแบรนด์ต่อสิ่งแวดล้อม
ฉลากเขียวของประเทศไทย ริเริ่มขึ้นโดยองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Thailand Business Council for Sustainable Development, TBCSD)
เรียกได้ว่าสุขภาพจิต ถือว่ามีส่วนสำคัญต่อการทำงานของคนภายในองค์กรมากถึงขนาดที่ว่า หากประชาชนในประเทศพบกับปัญหาสุขภาพจิตในชีวิตประจำวันจะส่งผลกระทบต่อรายได้ของประเทศเลยทีเดียว
สำหรับสิ่งที่จะมายืนยันในเรื่องนี้ได้อย่างชัดเจน คืองานวิจัยของ ศจ. Stephan Goetz ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยในสหรัฐฯ ที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ ScienceDaily.com ว่าจากการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ปัญหาสุขภาพจิตของบุคคลที่เกิดขึ้นพียง 1 วันใน 1 เดือน จะส่งผลกระทบต่ออัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ และรายได้ของประเทศลดลงถึง 1.84% หรือคิดเป็นรายได้รวม 5,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
ศจ. Stephan Goetz กล่าวว่า ผลสรุปจากงารวิจัยชิ้นนี้ทำให้ตระหนักถึงว่าปัญหาสุขภาพจิตไม่ดีของผู้อยู่อาศัยในเขตชนบทได้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งหากปล่อยไว้ย่อมเป็นเรื่องยากที่จะยกระดับ พัฒนาประเทศให้ก้าวไปข้างหน้าได้ โดยตนอยากเสนอแนะว่าภาครัฐควรส่งผู้เชี่ยวชาญ และจัดตั้งศูนย์การบริการสุขภาพจิตในเขตชนบทให้ทั่วถึง เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการสุขภาพจิตที่ดี
ด้าน Yicheol Han นักวิจัยภายในทีม กล่าวถึงการเก็บผลสำรวจกลุ่มตัวอย่างว่า การทำวิจัยในครั้งนี้จะศึกษาเฉพาะกลุ่มคนที่ให้คำอธิบายว่า “วันนี้มีปัญหาสุขภาพจิตไม่ดี ซึ่งรวมถึงภาวะสุขภาพจิตในวันทำงาน และรวมถึงบุคคลที่ประสบภาวะต่างๆ เช่น ซึมเศร้า, วิตกกังวล, ความเครียด และปัญหาเกี่ยวกับอารมณ์”
ทั้งนี้ ข้อมูลดังกล่าวเป็นการศึกษาวิจัยทางเศรษฐศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยเท็กซัสทีแอนด์เอ็ม เมืองกัลเวสตัน สหัฐอเมริกา ที่ทำการวิเคราะห์ข้อมูลทางเศรษฐกิจ และข้อมูลประชากรสหรัฐ ตั้งแต่ปี 2008-2014 พบความสัมพันธ์ระหว่างการเติบโตทางเศรษฐกิจที่เป็นรายได้จริงของประเทศกับปัญหาสุขภาพจิตของบุคคลในแต่ละวันที่สุขภาพจิตไม่ดี ซึ่งส่งผลกระทบต่อรายได้ของประเทศที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ
เรียบเรียงจาก กรมสุขภาพจิต