รู้จัก “ฉลากเขียว” เครื่องหมายช่วยสะท้อนความยั่งยืนของแบรนด์ต่อสิ่งแวดล้อม
ฉลากเขียวของประเทศไทย ริเริ่มขึ้นโดยองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Thailand Business Council for Sustainable Development, TBCSD)
โรคอ้วนลงพุง เกิดจากภาวะที่ไขมันสะสมอยู่ตามอวัยวะต่างๆ ในช่องท้องมากเกินไป จนทำให้หน้าท้องยื่นเกินออกมา
ผู้ที่อ้วนลงพุงจะมีไขมันในช่องท้องมาก ทำให้เกิดภาวะดื้ออินซูลินส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง ที่สำคัญยังทำให้กรดไขมันอิสระซึมเข้าสู่กระแสเลือด แล้วไปสะสมยังกล้ามเนื้อตามอวัยะต่างๆ ของร่างกาย ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรค เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ และความดันโลหิตสูง ตามมาได้
ผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นโรคอ้วนลงพุงต้องมีภาวะดังต่อไปนี้อย่างน้อย 3 ข้อ
1. เส้นรอบพุงมากกว่าส่วนสูงหารด้วย 2
2. ความดันโลหิตสูงกว่า 130/85 มิลลิเมตรปรอท
3. ระดับTriglyceride สูงกว่า 150 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
4. ระดับน้ำตาลสูงกว่า 100 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
5. ระดับไขมันดี HDL น้อยกว่า 40 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรสำหรับผู้ชาย หรือน้อยกว่า 50 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรสำหรับผู้หญิง
และยังพบว่าผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง 3 ข้อ จะมีอัตราการเกิดโรคหัวใจเพิ่มขึ้น 2 เท่า และผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง 4 ข้อจะมีอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดสมองเพิ่ม 3 เท่า และเกิดโรคเบาหวานเพิ่ม 24 เท่า อีกด้วยครับ
ถ้าไม่อยากเป็นโรคอ้วนลงพุง การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทานอาหารถือเป็นเรื่องสำคัญ ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง ทานผักผลไม้เพิ่มขึ้น ออกกำลังกายครั้งละ 30 นาที อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอและไม่เครียด นอกจากจะห่างไกลโรคอ้วนลงพุงแล้ว ยังส่งผลให้สุขภาพแข็งแรงขึ้นอีกด้วย
ขอบคุณข้อมูล : โรงพยาบาลรามคำแหง