รู้จัก “ฉลากเขียว” เครื่องหมายช่วยสะท้อนความยั่งยืนของแบรนด์ต่อสิ่งแวดล้อม
ฉลากเขียวของประเทศไทย ริเริ่มขึ้นโดยองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Thailand Business Council for Sustainable Development, TBCSD)
ในสังคมของการทำงาน ย่อมมีผู้คนมากหน้าหลายตา หลากบุคลิก ต่างนิสัยใจคอ ซึ่งต้องมีสักครั้งที่คุณอาจจะต้องขอความช่วยเหลือจากแผนกอื่นๆ หรือแม้แต่การไหว้วานให้ลูกน้องในทีมในฐานะของหัวหน้า
วันนี้เรามีข้อคิดเตือนใจสำหรับหัวหน้างาน เกี่ยวกับกรณีที่คุณต้องขอให้คนอื่นทำงานให้ คุณจะอ้างตำแหน่งที่สูงกว่าอย่างเดียวไม่ได้ ไม่ว่าอีกฝ่ายจะเป็นคนในทีมหรือคนอื่นที่อยู่ในบริษัทเดียวกันก็ตาม
หัวหน้าที่แท้จริงต้องคำนึงถึงความคิดและจิตใจของฝ่ายที่ถูกขอร้องด้วย หัวหน้าหลายคนมักลืมเรื่องนี้กันอยู่บ่อยๆ แต่ถ้าเราทำให้ฝ่ายที่ถูกขอร้องเข้าใจว่า “ทำไมฉันถึงถูกมอบหมายให้รับผิดชอบงานนี้” พวกเขาจะมองว่างานที่ได้รับมอบหมายให้ทำ มีคุณค่าและตั้งใจทำงานมากยิ่งขึ้น ซึ่งเวลาขอให้คนอื่นทำงานให้ คุณควรอธิบายด้วยว่างานนี้ จะให้อะไรกับพวกเขาบ้าง
ตัวอย่างเช่น “ผมอยากให้คุณมาทำงานกับบริหารเร็ว ๆ เลยอยากให้คุณทำงานนี้เพื่อเป็นการฝึกฝนน่ะ”
“คุณอยากเป็น หัวหน้า ใช่ไหม มันจะเป็นประโยชน์กับเป้าหมายของคุณนะ ผมเลยอยากให้คุณรับงานนี้ไว้”
ทั้งนี้เวลาขอให้คนอื่นทำงานให้ คุณควรใส่ความคาดหวังลงไปและเชื่อมโยงเข้ากับเป้าหมายในอนาคตของพวกเขา (เเต่ถ้าคนที่คุณกำลังขอร้องเป็นพนักงานน้องใหม่ ก็อย่าเพิ่งพูดเรื่องที่ฟังดูจับต้องไม่ได้ เช่น “เพราะคุณมีศักยภาพพอจะขึ้นไปเป็นผู้บริหารเลยนะ” หรือเรื่องที่ฟังดูไม่สมเหตุสมผล เช่น ถ้าอีกฝ่ายเพิ่งเข้ามาทำงาน คุณไม่ควรถามเค้าว่า “อยากจะย้ายไปทำงานใกล้ๆ บ้านเกิดไม่ใช่เหรอ”
ในแง่หนึ่ง หากลองเปลี่ยนมุมคิดสักนิด คุณก็จะพบว่า ถ้าคุณสามารถอธิบายถึงประโยชน์ที่ลูกทีมจะได้รับ ก็แปลว่างานนั้นมีค่ามากพอจะให้ลูกทีมคนนั้นทำนั่นเอง และเมื่อถึงเวลาที่ต้องแบ่งงานหรือแบ่งหน้าที่ในทีม ให้คิดถึงเรื่องนี้ไว้เสมอนะครับ
ข้อมูลจาก: หนังสือแค่ทำให้คนเก่งขึ้น 1% คุณก็จะทำงานน้อยลง 99% โดย โคโนะ เอตาโร่